กิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ&ยิงหนังสติ๊กปลูกป่า
30 เม.ย.- 2 พ.ค. 2559 ( เดินทางคืนวันศุกร์ที่ 29 )
ณ ดอยผากลอง-แก่งเสือเต้น จ.แพร่
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อปลูกฝังจิตสำนึก และขยายเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วม นอกจากจะเป็นการทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการกุศลเพื่อหาทุนไปช่วยเหลือสังคม
หมายเหตุ : กรีน อีเว้นท์ หมายถึง กิจกรรมสีเขียว ไม่ใช่บริษัท ไม่ใช่องค์กรธุรกิจ ไม่ใช่ NGO แต่เป็นองค์กรประเภทกิจการเพื่อสังคม (SE) เป็นองค์กรจัดงานการกุศล ที่มุ่งเน้นด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณที่เหลือจากการจัดกิจกรรมนี้ ส่วนหนึ่งเป็นทุนสนับสนุนการจัดงานจิตอาสาของชมรม อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (ผู้จัดเครือเดียวกัน) อีกส่วนหนึ่งเก็บสะสมไว้เป็นเงินช่วยเหลือและกระเช้าของขวัญให้ จนท.พิทักษ์ป่ากรณีถูกยิงบาดเจ็บ หรือพวงหรีดกรณีเสียชีวิต และโครงการสนับสนุนทุนจัดกิจกรรมให้แก่เด็กและเยาวชน (ทั้งสองโครงการจะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค.2559 เป็นต้นไป)
กำหนดการ
คืนวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559
22.00 น รวมพลที่ ปตท.สนามเป้า (อยู่ใกล้ ททบ.5 ถนนพหลโยธินฝั่งขาเข้าอนุสาวรีย์ชัยฯ) , รถออก 22.30 น
– เดินทางโดยรถปรับอากาศ (รถแอร์)
วันเสาร์ที่ 30 เม.ย. 2559
05.40 น แวะพักรถที่ ปตท.วังสีสูบ จ.อุตรดิตถ์, ล้างหน้าแปรงฟัน และหารับประทานอาหารเช้าตามศูนย์อาหารและร้านสะดวกซื้อ ( 45 นาที )
08.30 น ถึงเขตป่าชุมชนแพะเปียง อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่
– รวมพลประชุม ชี้แจง แนะนำตัว บริเวณวัดพระธาตุตุงคำ(วัดป่าบนเนินเขา)
– บรรยายกิจกรรมสร้างฝาย เดินทางไปสร้างฝายชะลอน้ำบริเวณลำห้วย (ฝายแห้ง)
– เสร็จงาน ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน
12.00 น รับประทานอาหารกลางวัน ( ขนมจีนน้ำเงี้ยว และขนมจีนน้ำยา )
13.00 น ขึ้นรถ เดินทางไปภูเขาหินปะการัง อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง อ.ลอง จ.แพร่
– แวะเยี่ยมชมสวนหินมหาราช (จุดพักรถริมทางบนภูเขา)
– เข้าพักที่ลานกางเต็นท์ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวภูเขาหินปะการัง อช.ดอยผากลอง
– กางเต็นท์ จับคู่นอนเต็นท์หลังละ 2 คน
– กิจกรรมยิงหนังสติ๊กปลูกป่า, เดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติไปดูถ้ำแอร์ ถ้ำผากลอง และภูเขาหินปะการัง
– พักผ่อนตามอัธยาศัย, อาบน้ำ ทำภารกิจส่วนตัว
17.00 น รับประทานอาหารเย็น (ต้มข่าไก่กะทิ และลาบหมู)
19.00 น กิจกรรมสันทนาการ สานสัมพันธ์หมู่คณะ (ประมาณ1-2 ชั่วโมง), เสร็จกิจกรรมแยกย้ายเข้านอน
วันอาทิตย์ที่ 1 พ.ค. 2559 (วันแรงงานแห่งชาติ)
05.00 น ตื่นนอน เดินเท้าขึ้นไปดูพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดภูเขาหินปะการัง, ทยอยกลับลงมา
07.00 น รับประทานอาหารเช้า (น้ำพริกอ่องกับผักกับ และแกงอ่อม)
– เก็บเต็นท์ เก็บสัมภาระขึ้นรถ
08.30 น เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติแม่ยม (แก่งเสือเต้น)
– แวะแพะเมืองผี ( 25 นาที )
– เข้าพักที่ลานกางเต็นท์ริมแก่ง อช.แม่ยม (แก่งเสือเต้น)
– กางเต็นท์ จับคู่นอนเต็นท์หลังละ 2 คน
12.00 น รับประทานอาหารกลางวัน (ส้มตำไทยกับไก่ทอด)
13.00 น กิจกรรมยิงหนังสติ๊กปลูกป่าและเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 3 กม.
– กลับออกจากป่า, เล่นน้ำ, ดูรอยตีนเสือโคร่งโบราณบริเวณโขดหินริมแม่น้ำ, พักผ่อนตามอัธยาศัย, อาบน้ำ ทำภารกิจส่วนตัว
17.00 น รับประทานอาหารเย็น (คั่วโฮะ และแกงฮังเล)
19.00 น กิจกรรมสันทนาการ สานสัมพันธ์หมู่คณะ (ประมาณ1-2 ชั่วโมง), เสร็จกิจกรรมแยกย้ายเข้านอน
วันจันทร์ที่ 2 พ.ค. 2559 (วันหยุดชดเชยวันแรงงานแห่งชาติ)
07.00 น รับประทานอาหารเช้า (ข้าวต้มซี่โครงหมู)
– เก็บเต็นท์ เก็บสัมภาระขึ้นรถ
08.00 น เดินทางออกจากแก่งเสือเต้น
– เข้าตัวเมือง แวะแหล่งขายเสื้อผ้าหม้อฮ่อม ส่งเสริมการกระจายรายได้ให้คนท้องถิ่น ( 15 นาที )
– เข้าเยี่ยมชมคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ( 25 นาที )
11.30 น นมัสการพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ( 1 ชั่วโมง )
– หารับประทานอาหารเที่ยงกันตามร้านค้ารอบวัดพระธาตุช่อแฮ
12.30 น ขึ้นรถ เดินทางไปแวะถ่ายรูปหน้าวัดพระธาตุสุโทน ( 20 นาที ), แวะซื้อของฝากเด่นชัย บริเวณประตูเมืองแพร่, เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ( ถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 23.00 น ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร ความตรงต่อเวลาของสมาชิก เหตุสุดวิสัย และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ )
หมายเหตุ : กำหนดเวลาอาจคลาดเคลื่อนได้ตามสถานการณ์ และลำดับกิจกรรมอาจมีการสลับสับเปลี่ยนตามความเหมาะสมหากมีเหตุจำเป็น
รับสมัคร 50 คน
ค่าสมัครคนละ 2,200 บาท
สิทธิ์ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับ
(1) รถปรับอากาศ (รถแอร์) ไป-กลับ รวมถึงการเดินทางภายในจังหวัด (มีประกันอุบัติเหตุ)
(2) อาหารและน้ำดื่ม 6 มื้อ (อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ) และน้ำดื่มระหว่างเดินป่าคนละ 1 ขวด
(3) ค่าเช่าเต็นท์และเครื่องนอน ได้แก่ เบาะรองนอน หมอน และถุงนอน 2 คืน (จับคู่นอนเต็นท์หลังละ 2 คน)
(4) ค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง (ค่าเข้าชมและค่าพื้นที่กางเต็นท์)
(5) วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำกิจกรรม
(6) เอกสารประกอบการเรียนรู้ (โบรชัวร์)
(7) สตาฟและวิทยากร
สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการใบประกาศเกียรติคุณ สามารถขอรับได้ฟรี โดยให้ระบุมาในข้อมูลผู้สมัคร
###ขั้นตอนและวิธีการสมัคร###
1. สมัครโดยส่งข้อมูลผู้สมัครมาที่ In Box (กล่องข้อความแชท) www.facebook.com/GreenEventsThailand
ข้อมูลที่ต้องการมีดังนี้
- ชื่อกิจกรรม ( ย่อๆ เช่น สร้างฝายแพร่ หรือสร้างฝาย 30 เม.ย. หรือสร้างฝาย+ยิงหนังสติ๊ก )
- คำนำหน้าชื่อ-ชื่อจริง-นามสกุล
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- สำหรับท่านที่มีปัญหาในการทานอาหาร เช่น กินเจ มังสวิรัติ ฮาลาล ฯลฯ โปรดระบุ (ถ้ามี)
2. หลังจากส่งข้อมูลมาแล้วเราจะตอบกลับเป็นเลขบัญชีและกำหนดเวลาโอนเงินให้ท่านได้ยืนยันตน
3. กดเข้าร่วมในห้องกิจกรรม www.facebook.com/events/884944528300614 เพื่อทราบการอัพเดรทที่เป็นปัจจุบัน
..........................................................
ท่านที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ใน In Box https://www.facebook.com/GreenEventsThailand
ว่าที่ร้อยเอกสราวุฒิ สารคำ 084-526-6834
ห้องกิจกรรม www.facebook.com/events/884944528300614
กรีน อีเว้นท์ Green Event
ค่าใช้จ่าย : 2,200 บาท
1 Comment
Zhiling, April 4, 2016 at 11:44 am
แหล่งน้ำธรรมชาติบางบริเวณเป็นน้ำขัง เราก็ไปขุดลอก ส่วนบางบริเวณเป็นลำธารน้ำไหล ปกติตะกอนดิน ทรายจะถูกชะล้างไปพอกทับตามปากแม่น้ำ แต่เราก็ไปดักตะกอน เพราะเข้าใจผิดว่าการสร้างฝายช่วยดักตะกอน เพิ่มปริมาณน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ให้กับป่า รวมถึงชะลอการไหลของน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วมได้ แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ กลายเป็นที่ทิ้งขยะ
การสร้างฝายจำนวนมากมันไม่ต่างจากเขื่อนนะครับ การดักตะกอนส่งผลต่อเนื่องไปยังการลดลงการทับถมของตะกอนปากแม่น้ำซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนและป่าชายหาดด้วย
https://beachconservation.wordpress.com/2011/11/18/สัมภาษณ์พิเศษ-sikke-hempenius-ยิ่งสร้/
เรื่องเอาหนังสติ๊กปลูกป่าเหมือนกันครับ ลูกไม้มันจะตกไปไหนก็เป็นเรื่องของธรรมชาติมัน การที่เราเอามายิงเล่นกัน คิดถึงที่มาของลูกไม้ด้วย เราไม่ได้เสกขึ้นมา แต่มันคือการขโมยลูกไม้มาจากในป่าที่หนึ่ง (มันก็หายไปจากที่นั่น) แล้วเอามายิงเล่นทิ้งขว้างไปปลูกอีกที่หนึ่งในที่ที่ไม่ใช่ที่ของมัน (แล้วมันจะขึ้นมั้ย แต่ถ้าขึ้นถือว่าเป็นเอเลี่ยนเปล่า?) แบบนี้คิดว่าถูกมั้ย อยากให้อ่าน Risk of reintroduction and translocation ของ IUCNปล. จากประสบการณ์ส่วนตัวกิจกรรมที่ว่าคือการพรากลูกเขา พาไปตาย (กรณีที่เป็นไม้ท้องถิ่น) ที่รอดล้วนเป็นไม้ต่างถิ่นที่รุกราน ถ้าไม่เชื่อลองศึกษาติดตามเองดูครับ แต่ต้องศึกษาทำความเข้าใจก่อนว่า อะไรคือ ไม้ท้องถิ่น อะไรคือต่างถิ่น
คนไม่ใช่สัตว์ป่าครับ และที่สำคัญสัตว์มันกินผลไม้ป่าไหนมันกระจายในป่าระแวกนั้น และสัตว์กับพืชมันมีวิวัฒนาการร่วมกัน ธรรมชาติมันคัดเลือกมาแล้ว เช่นพืชหลายชนิดอาจจะต้องอาศัยสัตว์กินกลืนเมล็ดเข้าไป อาศัยประโยชน์จากจุลินทรีย์ในลำไส้ของสัตว์ช่วยในการงอก และที่สัตว์นำพาไปมันก็เป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสมกับการงอกของพืช (ป่าที่ยังมีสัตว์ มันไม่ใช่ป่าเสื่อมโทรม) แต่กิจกรรมของมนุษย์มันไม่ใช่ เพราะที่ทำไม่เข้าใจธรรมชาติ พืชแต่ละชนิดมันต้องการ niches ที่ต่างกัน การงอกของมันก็มีหลายปัจจัย เราไปย้ายที่มันมั่นใจได้อย่างไร จะไม่ส่งผลเสียทั้งต่อประชากรต้นทาง (พรากลูกเขาไปตาย) และระบบนิเวศปลายทาง (ยัดเยียดของที่ไม่เคยมีลงไป) พืชและสัตว์สัมพันธ์กัน หลายชนิดมีวิวัฒนาการร่วมกัน ปฏิสัมพันธ์มันซับซ้อนกว่าที่เราคิด ลองไปดูแผนภาพปฏิสัมพันธ์ในระบบนิเวศละกันครับ การเพิ่มขึ้นหรือหายไป สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ มันส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างไร ผมไม่รู้จะอธิบายให้คุณเข้าใจอย่างไร ลองศึกษาเรื่อง Risk of translocation ดูครับ. แต่ยังไงก็ต้องพิจารณาด้วยว่า
1) แล้วกิจกรรมยิงเมล็ดที่ว่าปลูกในป่าหรือเปล่า ( ถ้าเป็นป่าสมบูรณ์ดีอยู่แล้วจะยิงเมล็ดทำเพื่อ) ป่ามันเป็น climax community สมดุลเกิดและตายเท่ากัน กิจกรรมที่ทำไม่ใช่ช่วยเพิ่มสมดุลนะครับ แต่เป็นการทำลายสมดุล
2) ถ้ากิจกรรมที่ว่าไปทำในป่าที่ไม่สมบูรณ์หรือเสื่อมโทรม กิจกรรมที่ว่าก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแทบไม่มีพืชท้องถิ่นใดที่สามารถอยู่รอดได้เพราะสภาพแวดล้อมมันไม่เหมาะสมของป่าเสื่อมโทรม (ธรรมชาติค่อยๆ ปรับตัวฟื้นฟูช้าๆ มันไม่มีวิธีลัดครับ)
3) หลายคนอ้างว่าพืชที่ไปโยนสามารถขึ้นได้ อยากให้ดูด้วยครับพืชที่ปลูกมันพืชอะไร ต่างถิ่นหรือเปล่า ถ้าเป็นพืชต่างถิ่นมันเป็นการทำลายธรรมชาตินะครับ