ซึ่งประกอบด้วยนักกิจกรรมในรั้วและ นอกรั้วมหาวิทยาลัย ได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมทางการเมืองหลังช่วงการทำรัฐ ประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช) โดยในขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา และได้ขอเข้าอยู่เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิโกมลคีมทอง” ในปี 2535
“”” สร้างคน “” เราจึงสร้างนักกิจกรรมด้วยกระบวนการ อาสาสมัคร เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม เนื่องจาก ปัญหาสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมี ปริมาณมากมายเกินกว่าคนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่คนจะแบกรับไว้ได้ และปัญหาสังคมไม่มีทางหมดไป หากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ร่วมกันรับรู้และแก้ไข การสร้าง คนจึงเป็นต้นทางของการ แก้ปัญหาสังคม “” สร้างนวัตกรรม “” นวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การเส้นทางใหม่ของสังคม เราจึงสร้างนวัตกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่สอดคล้อง ไปกับปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน “” แล้วจะสร้างการเปลี่ยนแปลง “” เมื่อได้สร้างนักกิจกรรม นวัตกรรมทางสังคมขึ้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการทำงาน ก็จะเริ่มขึ้น นักกิจกรรมที่ได้รับการปรับจูนความคิดที่มุ่งมั่นในการแกปัญหาสังคมร่วมกัน ก็จะเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรมที่หมุนวงล้อของสังคมสู่การ พัฒนาต่อไป เรา จึงให้ความสำคัญกับการรณรงค์และลงมือ จัดการปัญหาต่างๆ”
กำพล สุแก้ว
ผู้จัดการโครงการ