ประวัติองค์กร “กลุ่มดาหลา” ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 โดยเพื่อนผู้รักงานอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้นครั้งแรกในปี 2548 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อว่า “สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 สำนักงานตั้งอยู่ที่ 15/2 หมู่ที่ 3 ต.โคกม่วง อำเภอคอลงหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ถึงวันนี้กลุ่มดาหลาได้ดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันเข้าสู่ปีที่ 12 เสมือนเด็กน้อย ที่เริ่มด้วยวัยแห่งการเรียนรู้ รอวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ของความปรารถนาดีต่อสังคมร่วมกัน นอกเหนือจากการจดทะเบียนเป็นสมาคมในประเทศไทย ในเครือข่ายระหว่างประเทศนั้น กลุ่มดาหลาก็ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ CCIVS หรือ (คณะกรรมการประสานงานเพื่ออาสาสมัครนานาชาติ) ซึ่งมีกลุ่มองค์กรเครือข่ายงานเกี่ยวกับอาสาสมัครทั่วโลก และกลุ่มองค์กรเครือข่ายในเอเชีย NVDA หรือ (เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาเอเชีย) ซึ่งทั้งสองเครือข่ายนี้ เสมือนตัวกลางในการประสานงานเพื่อการจัดส่งหรือแลกเปลี่ยนอาสาสมัครนานาชาติเข้าร่วมโครงการที่ทางกลุ่มดาหลาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น เป้าหมาย          เป้าหมายหลักของเรา คือ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว เราได้แยกย่อยเป็น 3 แนวทางคือ

  1. ส่งเสริม หรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆเช่น การสร้างศาลา หรือศูนย์เรียนรู้ในท้องถิ่น การทำกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน
  2. เสริมสร้างมิตรภาพ กิจกรรมต่างๆ ของทางสมาคมจะนำกลุ่มอาสาสมัครไทยและต่างชาติและคนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน
  3. สงวนและดูแลรักษา สงวน และดูแลสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย จากรุ่นสู่รุ่น

ประวัติโครงการ เกาะยาว มีฐานะเป็นอำเภอ มีพื้นที่เป็นเกาะ 2 เกาะ  แบ่งการปกครองออกเป็น  3  ตำบล  คือ ตำบลเกาะยาวน้อย  ตำบลเกาะยาวใหญ่  และตำบลพรุใน  ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  ประกอบอาชีพทำสวน  ทำประมงและค้าขาย  ศูนย์ราชการ /หน่วยงานราชการหลักๆ  ตั้งอยู่ในตำบลเกาะยาวน้อย เช่นที่ว่าการอำเภอ  สถานีตำรวจ  โรงพยาบาล และส่วนราชการอื่น ๆ  มีธนาคาร 2 แห่ง  คือ ธนาคารออมสิน และธนาคาร ธกส. โรงเรียนเกาะยาว เป็นเรียนที่ตั้งอยู่ในตำบลเกาะยาวน้อย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2464 ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวน้อย  อำเภอเกาะยาว  จังหวัดพังงา และอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเกาะยาว มีเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน รวมทั้งสิ้น 233 คน   มีครูจำนวน  10  คน   ระดับความรู้ความสามารถทางด้านทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ  จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งในด้านการฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน โรงเรียนเกาะยาว  ตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน หน้าสถานีตำรวจ  การเดินทางมีความสะดวก ในด้านการสื่อสาร สัญญาณโทรศัพท์ ในทุกระบบมีประสิทธิภาพ มีตู้ เอ.ที่.เอ็ม. ทั้งของธนาคารออมสิน  ธนาคาร ธกส.  และธนาคารกรุงศรีอยุธยา  มีโรงพยาบาลสามารถให้บริการเมื่อยามเจ็บป่วย   กิจกรรมที่จะทำ

  1. จัดกิจกรรมสำหรับเด็ก ในโรงเรียน วันละ 3 -4 ชั่วโมง (เกมส์ คำศัพท์ ทักษะ เพลง) แล้วแต่ระดับภาษาของเด็กในแต่ละช่วงชั้น  
  2. ออกแบบ ตกแต่ง ห้องเรียน สื่อการเรียนต่างๆ
  3. ปรับปรุงทัศนียภาพภายในโรงเรียน

**กิจกรรมที่แน่นอนจะส่งให้ก่อนค่ายเริ่มประมาณ 1 สัปดาห์ค่ะ   บริบทชุมชน    บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากจังหวัดตรังตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และที่อพยพ มาจากสตูล จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2328) ขณะที่พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้ พ.ศ. 2446 ทางราชการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว แยกออกมาจากมาจากเมืองพังงา และขึ้นต่อเมืองพังงา ได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ต่อมาได้ย้ายมาในที่ว่าการปัจจุบันในปี พ.ศ. 2508 ต่อมาข้าราชการและประชาชนต้องการให้ยกกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็นอำเภอเกาะยาว ตลอดจนจังหวัดพังงาได้สนับสนุนให้ทางราชการยกฐานะให้ รวมได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย จนในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็น อำเภอเกาะยาว ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 85 ปี นับว่าเป็นกิ่งอำเภอที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย เกาะยาว มีพื้นที่ประมาณ 137.6 ตร.กม. ประกอบด้วย 2 เกาะ คือ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ อีกทั้งยังถูกล้อมรอบด้วยเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย  มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ และอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดกระบี่ ทิศใต้  ติดต่อกับทะเลอันดามัน มหาสมทรอินดีย ทิศตะวันตก ทะเลอันดามันและจังหวัดภูเก็ต การปกครองส่วนภูมิภาค อำเภอเกาะยาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  3 ตำบล 18 หมู่บ้าน

  • เกาะยาวน้อย เป็นที่ตั้งของตำบลเกาะยาวน้อย 7  หมู่บ้าน
  • เกาะยาวใหญ่ เป็นที่ตั้งของตำบลเกาะยาวใหญ่และตำบลพรุใน
  • ตำบลเกาะยาวใหญ่ 4  หมู่บ้าน
  • ตำบลพรุใน 7  หมู่บ้าน

สถานศึกษา  จำนวน  15  แห่ง

  • โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาพังงา 13 โรงเรียน

ตำบลเกาะยาวน้อย  4  โรงเรียน

  1. โรงเรียนเกาะยาว
  2. โรงเรียนบ้านท่าเขา
  3. โรงเรียนบ้านน้ำจืด
  4. โรงเรียนบ้านริมทะเล

ตำบลเกาะยาวใหญ่  4  โรงเรียน

  1. โรงเรียนบ้านช่องหลาด (โรงเรียนขยายโอกาส อนุบาล-ม.3)
  2. โรงเรียนบ้านคลองเหีย
  3. โรงเรียนบ้านย่าหมี
  4. โรงเรียนบ้านคลองบอน

ตำบลพรุใน

  1. โรงเรียนอ่าวมะม่วง
  2. โรงเรียนบ้านท่าเรือ
  3. โรงเรียนบ้านพรุใน (โรงเรียนขยายโอกาส อนุบาล-ม.3)
  4. โรงเรียนอ่าวกะพ้อ (โรงเรียนขยายโอกาส อนุบาล-ม.6)
  5. โรงเรียนบ้านคลองดินเหนียว
  • โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ตั้งอยู่ตำบลเกาะยาวน้อย  จำนวน 1  โรงเรียน
  • โรงเรียนเอกชน โรงเรียนศรัทธาธรรม ตั้งอยู่ตำบลเกาะยาวน้อย  1  โรงเรียน

การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่อำเภอเกาะยาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  4 แห่ง ได้แก่ 1)  เทศบาลตำบลเกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย 2)  เทศบาลตำบลพรุใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรุในทั้งตำบล 3)  เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ทั้งตำบล

  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเกาะยาว)

ประชากร    14,000  คน การประกอบอาชีพ  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงและเกษตรกรรม ศาสนา    การนับถือศาสนาส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมร้อยละ 99.9 ชาวไทยพุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 0.1   อาหาร ** งดเนื้อหมู เนื่องจากเป็นชุมชนอิสลาม** อาสาสมัครอยู่ร่วมกันแบ่งเวรทำความสะอาดและปรุงอาหารเอง  ในบางมื้ออาจมีครูหรือตัวแทนชาวบ้านมาช่วย (ในบางมื้ออาจจะไปร่วมรับประทานกับชาวบ้านตามครัวเรือน โดยแบ่งกันครัวเรือนละ 2-3 คน เพื่อได้สัมผัสสนิทสนมกับชาวบ้าน ผู้ปกครองนักเรียน) คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม   –          สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้ –          ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ –          มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ –          ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์  เงื่อนไขการร่วมโครงการ

  1. ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2 สัปดาห์จำนวน 3,500 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่าเดินเรือ ค่าเสื้อที่ระลึก และค่ากิจกรรมต่างๆ ของสมาคม
  2. ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
  4. ผู้เข้าร่วมต้องร่วมกิจกรรมได้เต็มเวลา 2 สัปดาห์
  5. ผู้เข้าร่วมต้องเคารพ กฎ ข้อตกลงของตัวโครงการ และให้ ความร่วมมือกับผู้ประสางาน

ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย (เด็ดขาด)

  1. สารเสพติด
  2. แอลกอฮอล์
  3. อคติ หรือความคิดด้านลบ
  4. เรื่องชู้สาว ที่เกินความเหมาะสม

  1. อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1ULS-mQNjUkI35KMHKWgqRxUP8bnv1Qba
  2.  ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1Td0jMry9NJpVTIZHMu_q7H5GecB3wSRy
  3. ส่งใบสมัครมายัง www.dalaa.thailand@gmail.com
  4. รอการตอบรับจากเจ้าหน้าที่
  5. ชำระค่าเข้าร่วม

ค่าใช้จ่าย : 3,500 บาท