ประวัติองค์กร
“กลุ่มดาหลา” ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 โดยเพื่อนผู้รักงานอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้นครั้งแรกในปี 2548 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อว่า “สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)” เมือวันที่ 16 มิถุนายน 2551 สำนักงานตั้งอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ถึงวันนี้กลุ่มดาหลาได้ดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันมาเกือบ 10 ปี เสมือนเด็กน้อย ที่เริ่มด้วยวัยแห่งการเรียนรู้ รอวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ของความปรารถนาดีต่อสังคมร่วมกัน นอกเหนือจากการจดทะเบียนเป็นสมาคมในประเทศไทย ในเครือข่ายระหว่างประเทศนั้น กลุ่มดาหลาก็ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ CCIVS หรือ (คณะกรรมการประสานงานเพื่ออาสาสมัครนานาชาติ) ซึ่งมีกลุ่มองค์กรเครือข่ายงานเกี่ยวกับอาสาสมัครทั่วโลก และกลุ่มองค์กรเครือข่ายในเอเชีย NVDA หรือ (เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาเอเชีย) ซึ่งทั้งสองเครือข่ายนี้ เสมือนตัวกลางในการประสานงานเพื่อการจัดส่งหรือแลกเปลี่ยนอาสาสมัครนานาชาติ เข้าร่วมโครงการที่ทางกลุ่มดาหลาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น
เป้าหมาย
เป้าหมายหลักของเรา คือ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว เราได้แยกย่อยเป็น 3 แนวทางคือ
1) ส่งเสริม หรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆเช่น การสร้างศาลา หรือศูนย์เรียนรู้ในท้องถิ่น การทำกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน
2) เสริมสร้างมิตรภาพ กิจกรรมต่างๆ ของทางสมาคมจะนำกลุ่มอาสาสมัครไทยและต่างชาติและคนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน
3) สงวน และดูแลรักษา สงวน และดูแลสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย จากรุ่นสู่รุ่น
เกี่ยวกับโครงการ
ค่ายอาสาค่ายนี้ พิเศษตรงที่ทางสมาคมได้รับการติดต่อจากเครือข่ายประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งอยากจะมาหาประสบการณ์งานด้านอาสาในประเทศไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำนา ประมง เกษตร และกิจกรรมกับเด็ก โดย เป้าหมายในระยะยาวของโครงการเกาะสุกร เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่เรียนรู้ทักษะชีวิตของชุมชนตนเอง วิถีชีวิตดั้งเดิม ทักษะด้านภาษาอังกฤษ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการเปิดโอกาสเรียนรู้โลกในยุคแห่งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ผ่านการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครนานาชาติ อาสาสมัครไทย ซึ่งจะทำชาวบ้านในพื้นที่ ได้เปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ได้กว้างขึ้น เพราะเราเชื่อว่า การศึกษา คือการเปิดโลกกว้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การหันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาที่มีอยู่คู่ชุมชนและวิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและการใฝ่รู้ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ได้พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกัน ท่ามกลางความหลากหลายและความเข้าใจกัน ได้อย่างลงตัว โดยการสร้างกระบวนการกิจกรรมกับเด็กและศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน
กิจกรรม
– สร้างฝายแม้วในชุมชน
– กิจกรรมกับเด็กประถม
– กิจกรรมเรียนรู้ ป่า น้ำ ดิน (เดินป่า สำรวจป่าต้นน้ำ)
– กิจกรรมเรียนรู้วิถีชีวิตและบริบทชุมชน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
– เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
– เพื่อแลกเรียนรู้แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม
– ปลุกจิตสำนึกการหวงแหน ทรัพยากร ดูแล รักษา ไม่ให้สูญหา
– เพื่อปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน มีจิตอาสา
สภาพทั่วไป
บ้านตะเหมก เป็นชุมชนพุทธ มีครัวเรือนทังหมดประมาณ 500 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพสวนยางพารา และปลุกผัก ผลไม้ ไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นคนพื้นที่ดังเดิม
บ้านตะเหมก เป็นชุมชนเก่าแก่ มากว่า 200 ปี ตั้งอยู่ที่ ม.9 ต.ละมอ อ.นาโยง จ ตรัง 92170 ภาคใต้ของประเทศไทย สภาพหมู่บ้านเป็นเนินเขา สูงชัน มีป่าต้นน้ำ ชาวบ้านจะปลุกบ้านตามแนวคลอง บ้านจะอยู่ห่างๆ กัน ตามที่ดินของตัวเอง
ในชุมชนมีการรวมตัวทำกกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และยังรวมตัวต่อสู้เรื่องที่ดินทำกินเนื่องจากพื้นที่ดั้งกล่าว ทางรัฐได้ประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งรวมถึงที่ดินทำกินของชุมชนด้วย (ปัจจุบัน) ชาวบ้านอาศัยอยู่ แต่ไม่สามารถตัดต้นไม้ หรือ ปลูกยางพาราเพิ่มเติมได้ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว
ในชุมชน มีโรงเรียน ที่ใกล้ที่สุดคือ โรงเรียนบ้านคลองลำปริง 4 กิโลเมตรจากหมู่บ้าน ระดับ ประถม มีนักเรียน 140 คน ครู 9 คน
มีสถานีอนามัย ใกล้ ๆ โรงเรียน
วัดที่ใกล้ที่สุดคือ วัดมงคลสถาน (วัดละมอ) 12 กม จากหมู่บ้าน
ที่พัก ที่พักที่ศูนย์ (ที่ทางชุมชนสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ของเยาวชน) เป็นศาลายกพื้น ใหญ่ ๆ โล่ง สามารถ นอน ปลูกเปล กางมุ้ง ได้ ประมาณ 20 คน รวมถึง สามารถ พักตามบ้านชาวบ้าน ได้ด้วยห้องน้ำ มี 3 ห้อง (อยุ้ในบริเวณศูนย์) มีไฟฟ้า และน้ำ ใช้ (ประปาจากเขา)
ห้องครัว สามารถ ทำอาหาร บริเวณที่พักได้ (ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำด้วย)
ซักผ้า ซักผ้ากับมือ กรุณานำผงซักฟอกมาเอง
ห้องน้ำ มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร 2 ห้อง สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน
วันหยุดระหว่างค่าย อาจจะมีวันหยุด ระหว่างค่าย 1-2 วัน ซึ่งอาจะได้ไปเยี่ยมชม สถานที่ ท่องเทียว บริเวณไม่ไกลภายใน จังหวัดตรัง ผู้เข้าร่วมอาจจะต้อง แชร์ ค่าเดินทางกันเอง
จุดนัดพบ
วันที่ 4 กันยายน 2559 สถานีรถไฟตรัง เวลา 10.00 น.
และ สนามบินตรัง เวลา 10.00 – 11.00 น. (อาจจะต้องรอไปรับคนที่มาจากรถไฟก่อน)
การเดินทางจากกรุงเทพ มายังจุดนัดพบ
ทางเครื่องบิน นั่งเครื่องจากดอนเมือง มาลงสนามบิน ตรัง
ทางรถบัส นั่งรถบัส จากสายใต้ กรุงเทพ ตรัง (หลังจากนั้นต่อ มอไซด์หรือตุ๊กตุ๊ก มายังจุดนัดพบค่ะ)
ทางรถไฟ นั่งรถจากหัวลำโพง มาลงสถานี ตรัง (มาเที่ยว ที่ถึงเช้า ๆ นะคะ รถไฟ มาช้าทุกขบวนค่ะ)
คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการนี้
– สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้
– ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
– มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
– ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์
จำนวนอาสาสมัครที่เปิดรับสมัคร
อาสาสมัครไทย 10 คน
การติดต่อสื่อสาร
สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกเครือข่าย
ภาษาที่ใช้
อังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น
เงื่อนไขการร่วมโครงการ
- ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2,500 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่ากิจกรรมและค่าบำรุง ของสมาคม
- ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
- ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย **กระเป๋าควรเป็นแบบเป้สะพายค่ะ
- ถุงนอน หรือผ้าห่ม มุ้ง
- เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2 สัปดาห์ (ผู้หญิงเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นเลยเข่าไม่ควรสวมใสระหว่างค่าย)
- เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
- อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
- ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน หรือเดินป่า
- รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)
- สเปรย์กันยุ่ง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)
- ไฟฉาย (เลือกแบบที่สว่างมาก ๆ ควรเป็นแบบใช้ถ่าน และควรเตรียมถ่านให้เพียงพอสำหรับการใช้งาน 14 วัน )
- ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
- ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส
- เมล็ดพันธ์ผัก (ถ้ามี)
- ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )
สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย
- สารเสพติด
- แอลกอฮอล์
- อคติ หรือความคิดด้านลบ
1. ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.dalaa-thailand.com/wordpress/projects/short-term-thai (คลิก มุมล่างซ้ายมือ)
2. ส่งใบสมัครมายัง www.dalaa.thailand@gmail.com
3. รอการตอบรับจากเจ้าหน้าที่
4. ชำระค่าเข้าร่วม
ค่าใช้จ่าย : 2500