ประวัติองค์กร
“กลุ่มดาหลา” ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 โดยเพื่อนผู้รักงานอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้นครั้งแรกในปี 2548 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อว่า “สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 สำนักงานตั้งอยู่ที่ 15/2 หมู่ที่ 3 ต.โคกม่วง อำเภอคอลงหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ถึงวันนี้กลุ่มดาหลาได้ดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันเข้าสู่ปีที่ 12 เสมือนเด็กน้อย ที่เริ่มด้วยวัยแห่งการเรียนรู้ รอวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ของความปรารถนาดีต่อสังคมร่วมกัน
นอกเหนือจากการจดทะเบียนเป็นสมาคมในประเทศไทย ในเครือข่ายระหว่างประเทศนั้น กลุ่มดาหลาก็ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ CCIVS หรือ (คณะกรรมการประสานงานเพื่ออาสาสมัครนานาชาติ) ซึ่งมีกลุ่มองค์กรเครือข่ายงานเกี่ยวกับอาสาสมัครทั่วโลก และกลุ่มองค์กรเครือข่ายในเอเชีย NVDA หรือ (เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาเอเชีย) ซึ่งทั้งสองเครือข่ายนี้ เสมือนตัวกลางในการประสานงานเพื่อการจัดส่งหรือแลกเปลี่ยนอาสาสมัครนานาชาติเข้าร่วมโครงการที่ทางกลุ่มดาหลาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น
เป้าหมาย
เป้าหมายหลักของเรา คือ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว เราได้แยกย่อยเป็น 3 แนวทางคือ
- ส่งเสริม หรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆเช่น การสร้างศาลา หรือศูนย์เรียนรู้ในท้องถิ่น การทำกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน
- เสริมสร้างมิตรภาพ กิจกรรมต่างๆ ของทางสมาคมจะนำกลุ่มอาสาสมัครไทยและต่างชาติและคนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน
- สงวนและดูแลรักษา สงวน และดูแลสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย จากรุ่นสู่รุ่น
ประวัติโครงการ
เกาะยาวใหญ่ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งจากการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วในจังหวัดเกาะภูเก็ต ซึ่งได้ขยายตัวสู่พื้นที่เกาะยาว ทำให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยว การค้าขาย การก่อสร้างบังกะโลและรีสอร์ทมากมายในพื้นที่ ประชากรหลายคนเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตจากอาชีพประมงชายฝั่งหรือทำสวนมาเป็นการดำเนินกิจการบริการนักท่องเที่ยว และประกอบธุรกิจขนาดย่อมภายในครอบครัว ส่งผลให้วิธีคิดเปลี่ยนจากเดิมที่เคยดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย, ประชากรขาดจิตสาธารณะ ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเหมือนในอดีต,สิ่งแวดล้อมในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นปัญหาขยะ เป็นต้น
ปี 2558 นายวีระ สืบพงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองเหียได้ร่วมมือกับนายอนุชา เบ็ญอ้าหมาด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุใน จัดตั้งเครือข่าย 13 โรงเรียนในเกาะยาวเพื่อเสาะหาแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่จะสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาสในการเรียนรู้อย่างมีความสุขตลอดจนการส่งเสริมจิตสาธารณะที่สามารถส่งผลต่อนักเรียนให้เป็นคนดี มีความรู้และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนของตนเอง จนได้พบเจอกับนายบุญฉันท์ แสงไฟ ซึ่งเคยร่วมงานกับสมาคมอาสาสมัครนานาชาติฯ (ดาหลา) มาก่อนจึงหารือร่วมกันที่จะดำเนินโครงการค่ายอาสาสมัครนานาชาติเพื่อส่งเสริมโครงการพัฒนาการศึกษาดังกล่าว
ต้นเดือนมกราคา 2559 จึงได้มีการประชุมหารืออย่างเป็นทางการเพื่อดำเนินโครงการค่ายอาสาสมัครนานาชาติระยะสั้น 2 สัปดาห์ร่วมกัน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์และกิจกรรมร่วมกับชุมชน ตลอดจนการเสาะหาแนวทางในการดำเนินงานต่อไปในอนาคต
กิจกรรมที่จะทำ
- กิจกรรมส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษอย่างสร้างสรรค์
1.1 โรงเรียนบ้านคลองเหีย
1.2 โรงเรียนบ้านพรุใน (โรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเกาะยาว)
- กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเรียนรู้วิถีชุมชนเกาะยาว
- กิจกรรมครอบครัวอุปถัมภ์และเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้าน
- กิจกรรมส่งเสริมการเกษตรในชุมชน เช่น ปลูกผักพื้นบ้าน สวนครัว
- กิจกรรมเรียนรู้วิถีประมงชายฝั่ง
- กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับชุมชน
3.1 กิจกรรม Big Cleaning Day ร่วมเก็บขยะและทำความสะอาดพื้นที่ชุมชนร่วมกับชาวบ้าน
**กิจกรรมที่แน่นอนจะส่งให้ก่อนค่ายเริ่มประมาณ 2 สัปดาห์ค่ะ
บริบทชุมชน
โรงเรียนบ้านคลองเหีย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา สภาพชุมชนโดยรอบโรงเรียนมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ด้านทิศใต้ของหมู่บ้านมีลำคลองชื่อว่า ”คลองเหีย” ความยาวกว่า 10 กิโลเมตร โดยมีต้นน้ำอยู่ในวัง หมู่ที่ 2 บ้านช่องหลาด มีสระเก็บน้ำของหมู่บ้านพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ สำหรับประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้อุปโภค มีบ้านเรือนอาศัยของราษฎรในหมู่บ้าน 150 ครัวเรือน
การคมนาคมติดต่อกับภายนอกโดยทางเรือ ด้านทิศเหนือของโรงเรียนระยะทางประมาณ 700 เมตร มีท่าเรือบ้านคลองเหียสำหรับการเดินทางสัญจรไปมาจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ โดยเฉพาะการเดินทางไปจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันมีความสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก มีเรือโดยสารจอดเทียบท่ารับผู้โดยสารตลอดทั้งวันแต่การเดินทางมีความกันดารมากในฤดูมรสุมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – กันยายน
ประชากรและเศรษฐกิจ ในหมู่บ้านคลองเหีย มีประชากรทั้งสิ้น 539 คน ชาย 271 คน หญิง 268 คน ประชากรหรือผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา รองลงมาคือทำการประมง เช่น การทำอวนลอยกุ้ง การเลี้ยงปลาในกระชัง เลี้ยงกุ้งมังกร และมีอาชีพรับจ้างอาชีพค้าขาย ทำให้ประชากรมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว โดยเฉพาะในปัจจุบันยางพารามีราคาตกต่ำมากทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ดีขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อปี 40,000 – 60,000 บาท ต่อครัวเรือน ในปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่ามารับจ้างเป็นกรรมกรสวนยางพาราเป็นจำนวนมาก ประชาชนมีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่เคร่งครัดอยู่ในหลักธรรมของศาสนา
เขตบริการของโรงเรียนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวใหญ่ ในปัจจุบันโรงเรียนสามารถเกณฑ์เด็กให้เข้าเรียนได้ทั้งหมด 100% ในปีการศึกษา 2557
อาหาร ** งดเนื้อหมู เนื่องจากเป็นชุมชนอิสลาม**
อาสาสมัครอยู่ร่วมกันแบ่งเวรทำความสะอาดและปรุงอาหารเอง ในบางมื้ออาจมีครูหรือตัวแทนชาวบ้านมาช่วย
ที่พัก
-กรณีอาสาสมัครมีจำนวนน้อย จะพักในบ้านพักครูของโรงเรียน ซึ่งเป็นบ้านพักสองชั้นมีห้องนอนรวมแยกชายหญิง มีห้องน้ำและครัวในตัว
-กรณีอาสาสมัครหลายคน จะกระจายพักกับครอบครัวอุปถัมภ์ โดยอาสาสมัครสามารถร่วมจัดเตรียมอาหารและทำความสะอาดบ้านร่วมกับเจ้าบ้าน
ซักผ้า
ซักผ้าด้วยมือ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เตรียมมาเอง
ห้องน้ำ
มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน
คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม
– สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้
– ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
– มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
– ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์
จำนวนอาสาสมัครระยะยาวที่เปิดรับสมัคร
– อาสานานาชาติ 15 คน
– อาสาสมัครไทย 5 คน
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารในเกาะยาวมีสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตให้บริการทั้งที่เป็นคาเฟ่และสาธารณะเช่นในโรงเรียน
จุดนัดพบ
วันจันทร์ที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 11.00 น. ณ ท่าเรือบางโรง-เกาะยาวใหญ่
การเดินทาง
สามารถเดินทางมาโดยรถบัสกรุงเทพฯ-ภูเก็ต หรือสนามบินจากกรุงเทพลงภูเก็ต
- 30 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือเร็ว))
- 00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (วันศุกร์เรือออก 10.30 น.)
- 00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือข้ามฟากเอารถยนต์ลงเรือได้)
- 00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือเร็ว)
เงื่อนไขการร่วมโครงการ
- ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2 สัปดาห์จำนวน 3,000 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่ากิจกรรมต่างๆ ของสมาคม
- ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
- ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
- ผู้เข้าร่วมต้องร่วมกิจกรรมได้เต็มเวลา 2 สัปดาห์
สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย
- ถุงนอน หรือผ้าห่ม แผ่นโยคะ สำหรับนอน มุ้งสำหรับนอนคนเดียว (กรณีแพ้ยุง)
- เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2 สัปดาห์ (ผู้หญิงเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นไม่อนุญาตใส่ระหว่างค่าย)
- เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
- อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
- ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน
- รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)
- สเปรย์กันยุ่ง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)
- ไฟฉาย (เลือกแบบที่สว่างมาก ๆ และควรเป็นแบบชาร์จแบตเตอรี่ )
- ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
- ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส
- เมล็ดพันธ์ผัก (ถ้ามี)
- ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )
สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย
- สารเสพติด
- แอลกอฮอล์
- อคติ หรือความคิดด้านลบ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)
15/2 หมู่3 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
เว็ปไซต์ : www.dalaa-thailand.com Email: dalaa.thailand@gmail.com Tel. 074 -242-300
สำหรับอาสาสมัครไทยที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ศึกษารายละเอียดโครงการที่สนใจ และสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ลิงค์ข้างล่าง
2. กรอกใบสมัคร แจ้งชื่อ /ความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ(ระบุว่าสนใจร่วมค่ายไหน) /ทราบรายละเอียดโครงการจากที่ใด ระบุหัวข้อ สมัครค่ายสาสาสมัครระยะสั้น (ชื่อค่าย) ส่งเมลล์มาที่ dalaa.thailand@gmail.com
3. ดาหลาจะแจ้งรายละเอียดค่าย และการเตรียมตัวก่อนไปค่ายให้กับอาสาสมัครศึกษาข้อมูลก่อนไปค่าย
4. ดาหลาจะรวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมค่ายตามจำนวนที่ระบุไว้ว่าสามารถรับได้กี่ คน(สมัครก่อนมีสิทธิก่อน) แล้วแจ้งรายละเอียดและนัดหมายการเดินทาง
5. อาสาสมัครไทย ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมค่าย 2,500 บาท เพื่อนำเงินนี้ไปซื้อกับข้าวสำหรับอาสาสมัครตลอดทั้งค่าย ค่าบำรุงที่พัก ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าบำรุงสมาคม
6. สำหรับค่าเดินทาง อาสาสมัครต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด
ค่าใช้จ่าย : 3000