จุดเริ่มต้นของอาสา (ไม่) สมัคร(เล่น) นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่เย็นวันหนึ่งข้าพเจ้าเลิกงานตามปกติ และได้ไปออกกาลังกายที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่งย่านใจกลางกรุงเทพฯ และข้าพเจ้าจะไปวิ่งที่สวนสาธารณะแห่งนี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยจะมีสมาชิกเป็นน้องๆในออฟฟิศ ไปกันเป็นแก๊งค์ วิ่งบ้าง เต้นแอโรบิคบ้าง ซึ่งเย็นวันนั้นข้าพเจ้าได้พบกับ…ชายกลุ่มหนึ่ง มองจากภายนอกเป็นชายหนุ่ม รูปร่างกายำ ใส่แว่นตาดำ มีไม้เท้า พร้อมกับถือป้ายที่เขียนข้อความว่า “เรามองไม่เห็น วิ่งด้วยกันมั้ย?” ในตอนนั้นข้าพเจ้าได้แต่นึกในใจเพียงว่า…จะใช่รายการโทรทัศน์ หรือเป็นการแสดงเปล่านะ?
ในเมื่อความสงสัยของข้าพเจ้านั้นมากพอ…ทำให้เข้าไปสอบถามที่ชายกลุ่มนั้นว่าต้องการให้ช่วยอะไรหรือไม่ค่ะ? ข้าพเจ้าได้รับคำตอบในทันที…ครับ พวกผมเป็นผู้พิการทางสายตาและอยากจะออกกำลังกาย คุณสนใจจะเป็นคนนาวิ่งให้พวกผมได้ไหมครับ… ข้าพเจ้าตอบตกลงโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดเลย….ค่ะ โดยจะมีการสอบถามถึงความต้องการของผู้พิการทางสายตาและผู้นำวิ่ง กันก่อนว่าจะวิ่งแบบไหน ระยะสั้น 1-2 รอบ หรือวิ่งมากกว่านั้น หลังจากที่ตกลงกันได้แล้ว ข้าพเจ้าก็ได้มีโอกาสนำวิ่งให้กับผู้พิการทางสายตาเป็นครั้งแรกในชีวิต…
ข้าพเจ้าได้รับฟังเรื่องราว…ของผู้พิการทางสายตาท่านหนึ่งขณะที่เราได้วิ่งไปพร้อมกัน…หลังจากวันนั้นข้าพเจ้าได้แง่คิดหลายอย่าง ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย และการมีจิตใจที่เข้มแข็งนั้นยากยิ่งกว่า… ขอขอบคุณชายผู้พิการทางสายตาท่านนั้นค่ะ ที่ได้มอบความรู้ในเรื่องของการใช้ชีวิตของเขา ทาให้ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจในการทาประโยชน์ให้กับคนอื่นบ้าง แม้เพียงเล็กน้อยแต่ทำให้หัวใจข้าพเจ้านั้นอิ่มเอมและมีความสุข
หลังจากนั้นไม่นานข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม “ยางยืดนำวิ่งคนตาบอด” ชื่อองค์กร: ยางยืดเปลี่ยนชีวิต ในวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2560 (โครงการได้รับคัดเลือกรับรางวัล รัตนบูรพา ปี พ.ศ.2560) นำโดย ดร.เมธี ธรรมวัฒนา สถานที่จัดกิจกรรม โถงกิจกรรม ชั้น 1 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กทม. (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในการทำอุปกรณ์และแนวความคิดที่เป็นประโยชน์จากดร.เมธี รวมถึงการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ จิตอาสา ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่เราต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันนั้นคือ อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือ เด็กและเยาวชน, คนชรา/ ผู้ยากไร้, ผู้พิการ/ ไร้ความสามารถ/ ไร้ที่พึ่ง, ชีวิตและสุขภาพ, ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ/ผู้ติดยาเสพติด
หลังจากที่ได้เข้าร่วมทากิจกรรมจิตอาสาไม่นาน ทางบริษัทฯได้จัดทำโครงการเรียนรู้ระบบงานตามสไตล์ YAZAKI ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยทางบริษัทฯของข้าพเจ้าได้ระบุเงื่อนไขการไปอบรมในครั้งนี้ให้มีการนาเสนอผลงาน “ผลิตภัณฑ์ใหม่” ที่ยังไม่เคยมีวางขายในท้องตลาด ข้าพเจ้าได้นำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาและประสบการณ์ที่ได้นำวิ่งให้กับชายผู้พิการทางสายตาในครั้งนั้น มาเป็นแรงบันดาลใจในการคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา โดยข้าพเจ้าอยากสร้างอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาให้กลับมามองเห็นได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการต่อยอดของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของบริษัท และการใช้เทคโนโลยีใหม่ (Bio Technology) เข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของที่จะทาให้แนวคิดของผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นให้เป็นจริงขึ้นมาได้ในอนาคต…
ในวันที่ 20-24 สิงหาคม พ.ศ.2560 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อเรียนรู้ระบบงานต่างๆ พร้อมกับการนำเสนอผลงานที่ได้คิดและออกแบบไว้ให้กับผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา ผู้จัดการฝ่ายผลิต รวมถึงทีมงานที่บริษัทฯได้รับฟัง พร้อมกับตอบคำถามข้อสงสัย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้นำเสนอไปแล้ว ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมจิตอาสา ช่วยให้ข้าพเจ้าได้สร้างประโยชน์ให้ผู้อื่น ได้รู้ว่าตนเองนั้นมีคุณค่าและสามารถทำได้ทุกอย่าง…ซึ่งเป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนนั้นกลับมีค่ามากกว่าการเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว
#อาสาไม่สมัครเล่น
#อาสาสมัครเพื่อการพัฒนา
#VolunteerforSDGS