ประวัติองค์กร
“กลุ่มดาหลา” ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 โดยเพื่อนผู้รักงานอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้นครั้งแรกในปี 2548 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อว่า “สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)” เมือวันที่ 16 มิถุนายน 2551 สำนักงานตั้งอยู่ที่ 15/2 ม.3 ต. โคกม่วง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ถึงวันนี้กลุ่มดาหลาได้ดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันมาเกือบ 13 ปี เสมือนเด็กน้อย ที่เริ่มด้วยวัยแห่งการเรียนรู้ รอวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ของความปรารถนาดีต่อสังคมร่วมกัน นอกเหนือจากการจดทะเบียนเป็นสมาคมในประเทศไทย ในเครือข่ายระหว่างประเทศนั้น กลุ่มดาหลาก็ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ CCIVS หรือ (คณะกรรมการประสานงานเพื่ออาสาสมัครนานาชาติ) ซึ่งมีกลุ่มองค์กรเครือข่ายงานเกี่ยวกับอาสาสมัครทั่วโลก และกลุ่มองค์กรเครือข่ายในเอเชีย NVDA หรือ (เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาเอเชีย) ซึ่งทั้งสองเครือข่ายนี้ เสมือนตัวกลางในการประสานงานเพื่อการจัดส่งหรือแลกเปลี่ยนอาสาสมัครนานาชาติ เข้าร่วมโครงการที่ทางกลุ่มดาหลาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น
เป้าหมาย
เป้าหมายหลักของเรา คือ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว เราได้แยกย่อยเป็น 3 แนวทางคือ
1) ส่งเสริม หรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆเช่น การสร้างศาลา หรือศูนย์เรียนรู้ในท้องถิ่น การทำกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน
2) เสริมสร้างมิตรภาพ กิจกรรมต่างๆ ของทางสมาคมจะนำกลุ่มอาสาสมัครไทยและต่างชาติและคนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน
3) สงวน และดูแลรักษา สงวน และดูแลสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย จากรุ่นสู่รุ่น
เกี่ยวกับโครงการ
ค่ายอาสาค่ายนี้ ทางสมาคมได้รับการติดต่อจากเครือข่ายประเทศโอมาน เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งอยากจะมาหาประสบการณ์งานด้านอาสาในประเทศไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ดุหยง และกิจกรรมกับเด็กนอกจากอาสาสมัครจากประเทศโอมาน ทางสมาคมยังเปิดรับอาสาจากนานาชาติเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย โดย เป้าหมายร่วมกันดังนี้ คนในชุมชนเกาะลิบงได้รับประโยชน์จากการอาศัยร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
- มีกติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกันอย่างรู้คุณค่า
- อนุรักษ์พื้นที่ให้เป็นแหล่งอาศัยของพะยูนอย่างยั่งยืน
- มีพื้นที่ให้ชุมชน เด็กและเยาวชน ชาวบ้าน ได้ศึกษาระบบนิเวศน์ทางทะเลและชายฝั่ง และจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พะยูน
ด้วยเหตุนี้ นายสุเทพ ขันชัย (บังเทพ) แกนนำชาวบ้าน ที่เป็นทั้งผู้อาวุโสในชุมชน ปราชญ์ชุมชน ที่มีความรู้ด้านการประกอบอาชีพประมง การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ตระหนักถึงคุณค่าและการรักษาไว้ให้คงอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ร่วมพูดคุยกับคนในชุมชน ถึงสาเหตุของการเริ่มเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการที่พะยูนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งเกาะลิบงเริ่มมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์ และเกิดการย้ายถิ่นอาศัย หลังจากที่หน่วยงานต่างๆเข้ามาทำกิจกรรม รวมทั้งการประกอบอาชีพของชาวประมง ที่กระทบกับแหล่งอาศัยของพะยูน เป็นการรบกวนวิถีชีวิตของพะยูนและกระทบกับแหล่งอาหารของพะยูน โดยเฉพาะหญ้าทะเล ขณะเดียวกันการจัดกิจกรรมต่างๆยังรบกวนและพะยูนได้รับบาดเจ็บหรือติดอวนประมง จนกระทั่งพะยูนเริ่มลดจำนวนลง จึงได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์พะยูน ในพื้นที่ตำบลเกาะลิบง เพื่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ จัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พะยูน ที่ไม่กระทบกับวิถีการอยู่อาศัยของพะยูน ร่วมกันสร้างความตระหนักแก่ชาวบ้านถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ความสำคัญของการรวมกลุ่มพิทักษ์พะยูน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยคนในชุมชน ลุกขึ้นมาเป็นผู้จัดการทรัพยากรในชุมชนของตนเอง โดยกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง(พะยูน)
กิจกรรม
- กิจกรรมร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง(พะยูน) เกาะลิบง
- กิจกรรมร่วมกับกลุ่มเกษตรพื้นบ้าน(ตลาดนัดชุมชนเกาะลิบง)
- กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
- กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์จุดชมพะยูน พร้อมทำป้ายรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์แหล่งพะยูน
- ครอบครัวอุปถัมภ์ เรียนรู้วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง(พะยูน) ตำบลเกาะลิบง
- เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ของชุมชน แกเด็ก เยาวชน คนในชุมชน อาสาสมัคร และผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- เพื่อสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ของคนในชุมชน ระหว่าง เด็ก เยาวชน ชาวบ้าน อาสาสมัครไทย และอาสาสมัครนานาชาติ ที่เข้าร่วมโครงการ
สภาพทั่วไป
เกาะลิบง ตั้งอยู่ทีตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกันตัง ประมาณ 23 กิโลเมตร เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลตรัง มีพื้นที่ ๒๕,๐๐๐ ไร่ เกาะลิบงได้ชื่อมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือ ต้นหลาโอน ซึ่งภาษามลายู “เรียกว่าลิบง” ซึ่งแต่เดิมหมู่เกาะนี้มีต้นไม้ชนิดนี้มาก ชาวเกาะลิบงดั้งเดิมเป็นชาวมุสลิมที่อพยพจากประเทศมาเลเซีย
ปัจจุบันเกาะลิบงมีชาวบ้านอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแบ่งเป็นหลายหมู่บ้าน ชาวบ้านยังดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ทำอาชีพประมง สวนยางพารา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
ทรัพยากรธรรมชาติ
เกาะลิบงมีสภาพพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยภูเขา ที่ราบ และฝั่งทะเล ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติของเกาะแห่งนี้จึงมีความหลากหลาย คือ
- ป่าบก ที่มีอยู่อย่างแน่หนาบนภูเขา
- ป่าชายเลน ถัดต่อลงมาจากป่าเขาจะถึงบริเวณพื้นที่ราบ โดยเฉพาะตาม ชายฝั่งคลองที่น้ำทะเลท่วมถึงจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลน
- หญ้าทะเล ริมชายฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเกาะ ซึ่งอยู่ใกล้กับปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียนนั้นเป็นบริเวณที่มีหญ้าทะเลขึ้นงอกงามหนาแน่นมาก
- สัตว์ป่า ภายป่าในภูเขาทางทิศตะวันตกของเกาะ และตามแนวป่าชายเลนแม้กระทั่งตามแนวชายหาดรอบ ๆ เกาะนั้นพบว่ามีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น กวาง ชะมด พญากระรอก ลิง ค่าง และนกอีกหลายชนิด ทั้งที่เป็นนกประจำถิ่น และอพยพมาจากต่างประเทศเช่นทุก ๆ ปี จะพบว่ามีนกหัวโตกินปูได้อพยพมาหากินที่นี่ด้วย สำหรับในทะเลซึ่งอุดมสมบูรณ์สัตว์น้ำหลายชนิดแล้ว ยังมีพะยูนซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธ์ อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ เกาะลิบงด้วยเช่นกัน
แหล่งธรรมชาติอื่นๆ
- เกาะลิบงมีหาดทรายที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งเช่น หาดแหลมจุโหย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง หาดหลังเขา หาดทุ่งหญ้าคา อ่าวโต๊ะเก อ่าวโต๊ะแซะ และหาดแหละโต๊ะชัย เป็นต้น นอกจากหาดทรายแล้วที่เกาะลิบงยังมีสิ่งมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งนั่นคือ บ่อน้ำจืดในทะเล ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำจืดเช่นเดียวกับแอ่งน้ำทั่ว ๆ ไป แต่ที่เกาะลิบงนั้นเวลามีน้ำทะเลขึ้นสูงน้ำในบ่อก็จะมีความเค็ม แต่พอน้ำลงแอ่งน้ำทั่ว ๆ ไป แต่ที่เกาะลิบงนั้นเวลามีน้ำทะเลขึ้นสูงน้ำในบ่อก็จะมีความเค็ม แต่พอน้ำลงแอ่งน้ำในบ่อจะมีรสจืดสนิท ดังนั้นบ่อน้ำแห่งนี้จะเป็นแหล่งน้ำจืดสำหรับนกทะเล และชาวบ้านในยามหน้าแล้ง
ประวัติการก่อตั้งกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง
กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง(พะยูน) ตำบลเกาะลิบง ก่อเกิดขึ้นในปี ๒๕๕๘ จากการตระหนักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งของเกาะลิบงที่อุดมสมบูรณ์ เปรียบเสมือนธนาคารชีวิตแก่คนในชุมชนมาตั้งแต่อดีต เกาะลิบงเป็นพื้นที่ทีมีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยพบว่ามีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น กวาง ชะมด พญากระรอก ลิง ค่าง และนกอีกหลายชนิด ทั้งที่เป็นนกประจำถิ่น และอพยพมาจากต่างประเทศทุกๆปี จะพบว่ามีนกหัวโตกินปูได้อพยพมาหากินที่นี่ด้วย สำหรับในทะเลซึ่งอุดมสมบูรณ์สัตว์น้ำหลายชนิดแล้ว ยังมีพะยูนซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธ์ อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ เกาะลิบง
อาหาร
ช่วยทำอาหารกับครอบครัวอุปถัมภ์
ที่พัก
พักร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์
ซักผ้า
ซักผ้ากับมือ กรุณานำผงซักฟอกมาเอง
ห้องน้ำ
มีห้องน้ำ ใช้ร่วมกัน
จุดนัดพบ
สนามบินตรัง เวลา 14.25 น. นักศึกษาจากโอมานมาเที่ยวบิน FD3243 เวลา 14.25 PM **ใครจะจองตั๋วเที่ยวเดียวกันก็ได้ หรือจองก่อนมาถึงก่อนก็ได้ค่ะ ****** รอตรงเก้าอี้ผู้โดยสารได้เลยค่ะ** สนามบินตรังเล็กมากค่ะ
การเดินทางจากกรุงเทพ มายังจุดนัดพบ
ทางเครื่องบิน นั่งเครื่องจากดอนเมือง มาลงสนามบิน ตรัง ให้ นั่งรอตรงเก้าอี้ในสนามบินเลยค่ะ
ทางรถบัส นั่งรถบัส จากสายใต้ กรุงเทพ ตรัง (หลังจากนั้นตุ๊ก ๆ สองแถวหรือแท็กซี่ มายังจุดนัดพบค่ะ)
ทางรถไฟ นั่งรถจากหัวลำโพง มาลงสถานี ตรัง (มาเที่ยว ที่ถึงเช้า ๆ นะคะ รถไฟ มาช้าทุกขบวนค่ะ) นั่งสองตุ๊ก ๆ หรือ แท็กซี่ สนามบินตรัง ประมาณ ครึ่งชั่วโมง
การเดินทางไปเกาะลิบง (เดินทางไปพร้อมผู้ประสานงานค่ายจากดาหลาค่ะ
จากเมืองตรังไปเกาะลิบง (กรณีเดินทางด้วยตนเอง) **กรณีคนที่มาไม่ทัน**
ขึ้นรถตู้โดยสารสาย ตรัง-หาดยาว ที่ท่าคิวรถตู้โดยสารบริเวณตลาดท่ากลาง อำเภอเมืองตรัง ไปจนถึงท่าเรือหาดยาว ค่าโดยสารคนละ 50 บาท
จากท่าเรือหาดยาว
มีเรือโดยสารจากท่าเรือหาดยาว เดินทางไปยังท่าเรือบ้านพร้าว บนเกาะลิบง ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที ค่าโดยสาร ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท
คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการนี้
– สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้
– ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
– มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน
– มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
– ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์
จำนวนอาสาสมัครที่เปิดรับสมัคร
นักศึกษาจากประเทศโอมาน 10 คน
อาสานานาชาติ 5 คน
อาสาสมัครไทย 5 คน
การติดต่อสื่อสาร
สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกเครือข่าย
ภาษาที่ใช้
ภาษาอังกฤษ ,ภาษาไทย
เงื่อนไขการร่วมโครงการ
- ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 3,150 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่ากิจกรรมและค่ารถจากสนามบิน ไปยังท่าเรือ และค่าเรื่อไปเกาะลิบง รวมถึงค่าเสื้อที่ระลึกคนละ 1 ตัว และส่วนหนึ่งเป็นค่าบำรุง ของสมาคม
- ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
- ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
- ผู้เข้าร่วม ต้องเคารพ กฎ ระเบียบ ข้อตกลงของโครงการ และให้ความร่วมมือกับผู้ประสานงาน
สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย **กระเป๋าควรเป็นแบบเป้สะพายค่ะ
- ถุงนอน หรือผ้าห่ม มุ้ง แผ่นโยคะรองนอน (อุปกรณ์สำหรับนอน ต้องเตรียมมาเองค่ะ)
- เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ ระหว่างค่าย (ผู้หญิงเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นเลยเข่าไม่ควรสวมใสระหว่างค่าย) **กรณีเล่นน้ำชายทะเล ใส่กางเกงขาสั้นได้**
- เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
- อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด **สำคัญมาก***
- ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน * หากไม่อยากสวมผ้าใบก็ไม่ต้องนำมาค่ะ **
- รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)
- สเปรย์กันยุ่ง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)
- ไฟฉาย หรือโทรศัพท์ ที่มีไฟฉาย
- ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
- ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส
- ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )
สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย
- สารเสพติด
- แอลกอฮอล์
- อคติ หรือความคิดด้านลบ
สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)
15/2 ม.3 ต.โคกม่วง อ. คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 902300
Email: dalaa.thailand@gmail.com Tel. 074 242 300
ผู้ประสานงานการสมัครเข้าร่วม เอ๋ 091 005 1247
ผู้ประสานภายในค่ายจากดาหลา :ซัน 0902672127
1. ดาวน์โหลดใบสมัครจาก https://drive.google.com/open?id=0ByQQ4JcERbn-QVNYQnhwUFd2aFE
(กรุณากรอกใบสมัครโดยการพิมพ์)
2. ส่งใบสมัครมายัง Email: Dalaa.thailand@gmail.com
3. รออีเมล์ตอบรับ และแจ้งขั้นตอนต่อไป
4. ชำระค่าเข้าร่วมโครงการ (หลังใบสมัครได้รับการตอบรับเข้าร่วมโครงการ)
ค่าใช้จ่าย : 3150 บาท