ชื่อโครงการ  เกษตรอินทรีย์ (รหัสโครงการ 5905)
(ทำสวน ปลูกพัก และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม อาหาร นานาชาติ)
ค่ายบ้านโคกเหรียง  อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

ระยะเวลาโครงการ   10-23 พฤษภาคม 2559
แยกย้ายวันที่ 23 ประสานตอนสาย ๆ ค่ะ

ประวัติองค์กร

“กลุ่มดาหลา” ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 โดยเพื่อนผู้รักงานอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้นครั้งแรกในปี 2548 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อว่า “สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 สำนักงานตั้งอยู่ที่ 15/2 หมู่ที่ 3 ต.โคกม่วง อำเภอคอลงหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ถึงวันนี้กลุ่มดาหลาได้ดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันเข้าสู่ปีที่ 12 เสมือนเด็กน้อย ที่เริ่มด้วยวัยแห่งการเรียนรู้ รอวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ของความปรารถนาดีต่อสังคมร่วมกัน
นอกเหนือจากการจดทะเบียนเป็นสมาคมในประเทศไทย ในเครือข่ายระหว่างประเทศนั้น กลุ่มดาหลาก็ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ CCIVS หรือ (คณะกรรมการประสานงานเพื่ออาสาสมัครนานาชาติ) ซึ่งมีกลุ่มองค์กรเครือข่ายงานเกี่ยวกับอาสาสมัครทั่วโลก และกลุ่มองค์กรเครือข่ายในเอเชีย NVDA หรือ (เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาเอเชีย) ซึ่งทั้งสองเครือข่ายนี้ เสมือนตัวกลางในการประสานงานเพื่อการจัดส่งหรือแลกเปลี่ยนอาสาสมัครนานาชาติเข้าร่วมโครงการที่ทางกลุ่มดาหลาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น

 

เป้าหมาย
เป้าหมายหลักของเรา คือ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว เราได้แยกย่อยเป็น 3 แนวทางคือ

  1. ส่งเสริม หรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆเช่น การสร้างศาลา หรือศูนย์เรียนรู้ในท้องถิ่น การทำกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน
  2. เสริมสร้างมิตรภาพ กิจกรรมต่างๆ ของทางสมาคมจะนำกลุ่มอาสาสมัครไทยและต่างชาติและคนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน
  3. สงวนและดูแลรักษา สงวน และดูแลสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย จากรุ่นสู่รุ่น

ประวัติโครงการ
ดาหลาเริ่มกิจกรรมกับบ้านโคกเหรียงตั้งแต่เดือนภุมภาพันธ์ 2556 เปิดเป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่อง รับอาสาสมัครตลอดทั้งปี โดยมีกิจกรรมหลักคือ ทำเกษตร มีเจ้าของโครงการชื่อลุงแจงที่อยากทำเกษตรแบบปลูกเพื่อกิน ลุงแจงมีความคิดเกี่ยวกับการกินอาหารที่ปลอดภัย จะทำให้สุขภาพดี เพราะลุงแจงมีโรคประจำตัว(โรคหัวใจ) เลยต้องดูแลเรื่องการกินเป็นพิเศษ

ดาหลารู้จักลุงแจง เมื่อปี 2549 กลุ่มดาหลาได้ร่วมงานกับชมรมคนแบกเป้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ จากนั้นกลุ่มดาหลา ชมรมคนแบกเป้และลุงแจงก็ได้ร่วมกิจกรรมด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งเมื่อปี 2556 ลุงแจงได้ลาออกจากงานประจำ เพื่อมาทำสวน ลุงแจงและเพื่อนมีความคิดอยากปลูกผักกินเอง ปลูกแบบผสมผสานทุกอย่างในพื้นที่สวน 8 ไร่  ซึ่งในอนาคต ลุงแจงคาดหวังว่าอยากให้พื้นที่บ้านลุงแจงเป็นพื้นที่ให้ชาวบ้าน รวมถึงคนจากชุมชนข้างนอกสามารถเข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วยกันได้ ดาหลาจึงสนับสนุนความคิดของลุงแจง ด้วยการเสนอให้มีอาสาสมัครนานาชาติในพื้นที่ ไว้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องการเกษตรต่อไป เมื่อโครงการได้เริ่มขึ้น ดาหลาได้ส่งอาสาสมัครระยะยาวอย่างต่อเนื่อง และได้จัดกิจกรรมค่าระยะสั้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์บ้างในบางเดือน เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนที่อยากทำทำสวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเกษตร และอื่นๆ

กิจกรรมที่จะทำ

–  ทำเกษตรเช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา รดน้ำพืชผัก ผลไม้ ในสวน เวลาทำงานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเวลาประมาณ 7-10 โมง และช่วงเย็น ประมาณ 16.00-18.00 น.

– กิจกรรมช่วงเวลาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำค่าย จะแจ้งให้ทราบก่อนค่ายเริ่ม 2 สัปดาห์

–  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม วัฒนธรรม อาหาร กับเพื่อนอาสาสมัครนานาชาติ

**กิจกรรมที่แน่นอนจะส่งให้ก่อนค่ายเริ่มประมาณ 2 สัปดาห์ค่ะ

 

บริบทชุมชน

บ้านโคกเหรียงตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา  อยู่ห่างจากสนามบินหาดใหญ่ประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา แต่ก็มีบางส่วนที่เดินทางออกมาทำงานในตัวเมืองหาดใหญ่ เนื่องจากบ้านโคกเหรียงเป็นชุมชนใกล้เมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจในเรื่องการเพาะปลุกผักกินเอง ทั้งๆที่พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก เน้นการซื้อจากท้องตลาดเป็นหลัก เช่นเดียวกันท้องทุ่งนาก็ได้ปล่อยว่างไม่มีการทำนา มีเพียงบางครอบครัวเท่านั้นที่ยังคงทำอยู่ มีร้านค้าชุมชนเป็นจำนวนมาก ไม่มีตู้ ATM กดเงินสด

อาหาร

รับประทานอาหารทุกประเภท แต่ลุงแจงเจ้าของโครงการจะทำอาหารเพื่อสุขภาพเป็นหลัก เพราะลุงแจงจะให้ความสำคัญเรื่องกินมากที่สุด การทำอาหารลุงแจงจะเป็นคนทำเป็นหลัก อาสาสมัครจะต้องช่วยลุงแจงในการเตรียมอาหารและบางครั้งจะต้องทำอาหารเองบ้าง มีครัวสำหรับที่ทำอาหารเพียบพร้อม อาหารที่บ้านลุงแจง หรือส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และลุงแจงเน้นเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบของของบ้านเป็นที่สุด

ที่พัก  

อาสาสมัครพักที่บ้านของลุงแจง ตอนนี้มีกระท่อม สำหรับอาสาสมัคร 4 หลัง ห้องละ 2 คน แยกนอนชายหญิง เว้นแต่กรณีที่แต่งงานแล้วสามารถอยู่ด้วยกันได้ หากจำนวนอาสาสมัครหลายคน ก็จะนอนในบริเวณพื้นของบ้าน มีเต้นท์ ไว้สำรอง พื้นบ้านเป็นโล่งโถง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ซักผ้า
ซักผ้ากับเครื่อง ซักชุดชั้นใน กางกางในด้วยมือ  ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เตรียมมาเอง

ห้องน้ำ

มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร 2 ห้อง สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน

คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม

– ชอบทำเกษตร และชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้
– ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
– มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

จำนวนอาสาสมัครระยะยาวที่เปิดรับสมัคร

– อาสานานาชาติ 15 คน
– อาสาสมัครไทย 5 คน

การติดต่อสื่อสาร

สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกระบบ มีอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ WIFI ได้ แต่ต้องไม่ใช้ในเวลาที่ทำงาน สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เมื่อเป็นเวลาพักผ่อนเท่านั้น

จุดนัดพบ

วันอังคาร ที่10 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ณ สนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เวลา 11.00 น.

การเดินทาง

  • จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นเดินมานั่งสองแถวบริเวณตลาดกิมหยง ใช้เวลาในการเดินเท้า 10-15 นาที รถสองแถวสีฟ้า เขียนป้ายที่รถว่าสนามบินหาดใหญ่ ค่าโดยสารประมาณ 20-30 บาท
  • ขึ้นรถบัสที่สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ รถบัส กรุงเทพฯ – หาดใหญ่ แจ้งลงที่ บขส. หาดใหญ่ สามารถขึ้นรถสองแถวบริเวณบขส.ได้เลย เป็นรถสองแถวสีฟ้าป้ายเขียนว่าสนามบินหาดใหญ่ ราคาประมาณ20-30 บาท
  • เครื่องบินจากกรุงเทพ ลงสนามบินนานาชาติหาดใหญ่

 เงื่อนไขการร่วมโครงการ

  1. ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2 สัปดาห์จำนวน 2,500 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่ากิจกรรมต่างๆ ของสมาคม
  2. ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
  4. ผู้เข้าร่วมต้องร่วมกิจกรรมได้เต็มเวลา 2 สัปดาห์

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย

  1. ถุงนอน หรือผ้าห่ม แผ่นโยคะ สำหรับนอน มุ้งสำหรับนอนคนเดียว (กรณีแพ้ยุง)
  2. เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2 สัปดาห์ (ผู้หญิงเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นไม่อนุญาตใส่ระหว่างค่าย)
  3. เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
  4. อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
  5. ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน
  6. รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)
  7. สเปรย์กันยุ่ง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)
  8. ไฟฉาย (เลือกแบบที่สว่างมาก ๆ และควรเป็นแบบชาร์จแบตเตอรี่ )
  9. ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
  10. ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส
  11. เมล็ดพันธ์ผัก (ถ้ามี)
  12. ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )

สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย

  1. สารเสพติด
  2. แอลกอฮอล์
  3. อคติ หรือความคิดด้านลบ

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)

15/2 หมู่3 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

เว็ปไซต์ : www.dalaa-thailand.com    Email: dalaa.thailand@gmail.com    Tel. 074 -242-300

 เงื่อนไขการร่วมโครงการ

  1. ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2 สัปดาห์จำนวน 2,500 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่ากิจกรรมต่างๆ ของสมาคม
  2. ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
  4. ผู้เข้าร่วมต้องร่วมกิจกรรมได้เต็มเวลา 2 สัปดาห์

    สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

    สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)

    15/2 หมู่3 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

    เว็ปไซต์ : www.dalaa-thailand.com    Email: dalaa.thailand@gmail.com    Tel. 074 -242-300

ค่าใช้จ่าย : 2500