บาว นาคร
กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์ได้มีความเจริญรุดหน้า ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิต ประจำวันของทุกคน อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น รวมทั้งเทคโนโลยีอื่นๆที่ทันสมัยได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อผู้คนใน ยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญทำอย่างไรจะให้ผู้คนมีกระบวนการปรับตัวและมีแผนรองรับการพัฒนาทาง ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างไร้ขีดจำกัดในปัจจุบันอย่างรู้เท่าทันและมี ภูมิคุ้มกันที่ดี
วันที 30 ตุลาคม 2552 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูง (High-level Expert Roundtable) ชุดที่ 1 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในปี 2020 : นัยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT2020) กลุ่มการเมือง/ การปกครอง/การบริหารราชการแผ่นดิน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ที่ได้จัดขึ้นโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556
ในสถานที่ประชุมระดมความคิดเห็นนั้น ได้มีนักวิชาการ นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้าร่วมประชุมหลายท่าน ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอภาพรวมของโครงการและภาพอนาคตเบื้องต้น โดย ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและหัว หน้าโครงการจัดทำกรอบนโยบาย ICT2020 ได้นำเสนอถึงภาพรวมประเด็นเกี่ยวกับกรอบนโยบาย “อนาคตประเทศไทยในปี 2020 : นัยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT2020)” ว่าควรมีทิศทางเป็นอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า
นอกจากนั้น ยังมีการอภิปรายจุดประกายความคิด โดยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายอาวุธ วรรณวงศ์ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.) ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายณฐพล วิเชียรเพริศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายพฤกษ์ พัฒโน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นผู้อภิปราย ซึ่งแต่ละท่านได้เสนอมุมมองของICT เชื่อมโยงกับการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน ไว้หลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยมี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาโครงการและที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการอภิปาย รวมทั้งการนำเสนอความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในประเด็นที่เกี่ยวข้องอีก หลายท่าน
ประเด็นการประชุมโดยสรุปแล้ว กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับการเมืองการปกครองไทยและการ บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในยุคปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ อย่างหลากหลายช่องทาง เช่น หน่วยงานราชการ ได้มีการพัฒนาเว็บไซด์ที่เป็นของหน่วยงาน รวมทั้งการบริการประชาชนให้มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่ว ถึง และที่สำคัญทำอย่างไรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนิน งานของภาครัฐ รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งดร. พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ ได้เปิดประเด็นไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการทำแผนแม่บท ของ ICT ว่า แผนนั้นควรมีหมุดหมายที่ชัดเจนว่า ทิศทางของการนำแผนไปปฏิบัติหรือจุดมุ่งหมายนั้นเป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึง กระบวนการที่เรียกว่า สาธารณะ(Public) ประชาสังคม (civil society) รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และการเสริมพลังอำนาจของประชาชน (Empowerment) และควรมีการออกแบบเชิงสถาบันที่รองรับเกี่ยวกับการพัฒนาICTและการพัฒนา ประชาธิปไตยอย่างชัดเจน
และอีกหลายท่านได้เสนอมุมมองที่เป็นประสบการณ์รวมทั้งข้อเสนอแนะไว้หลาก หลายประเด็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน เรื่อง E-Governance และประเด็นเกี่ยวกับท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องมีการรองรับการถ่ายโอนภารกิจจากส่วน กลาง เนื่องจากมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กระบวนการนำ IT มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน และการเมืองท้องถิ่น รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งซึ่ง รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร จากมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย ได้นำกรณีเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้นำระบบการเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้
ผู้เขียนในฐานะนักวิชาการอิสระที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมประชุมระดมความ คิดเห็นมีความเห็นด้วยกับแนวคิดและข้อเสนอแนะจากหลายๆท่านที่ได้นำเสนอในที่ ประชุม ในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ICT ทางด้านการเมือง การปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้เขียนใคร่ที่จะนำเสนอประเด็นที่นอกเหนือ จากผู้เข้าร่วมประชุมเสนอไว้ ดังต่อไปนี้ คือ
ประเด็นเกี่ยวกับ การพัฒนาICT ของภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม การพัฒนาประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง การปกครองไทย ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศหรือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ การสื่อสารที่ทันสมัยผ่านระบบมือถือ หรือระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประเด็นที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การใช้เทคโนโลยีของภาครัฐ E-Governace ซึ่งได้เห็นมุมมองการบริหารงานของภาครัฐและการพัฒนา IT ของภาครัฐเพื่อบริการประชาชน และบางท่านได้นำเสนอเกี่ยวกับ ICT ชุมชนซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
ประเด็นเกี่ยวกับ ICT ที่เป็นของภาคประชาชน (PO) หรือภาคประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ (NGO) ที่ได้มีการเปิดพื้นที่สาธารณะทางด้านการเสนอความคิดและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็นพลังที่สำคัญในการช่วยให้การพัฒนาประชาธิปไตยและการบริหารภาค รัฐได้มีการยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล ซึ่งผู้เขียนได้เข้าไปค้นหาเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรภาคประชาชน ภาคประชาสังคม รวมทั้งกลุ่มองค์กรชุมชน และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ได้จัดทำเป็นเว็บไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นเว็บทางเลือกของภาคประชาชน ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตย รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ มีหลายเว็บไซด์ที่ได้มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชน ซึ่งนอกเหนือจากเว็บไซด์ของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และนโยบายการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเว็บไซด์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบางแห่งได้มีการจัดทำอย่างเป็นระบบและสามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้อย่างสะดวก ซึ่งถือเป็นการบริหารตามหลักความโปร่งใสและเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นหลัก ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)มาเป็นเครื่องมือหลักในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลชุมชน ข้อมูลข่าวสารของ อปท. ทั้งข้อมูลด้านการบริหาร ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนา ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการให้ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องทุจริตผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ต หรือเว็บไซด์ของ อปท. เป็นต้น
ภาพของกระบวนการพัฒนา IT ของท้องถิ่นในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าหากว่า ICT ได้มีแผนแม่บทที่ชัดเจนในการพัฒนารวมทั้งกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจ รวมทั้งสนับสนุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและ วางระบบฐานข้อมูลที่มีความถูกต้อง รวมทั้งกระบวนการประสานความร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ จัดทำระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างเป็นระบบแล้ว กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการใช้ IT มาเป็นเครื่องมือ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งการพัฒนาและมีส่วนร่วมในการตรวจ สอบอย่างสร้างสรรค์แล้ว จะทำให้แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารและการพัฒนา และที่สำคัญคือ ประโยชน์จะตกอยู่ที่ประชาชนในท้องถิ่น
กระบวนการพัฒนาชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปี ข้างหน้า ผู้เขียนมีมุมมองว่า ควรมีการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นฐานที่สำคัญในอนาคตให้มีความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งการรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างถูกต้อง มิใช่เพียงเพื่อตอบสนองความบันเทิง ความสนุกสนานเท่านั้น แต่ควรเป็นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ อย่างถูกต้อง
นอกจากนั้นประเด็นเกี่ยวกับความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่และ กระบวนการคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยภาพรวมแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคม ที่มีทั้งคุณและโทษในตัวของมันเอง แต่ทำอย่างไรจะให้มีการนำด้านคุณประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้ให้มากที่สุด โดยสรุปก็คือ ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศมีความทันสมัยมากขึ้นและประเด็นที่สำคัญคือทำ อย่างไรจะให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ได้มีแผนรองรับการพัฒนาทางด้าน IT ที่เป็นรูปธรรม เช่น การเสริมสร้างความรู้แก่เด็กและเยาวชนในการรู้เท่าทันเทคโนโลยี กระบวนการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีกลไกและมาตรการที่รองรับทั้งทางด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคลและมาตรการทางด้านกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตยในอนาคต