การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพด้านบริหารจัดการอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Volunteer Management for Sustainable Development Training

วันที่ 22-24 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเอเชีย (ราชเทวี) กรุงเทพฯ

เครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network) มีบทบาทในฐานะองค์กรกลางในการส่งเสริมงานอาสาสมัครของประเทศไทยนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 และมีเป้าหมายการสร้างระบบบริหารจัดการอาสาสมัครเพื่อเป็นกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรรับอาสาสมัครในภาคส่วนต่างๆ อันมุ่งไปสู่การแก้ไขและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน  รวมทั้งการขับเคลื่อนการพัฒนากลไกกลางระดับประเทศ “ศูนย์ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ”เพื่อทำหน้าที่ประสานงานสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ส่งเสริมการเป็นอาสาสมัครทั่วประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคม  นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้างความรู้และความเข้าใจต่อสังคมเกี่ยวกับงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาประเทศ ผ่านช่องทางการสื่อสารและกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้ ตัวอย่าง และคุณค่าของงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจแก่ประชาชนให้ตระหนักในความสำคัญของงานอาสาสมัครและออกมาเป็นอาสาสมัครหรือมีส่วนร่วมต่อการส่งเสริมการเป็นอาสาสมัครในประเทศไทย

การฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการอาสาสมัคร (Volunteer Management) เป็นการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานอาสาสมัครและการจัดการอาสาสมัครแก่ องค์กรราชการ องค์กรธุรกิจ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรภาคการศึกษา ที่มีความต้องการพัฒนาระบบอาสาสมัครทั้งเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากคนในองค์กรและการมีส่วนร่วมจากคนภายนอกองค์กร หลักสูตรดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมมีวิสัยทัศน์ใหม่เกี่ยวกับการทำงานอาสาสมัคร มีความรู้และทักษะของการสร้างงานอาสาสมัครที่มีคุณค่าความหมาย (Meaningful volunteering) และสามารถออกแบบระบบบริหารจัดการอาสาสมัคร (Volunteer management) บนพื้นฐานความต้องการขององค์กรตนเองได้

การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) จะบรรลุผลสำเร็จไม่ได้หากประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง การเป็นอาสาสมัครเป็นวิธีการอันทรงพลังที่จะนำผู้คนจำนวนมากเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว กระบวนการอาสาสมัครช่วยขยายขอบเขตให้ผู้คนร่วมกันกำหนดอนาคตที่ต้องการและมีส่วนร่วมในการวางแผนและการปฏิบัติงานทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยประชาชนจะได้พัฒนาความสามารถในการปรับตัว พัฒนาความรู้ของตนเอง และเกิดความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเอง กระบวนการอาสาสมัครจะเป็นกลไลเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมโดยคลอบคลุมประเด็นการพัฒนาที่หลากหลาย และสร้างความเข้มแข็งและความเป็นเจ้าของจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับชาติ การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยอาศัยปฏิบัติการเชิงสถาบันเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำประโยชน์แก่บุคคลอื่นๆและโลกได้ง่ายขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรจากองค์กรต่างๆ ให้สามารถออกแบบงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Designing Volunteer Opportunity for Sustainable Development)
  2. เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการบริหารจัดการอาสาสมัคร (Volunteer Management) ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานขององค์กรรูปแบบต่างๆ
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายนักจัดการอาสาสมัคร (Volunteer Manager) ที่มีทักษะและความรู้และมีศักยภาพในการทำงานร่วมกันได้ในอนาคต
  4. เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายองค์กรที่ส่งเสริมการทำงานอาสาสมัครของประเทศไทย

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมอบรม

  • บุคลากร ของหน่วยงานภาคราชการที่มีบทบาทภารกิจส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน, ส่งเสริมการทำงานอาสาสมัคร เพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชนท้องถิ่น
  • บุคลากร ของหน่วยงานภาคธุรกิจ ที่มีบทบาทภารกิจส่งเสริมการทำงานอาสาสมัครพนักงานองค์กร, สนับสนุนการทำกิจกรรมเพื่อสังคม และส่งเสริมบทบาทความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคสังคม
  • บุคลากร ของหน่วยงานภาคสังคม ที่มีบทบาทภาคกิจของการบริหารจัดการอาสาสมัคร, การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการทำงานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน และมีความสนใจในการใช้กระบวนการอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนานักศึกษาด้านการเรียนรู้และการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ, การจัดการเรียนการสอนด้วยแนวทาง Service Learning / Civic Education/Active Learning /Socially-Engaged Academics หรือผู้ที่มีความสนใจงานวิชาการเพื่อสังคมผ่านการทำงานอาสาสมัคร

วิทยากรดำเนินกระบวนการ

       ทีมวิทยากรจากเครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network)

วัน เวลา สถานที่

วันที่ 22-24 เมษายน  (3 วัน)   เวลา 09.00-16.30 น.  ณ โรงแรมเอเชีย (ราชเทวี) กรุงเทพฯ

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 3,000 บาท (รวมอาหารกลางวัน/อาหารว่างตลอดการฝึกอบรม ไม่รวมที่พักและค่าเดินทาง)

การรับสมัคร

  1. รับจำนวน 35 ท่าน ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากใบสมัคร
  2. ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าลงทะเบียน หากผู้สมัครต้องยกเลิกการเข้าร่วมฝึกอบรม แต่สามารถส่งผู้แทนได้
  3. ปิดรับสมัคร วันที่ 18 เมษายน 2562

กระบวนการรับสมัคร

  1. เข้าเว็บไซต์ www.volunteerspirit.org และทำการสมัครตามช่องทางที่ระบุไว้ในเว็บไซต์
  2. รอการตรวจสอบใบสมัครจากเจ้าหน้าที่
  3. เมื่อท่านได้รับการยืนยันการตรวจสอบใบสมัครจากเจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้ว กรุณาชำระค่าลงทะเบียนจำนวน 3,000 บาท/ท่าน และส่งหลักฐานการขำระเงินตามที่เจ้าหน้าที่ระบุรายละเอียดไว้
  4. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนของท่านเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันสถานะการลงทะเบียน “สมบูรณ์” กลับไปยังอีเมล์ของท่าน

 

กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน

กำหนดการ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

คุณปรวรรณ ทรงบัณฑิตย  โทรศัพท์ 084-609-4509 อีเมล์ porrawan@volunteerspirit.org
(ติดต่อในเวลาทำการ 10.00 – 17.00 น.)