คอร์ทนีย์ ฟิกเลอร์ นักศึกษาสาวจากมหาวิทยาลัยเมโมเรียล ได้กลับมาที่เมืองเซนต์จอห์นพร้อมประสบการณ์มากมายที่เธอจะไม่มีวันลืมมัน ได้ หลังจากใช้เวลาสองสัปดาห์ครึ่งในการไปเป็นอาสาสมัครในค่ายผู้อพยพนอกเมืองเอ เธนส์
“จากสถานการณ์วิกฤตเรื่องผู้อพยพที่กำลังเกิดขึ้นในโลกของเราอยู่ตอนนี้ ทำให้ฉันรู้สึกว่าต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้ค่ะ” ฟิกเลอร์ ผู้ที่สมัครเข้าร่วมการเดินทางไปเมื่อเดือนธันวาคมกับองค์กรอาสาสมัครของประ เทศนอร์เวย์ที่ชื่อว่า “A Drop In The Ocean” ซึ่งทำงานอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพ เล่าความคิดเริ่มต้นให้ฟัง
“A Drop In The Ocean” จะทำงานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพกว่า 1,500 คน แบบวันต่อวัน ในค่ายบริเวณเมืองท่าพิเรอุส (Piraeus) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้อพยพส่วนใหญ่จะมาชุมนุมกัน หลังจากการเดินทางผ่านเกาะแก่งมากมายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและถึงแผ่นดิน ของประเทศกรีซในครั้งแรก
ฟิกเลอร์ ช่วยทำหน้าที่หลายต่อหลายอย่างในค่าย นับตั้งแต่การช่วยเตรียมอาหารไปจนถึงการช่วยคิดกิจกรรมสันทนาการให้กับเด็กๆ และใช้ทักษะวิชาสังคมสงเคราะห์ที่ได้เรียนมาเพื่อพูดคุยกับผู้อพยพในค่าย หลายๆคน เท่าที่เธอจะสามารถทำได้
“พวกเขากระตือรือร้นที่จะเล่าเรื่องของตัวเองมากค่ะ คงเพราะอยากให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ว่าพวกเขาต้องผ่านอะไรมากบ้าง สำหรับฉันแล้วต้องยอมรับตรงๆ ว่ามันเป็นเรื่องยากมากจริงๆ ที่ต้องฟังเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาพยายามเล่าให้ฟัง”
“ความสิ้นหวังและความหวาดกลัว”
ฟิกเกอร์กล่าวว่า แม้ผู้อพยพเหล่านี้จะได้รับความปลอดภัยในประเทศกรีซ แต่มันก็ยังห่างไกลจากคำว่าบ้านที่อบอุ่นอยู่มากนัก
.
“มันกลับกลายเป็นความสิ้นหวังในอีกรูปแบบหนึ่ง จริงๆแล้วคนเหล่านี้ไม่ได้หวาดกลัวกับการจะต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล แต่พวกเขาหวาดกลัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับอนาคตของตนต่างหาก เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า” เธอบอกเล่าให้รายการ เซนต์จอห์น มอร์นิ่งโชว์ของสถานีวิทยุ CBS ฟัง
ฟิกเลอร์ยังได้เล่าเรื่องที่เธอเจอกับตัวเองเรื่องหนึ่งให้ฟัง ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เหมือนไม่สำคัญและเรื่องนี้กลับติดอยู่ในใจของเธอมาจนทุกวันนี้ นั่นคือครั้งหนึ่ง มีผู้ชายคนหนึ่งได้พุ่งเข้ามาคุยกับเธอด้วยภาษาอารบิคและภาษาอังกฤษแบบ กระท่อนกระแท่นเพื่อขอเงินจากเธอ 2 ยูโร
“ฉันหยิบแบงค์ 5 ยูโรออกมาให้ค่ะ และเมื่อเขาเห็นว่าฉันให้เงินเขา 5 ยูโร ไม่ใช่แค่ 2 ยูโร เขาก็เริ่มร้องไห้สะอึกสะอื้นและสะอื้นหนักมากขึ้นแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ จากนั้นเขาเอาหัวมาซบที่ไหล่ฉันและกล่าวว่า “ขอให้พระเจ้าอำนวยพร ขอให้พระเจ้าอำนวยพร” เธอเล่าให้ฟัง
ผู้อพยพอีกคนหนึ่งจากอาฟกานิสถาน ซึ่งมีอายุเพียง 19 ปี ได้แบ่งปันเรื่องราวการหลบหนี เพราะไม่อยากอยู่ทั้งในกองทัพตาลีบันและกองทัพของรัฐบาลให้เธอฟัง
“เขาเล่าว่า ‘ผมไม่อยากไปรบและก็ไม่อยากตายด้วย’” เธอทบทวนคำพูดเขาให้ฟัง
“เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ฉันไม่เคยคิดถึงหรือกังวลมาก่อนเลยในชีวิต โดยเฉพาะการที่ผู้คนต้องอดทนและต่อสู้กับอะไรบางอย่างตั้งแต่ยังเด็กมันเป็น เรื่องที่…ว้าวมากสำหรับฉันค่ะ”
“การส่งต่อความหวังกลับไปให้”
ฟิกเลอร์กำลังวางแผนจะนำทักษะวิชาชีพด้านสังคมสงเคราะห์ของเธอมาใช้ในการทำ งาน โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องความจำเป็นของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ทั้งในประเทศแคนาดาหรือในต่างประเทศ
เมื่อเธอจบการศึกษาขั้นปริญญาตรีในปี 2017 เธอหวังว่าจะได้กลับมาทำงานอาสาสมัครในค่ายผู้อพยพอีกครั้ง หากค่ายเหล่านี้ยังคงมีอยู่และจะแนะนำให้เพื่อนๆทุกคนของเธอได้เดินทางมาทำ งานอาสาสมัครแบบนี้ด้วยเช่นกัน
“หากคุณมีเวลาและหัวใจ หากคุณเต็มใจจะช่วยเหลือ พวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากคุณอยู่ค่ะ” เธอกล่าว
“ฉันก็ไม่รู้ว่าผู้คนเหล่านี้จะจดจำสิ่งที่ฉันทำไว้ให้ได้หรือไม่นะคะ แต่ฉันเชื่อว่าพวกเขาต้องจำสิ่งที่อาสาสมัครทุกคนได้พยายามช่วยเหลือและทำ ให้พวกเขาได้ค่ะ ซึ่งสิ่งนี้แหละที่อาสาสมัครทุกคนต้องการ และแต่ละคนก็คงไม่ได้อยากมาทำสิ่งเหล่านี้เพื่อให้คนอื่นจดจำตัวเขาได้เพียง อย่างเดียวเท่านั้น”
การเป็นอาสาสมัครของฟิกเลอร์ ไม่ใช่แค่ทำให้เธอได้เดินทางออกนอกประเทศ แต่มันนำให้เธอได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับปัญหาที่แท้จริง ทำให้เห็นว่าทักษะวิชาชีพที่เรียนมาในรั้วมหาวิทยาลัย จะนำมาปรับใช้กับปัญหาจริงของสังคมและโลกใบนี้ได้อย่างไรนะคะ
ปิดเทอมนี้ น้องๆนักศึกษามีเวลาว่างมากมาย อย่าลืมแบ่งเวลาออกไปทำงานอาสาสมัครที่ตนเองสนใจกันด้วยนะคะ 🙂
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.cbc.ca/…/mun-student-volunteers-in-refugee-camp-…