ป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาราวเทียนทอง อ.เนินขาม และอ.หันคา จ.ชัยนาท มีพื้นที่มากกว่า 22,000 ไร่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณที่มีไผ่รวกเป็นพืชเด่น มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย และหนาแน่นบางบริเวณ ส่วนไม้พื้นล่างมีหนาแน่น เช่น กระเจียว ข่า และเหล่าสมุนไพรนานาชนิด
สมัยก่อน ความรกทึบของป่าจริงในละแวกนี้ เคยเป็นที่กบดานของบรรดาอดีตนักเลงเก่าที่ชาวบ้านมักขึ้นต้นชื่อให้ว่า “เสือ” ป่าบ้านเขาราวเทียนทองเองก็มีเสือสองขาเหมือนกัน เมื่อ 50-60 กว่าปีก่อน ถ้าใครได้ยินชื่อ “เสือมเหศวร” ต้องพากันรีบปิดประตูบ้าน เพราะเสือมเหศวรนั้นคล้ายๆ กับโรบินฮู้ด คือ ชิงจากคนรวย เพื่อช่วยเหลือคนจน ทุกวันนี้ เสือมเหศวรเป็นเพียงชายชราที่ใช้ชีวิตสงบสุขที่บ้านไพรนกยูง อ.หันคา ภายใต้ชื่อจริงว่า “ศวร เภรีวงษ์”
ช่วงก่อตั้งชุมชนใหม่ๆ สภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าชุกชุม ชาวบ้านที่มาบุกเบิกพากันจับจองพื้นที่ทำมาหากินในป่า ตัดไม้ทำฟืนและเผาถ่านขาย แล้วยังมีคนจากข้างนอกเวียนเข้ามาหากินจากทรัพยากรของบ้านเขาราวเทียนทอง การใช้ประโยชน์จากป่าโดยขาดการจัดการ ทำให้ป่าเสื่อมโทรม สัตว์ป่าลดจำนวน และต้นไม้ใหญ่ก็ร่อยหรอลง
การเสื่อมโทรมของป่าทำให้ชาวบ้านที่ยากจน และอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารแหล่งรายได้ เริ่มเกิดความตระหนักในเรื่องการแก้ไขและคิดหาวิธีบริหารจัดการป่า โดยเริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ มาช่วยกันดับไฟป่า จากนั้นเริ่มขยายวงพูดคุย เกิดเป็นข้อตกลงในการจัดการป่าร่วมกัน
การใช้อย่างเดียวโดยไม่มีการจัดการที่ดี คงไม่เหลือไว้ให้ลูกหลานใช้ในอนาคต ผู้ใหญ่สายชล ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ จึงพูดคุยกับสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเพื่อหาทางตอบแทนป่า มีการเปิดเวทีหารือกับกลุ่มพ่อบ้าน เพื่อหาแนวทางรักษาแหล่งอาหารพื้นบ้านนี้ไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะดูแลวัตถุดิบที่เป็นทั้งอาหารและรายได้ และเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนไปในตัว
จึงมีการเปิดเวทีหารือกันและนำมาสู่การจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน เริ่มทำกิจกรรมอนุรักษ์ ได้แก่ การทำแนวกันไฟ การดับไฟป่า การปลูกต้นไม้เสริมและพืชอาหารในพื้นที่ว่าง การลาดตระเวนตรวจตราผืนป่า และสิ่งที่อาจจะถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการป่าครั้งแรกของป่าชุมชนในเมืองไทย ก็คือ การกำหนดช่วงเวลาการเก็บหาหน่อไม้ในป่ารวก โดยให้เดือนมิถุนายน-สิงหาคม เป็นช่วงเก็บหาหน่อไม้ แต่ละคนต้องไม่เก็บหน่อในกอซ้ำกัน และแต่ละคนที่เก็บหน่อ จะเก็บได้เพียง 3 ใน 4 เพื่อเหลือไว้เป็นหน่อเชื้อ พอถึงเดือนกันยายน ก็จะเป็นช่วงเวลา “ปิดป่า” ตามที่ชาวบ้านเรียกกันง่ายๆ แต่หมายถึงการปิดฤดูกาลเก็บหน่อไม้ เพื่อให้พืชอาหารชนิดนี้ได้มีโอกาสเติบโตในฤดูกาลต่อไป เป็นวิธีบริหารจัดการ “ฟู้ดแบงค์” ของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สิ่งที่อาสาจะได้รับ
1. การเรียนการใช้ทรัพยากร
2.แนวคิดการอนุรักษ์
3. วิธีการฟื้นฟูป่า
ตารางกิจกรรม
19 สค
7.00 ออกจากปั้ม ปตท สนามเป้า
10.00 ถึงที่ทำการป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง
10.15 ฟังแนวคิดการจัดการทรัพยากร และ ป่าอยู่ร่วมกับชุมชน
11.00 เริ่มปลูกป่า ทำฝาย
13.00 ทานอาหารเที่ยงที่เราเตรียมไว้
14.00 เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
16.00 ออกจากป่า
16.30 เดินทางไปวัด 2 พี่น้อง
18.00 กลับกรุงเทพ
20.00 ถึงกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ
วิธีการสมัครเข้าร่วมกิจกรร
1. ผู้สนใจสามารถ In Box ส่งข้อมูลมาในเพจ ONEFINEDAY:https://www.facebook.com/
2. หลังจากส่งข้อความมาแล้ว ให้รอรับข้อความตอบกลับ
3. หลังจากได้ตอบกลับแล้ว โอนเงิน 730 บาท/คน มาที่บัญชีสะสมทรัพย์ ธนาคารทหารไทย เลขบัญชี 235-2-36290-5 ชื่อบัญชี นาย สุธี วัฒนกุล หรือ ไทยพานิช 406-466738-5 ชื่อบัญชี นาย สุธี วัฒนกุล
4. หลังจากโอนเงินแล้วให้กรอกร
** https://goo.gl/forms/
5..หลังจากดำเนินการเสร็จสิ
เพื่อนๆสามารถยืนยันการสมัค
ขอบคุณเพื่อนๆที่สนใจ และหวังว่า จะได้พบกัน
ขอบคุณทุกท่านที่สนใจเดินทา
#OFDClub
#วันสบายๆสไตล์OneFineDay
ติดต่อได้ที่ เบอร์ 0831919554
email: mongwin1123@gmail.com
line: navigatorsutee
สิ่งที่รวมในทริป
1. ค่ารถไปกลับ
2. ค่าเสื้อกิจกรรม 1 ตัว
3. ค่าอาหาร 1 มื้อ
4. ค่าวิทยากร
5. ประกันการเดินทาง
6. อุปกรทำอาสา
ค่าใช้จ่าย : 730