ภาพรวมของโครงการ
บ้านตะเหมก เป็นชุมชนเก่าแก่ มากว่า 200 ปี ตั้งอยู่ที่ ม.9 ต.ละมอ อ.นาโยง จ ตรัง
92170 ภาคใต้ของประเทศไทย สภาพหมู่บ้านเป็นเนินเขา สูงชัน มีป่าต้นน้ำ
ชาวบ้านจะปลุกบ้านตามแนวคลอง บ้านจะอยู่ห่างๆ กัน ตามที่ดินของตัวเอง
ในชุมชนมีการรวมตัวทำกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
และยังรวมตัวต่อสู้เรื่องที่ดินทำกินเนื่องจากพื้นที่ดั้งกล่าว
ทางรัฐได้ประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งรวมถึงที่ดินทำกินของชุมชนด้วย (ปัจจุบัน)
ชาวบ้านอาศัยอยู่ แต่ไม่สามารถตัดต้นไม้ หรือ ปลูกยางพาราเพิ่มเติมได้
และไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว

สภาพทั่วไปของชุมชน และที่มาของโครงการ
ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไปของชุมชน
บ้านตะเหมก เป็นชุมชนพุทธ มีครัวเรือนทั้งหมดประมาณ 500 ครัวเรือน
เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในหุบเขา ห่างจากถนนสายหลัก ประมาณ 10 กิโลเมตร
ตั้งอยู่ในตำบลละมอ อำเภอนาโยง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพสวนยางพารา
และปลุกผัก ผลไม้ไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่
เป็นคนพื้นที่ดังเดิมในชุมชน มีโรงเรียนที่ใกล้ที่สุดคือ
โรงเรียนบ้านคลองลำปริงซึ่งอยู่ห่างออกไป 4 กิโลเมตรจากหมู่บ้าน สอนนักเรียนระดับ
ประถม มีนักเรียนประมาณ 140 คน ครู 9 คน มีสถานีอนามัย ใกล้ ๆ โรงเรียน
วัดที่ใกล้ที่สุดคือ วัดมงคลสถาน (วัดละมอ) 12 กม จากหมู่บ้าน

ดาหลา ได้จัดกิจกรรมร่วม กับชุมชนตะเมก ครั้งนี้ เป็นครั้งที 5 ภายใต้ การชักชวน
ของพี่สิงห์ นายอานนท์ สีเพ็ญ ตัวแทนเครือข่ายรักษ์เขาบรรทัด และกำนันนา ธนายุทธ
นิตมา โดยชาวบ้านได้ รวมตัวกันทำกิจกรรม ด้านอนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ
เทือกเขาบรรทัดและปกป้องที่ดินทำกิน มาเป็นเวลาหลายปี โดยอาสมัครจะร่วมทำกิจกรรม
กับชาวบ้าน และเด็กในชุมชน เพื่อช่วยกัน ส่งเสริม และอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม
โดยผ่านตัวกิจกรรมต่างๆ และยังปลูกจิตอาสาให้กับเยาวชนในชุมชนตะเมก

จุดประสงค์ของโครงการ

– เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
– เพื่อแลกเรียนรู้แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม
– ปลุกจิตสำนึกการหวงแหน ทรัพยากร ดูแล รักษา ไม่ให้สูญหาย
– เพื่อปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน มีจิตอาสา

กิจกรรม
– กิจกรรมเรียนรู้ ป่า น้ำ ดิน (เดินป่า ทำฝายชะลอน้ำ ทำประปาภูเขา สำรวจป่าต้นน้ำ)
– กิจกรรมปลูกกาแฟ
– กิจกรรมกับเด็ก

หมายเหตุ ตัวกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศและความเหมาะสม

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ
1. สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้
2. ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
3. มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน
4. มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
5. ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

ที่พัก และอุปกรณ์ที่จำเป็น
ที่พัก พักที่ศูนย์ (ที่ทางชุมชนสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ของเยาวชน)
เป็นศาลายกพื้น ใหญ่ โล่งๆ สามารถนอนผูกเปล กางมุ้ง ได้ ประมาณ 20 คน
รวมถึงสามารถพักตามบ้านชาวบ้านได้ด้วย
ห้องน้ำ มี 3 ห้อง (อยู่ในบริเวณศูนย์) มีไฟฟ้า และน้ำ ใช้ (ประปาจากเขา)
อาหาร อาสาสมัครเปลี่ยนเวร ทำอาหาร กันเอง โดยมีกลุ่มแม่บ้านมาช่วยทำด้วย
ซักผ้า ซักผ้าด้วยมือ
สัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ระบบ True ใช้ได้เป็นบางจุด

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย
1. ถุงนอน หรือผ้าห่ม หมอนลม แผ่นโยคะรองนอน หากมีเต้นท์ หรือเปล
สามารถนำมาได้ เรามีพื้นที่สำหรับกางเต้นท์)
2. เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ ระหว่างค่าย
3. เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
4. อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
5. เสื้อกันฝน (เผื่อบางวันอาจจะมีฝนตก หาซื้อได้ใน 7 eleven)
6. สเปรย์กันยุง (กรุณาเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
6. ไฟฉาย หรือโทรศัพท์ ที่มีไฟฉาย
7. ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
8. ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส ☺
9. ของส่วนตัวผู้เข้าร่วม (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่)

 

  1. อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0ByQQ4JcERbn-X3k0eWFoVGRGVU5aakh2UHM3VmtQM2h6a0NB/view?usp=sharing
  2.  ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1Td0jMry9NJpVTIZHMu_q7H5GecB3wSRy
  3. ส่งใบสมัครมายัง www.dalaa.thailand@gmail.com
  4. รอการตอบรับจากเจ้าหน้าที่
  5. ชำระค่าเข้าร่วม

ค่าใช้จ่าย : 1800 บาท