ค่ายอาสาบ้านห้วยน้ำนัก

บ้านห้วยน้ำนัก หมู่4 ต.พบพระ อ.พบพระ จ.ตาก

วันที่ 16 -25 กันยายน 2560

เกี่ยวกับโครงการ

ค่ายอาสาค่ายนี้ พิเศษตรงที่ทางสมาคมได้รับการติดต่อจากเครือข่ายประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งอยากจะมาหาประสบการณ์งานด้านอาสาในประเทศไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำเกษตร เรียนรู้ชุมชน  และทำกิจกรรมกับเด็ก

            และเป็นการทำงานร่วมกันครั้งแรก ของดาหลา และ ทีมบ้านห้วยน้ำนัก เริ่มต้นจากทางดาหลาได้รู้จัก พี่ต๊อก (ผู้ดูแลโครงการ) พี่ต๊อกได้มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมอาสากับทางดาหลา หลายครั้ง และมีความตั้งใจที่จะเริ่มกิจกรรมใหม่ ๆ ในพื้นที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่ โดย เน้นการทำเกษตร และกิจกรรมกับเด็ก เป็นการนำร่องโครงการ

กิจกรรม

  1. ปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. สร้างโรงเพาะชำ
  3. กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กับเด็กๆปากากะญอ
  4. เรียนรู้วิถีชีวิตชาวปากากะญอ

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ให้กับชุมชน
  2. เปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่ได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง
  3. เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมกลุ่ม
  4. เพื่อขยายเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน

สภาพทั่วไป

บ้านห้วยน้ำนักตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลพบพระอำเภอพบพระ จังหวัดตากทิศเหนือจรดกับบ้านช่องแคบ หมู่ 8 ตำบลช่องแคบอำเภอพบพระ ทิศใต้จรดกับบ้านหมื่นฤาชัยหมู่ 5 ตำบลพบพระอำเภอพบพระ ทิศตะวันออกจรดกับบ้านพบพระเหนือหมู่ 9 ตำบลพบพระ อำเภอพบพระทิศตะวันออกจรดกับสหภาพเมียนม่าร์ ซึ่งการเข้าพื้นที่มีวิธีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างดี

บ้านห้วยน้ำนัก เป็นหมู่บ้านของคนปากากะญอ มีพื้นที่ติดกับชายแดนพม่ามีเพียงแม่น้ำเมยที่กั้นอยู่ ระหว่างประเทศแต่ผู้คนก็ไปมาหาสู่ระหว่างกัน มีพื้นที่สวยใหญ่เป็นภูเขา วิถีชีวิตชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว เป็นต้น คนในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผี ธรรมชาติ ศาสนาคริสต์ และยังคงดำรงวิถีแบบธรรมชาติคือยังหาของกินในป่าตามฤดูกาลเช่นเห็ด หน่อไม้ ผัก

ประเทศไทยคือประเทศพหุวัฒนธรรม  ประกอบไปด้วยผู้คนที่มีความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและทางชาติพันธุ์  โดยที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทยจะมีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันอย่างผสมผสานและกลมกลืน  ภาคเหนือมีกลุ่มชาติพันธุ์ได้แก่ ปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง)  ม้งเมี่ยน  ไทลื้อ  ไทเขิน  ไทใหญ่  ลัวะดารอั่งลีซู  และกลุ่มอื่นๆ  ภาคอีสานกลุ่มชาติพันธุ์ที่พบ ได้แก่ ชาวภูไท ชาวข่า(พรุ) ชาวไทกะโซ่ ชาวไทแสก ไทย้อ  ไททรงดำ และกลุ่มอื่นๆ ภาคกลางจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ได้แก่ ชาวอูรักละโว้ย  ชาวมลายู/ยาวี มอแกล แต่ละกลุ่มจะมีภูมิปัญญาประเพณีวัฒนธรรม อัตลักษณ์เป็นของตนเอง

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” แปลว่า “คน” มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า มีหลักฐานการอยู่มานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือปกาเกอะญอเป็นกลุ่มประชากรที่มีมากที่สุด โป หรือ โพล่อยู่ในเขตแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลียเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาได้หนีภัยจากการรุกรานจากกองทัพจีน มาอยู่ทิเบต ถอยร่นลงมาทางใต้เรื่อยๆ ตั้งแต่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำซีเกียง ลุ่มน้ำสาระวิน มาถึงคอคอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนที่อพยพเข้ามาในตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (มูลนิธิโครงการหลวง.  2555:ออนไลน์ ชาวปกาเกอะญอ มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองโดยดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่าผสมอักษรโรมัน  เดิมชาวปกาเกอะญอนับถือผี มีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด ภายหลังหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ยังมีความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญหรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่นเจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชนให้อุดหนุนค้ำจุน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆเจริญก้าวหน้า (เที่ยวทั่วไทยใส่ใจดูแล.  2555:ออนไลน์ )

ที่พัก   

1.มีบ้านพักในหมู่บ้าน

2.สามารถพักในสวนได้บางส่วน

จุดนัดพบ

วันที่ 16 กันยายน 2560 ณ สนามบินแม่สอด หรือ สถานีรสบัส แม่สอด จังหวัดตาก

ภาษาที่ใช้
อังกฤษ ไทย  ญี่ปุ่น

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการนี้

–   สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในชนบทได้

–    ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

–    มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

–    ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

เงื่อนไขการร่วมโครงการ

  1. ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2,650 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก  ค่ากิจกรรม ค่าเสื้อที่ระลึก และค่าบำรุง ของสมาคม
  2. ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
  4. ผู้เข้าร่วมต้องเคารพกฎ และกติกาของค่าย รวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ความร่วมมือกับผู้ประสานงาน

  1. ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0ByQQ4JcERbn-QVNYQnhwUFd2aFE/view?usp=sharing
  2. ส่งใบสมัครมายัง email: Dalaa.thailand@gmail.com
  3.  รออีเมล์ตอบรับแจ้งขั้นตอนต่อไป 

ค่าใช้จ่าย : 2,650