20160331-3-1

ปัจจุบันกระแสธุรกิจแนวใหม่อย่าง สตาร์ทอัพ (Startups) กำลังถูกพูดถึงและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยบริษัท Y Combinator เป็น องค์กรกลางที่มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดัน (Accelerator) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้สนับสนุนเงินลงทุนเริ่มต้น (Seed funding) ไปแล้วมากกว่า 1,000 บริษัท อาทิเช่น Dropbox, Airbnb, Social Cam โดยทุกปีบริษัทจะจัดกิจกรรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ ผู้ก่อตั้งและลงทุนถึงกว่า 120,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 4 ล้านบาท) ต่อโปรเจกต์

ย้อนกลับไปเมื่อสามปีที่แล้ว Y Combinator ได้ลงทุนในองค์กรไม่แสวงผลกำไรเป็นครั้งแรก ชื่อ Watsi เป็น เว็บไซต์ระดมเงินค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยใน 22 ประเทศทั่วโลก หากนับมาถึงปัจจุบัน Y Combinator ได้ลงทุนในองค์กรไม่แสวงผลกำไรไปแล้วถึง 16 องค์กร และในเดือนที่ผ่านมาองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ได้รับการสนับสนุนจำนวนหนึ่งได้ รวมตัวกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างแนวคิดเชิงธุรกิจอย่างสตาร์ทอัพ (Startups) ในองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร จนได้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ 5 วีธี ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายสำหรับ ‘การเติบโต’

เมื่อ พูดถึง ‘การเติบโต’ ในองค์กรไม่แสวงผลกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่ก่อตั้งใหม่ องค์กรควรคิดและวางแผนเช่นเดียวกับธุรกิจทั่วไป ซึ่ง NGO ทั่วไปจะมองว่าตนเองมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าการทำให้องค์กรเติบโต ประกอบกับส่วนใหญ่มักเป็นเป้าหมายระยะยาว เช่น การรักษาเยียวยาโรคร้าย การทำให้สังคมมีความเท่าเทียม โดยเป้าหมายเหล่านี้ไม่สามารถวัดผลเป็นรายเดือน หรือรายสามเดือนได้ อีกทั้งบางองค์กรยังคิดว่าถ้ามัวแต่วัดผลจะทำให้สับสนและหลงทางจากเป้าหมาย ที่ยิ่งใหญ่ขององค์กรอีกด้วย

แต่จริงๆ แล้วไม่ว่าองค์กรจะมีวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ขนาดไหน ก็ควรมีการกำหนดจุดประสงค์/เป้าหมายย่อยๆ สำหรับแต่ละส่วน และหาวิธีวัดผลหรือความสำเร็จของแต่ละเป้าหมายย่อยนั้นในสถานการณ์จริงเช่น เดียวกับธุรกิจทั่วไป ทั้งนี้เพื่อสร้างกำลังใจ กระตุ้นและผลักดันให้ทีมงานสามารถทำงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และแผนงานที่ ตั้งไว้ได้

2. ระลึกไว้เสมอว่าเราอาจจะทำไม่ได้ตามเป้า 

การ ดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงผลกำไรนั้นส่วนใหญ่ต้องอาศัยรายได้หลักจากการรับ บริจาคเงิน ซึ่งผู้บริจาคเงินแต่ละคนก็มีประเด็นที่สนใจที่แตกต่างกันไป เพื่อดึงดูดผู้บริจาคเหล่านั้นทำให้หลายองค์กรมีแนวโน้มที่รับปากจะทำภารกิจ หลายอย่าง มากกว่าการทำเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้

วิธีการป้องกันไม่ให้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น คือองค์กรต้องมีแผนงานของตัวเองอย่างเป็นอิสระ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่องค์กรต้องการให้เกิดขึ้นมากที่สุดก่อน จากนั้นจึงทำความเข้าใจแผนงานทั้งหมดร่วมกับทีมงานทั้งหมดก่อนไปคุยกับผู้ บริจาคเงิน วิธีนี้จะทำให้องค์กรมีความน่าเชื่อถือและไม่โน้มเอียงไปตามความสนใจของผู้ บริจาค

เมื่อถึงเวลาที่ต้องคุยกับแหล่งเงินทุน องค์กรต้องสร้างสมดุลระหว่างความสนใจส่วนตัวของผู้บริจาคเงิน กับแผนงานที่องค์กรตั้งไว้อย่างมั่นใจแล้ว อย่าเปลี่ยนจุดยืนและวิสัยทัศน์ของเราเพียงเพื่อตามใจคนที่จะให้เงินเรา ซึ่งจริงๆ ก็คงไม่มีผู้นำองค์กรคนไหนอยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายหากผู้นำองค์กรใจกว้างเกินไป และอยู่กับอุดมการณ์ โดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน

3. ยึด ‘คุณค่า’ ขององค์กรเป็นหลัก ถึงแม้มันอาจจะเป็นการกระทำที่ดูไม่ดี

ใน ช่วงตั้งต้นของ NGO หน้าใหม่ มักจะเลือกนำเสนอคุณค่าของตัวเองเพื่อสร้างความแตกต่างจาก NGO อื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งหลายองค์กรที่ด่วนสรุปให้ ‘ความโปร่งใส’ เป็นประเด็นที่สนับสนุนคุณค่าของตัวเอง ก็พบว่าประเด็นนี้พูดง่ายแต่ทำยาก!

ยก ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเรามีนโยบายที่จะแสดงความโปร่งใสด้วยการรายงานข้อมูลถึงผู้บริจาค อย่างอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์เฉพาะของแต่ละคน แต่ต่อมาคุณก็จะพบว่าองค์กรมีภารกิจอื่นๆ ที่ต้องทำ แผนงานในอุดมคตินี้จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด ก็คือการนั่งจัดข้อมูลใส่ตารางอย่างง่ายแล้วเผยแพร่บนเว็บไซต์ขององค์กรเท่า นั้นเอง

อย่าเสียเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสร้างคุณค่าที่สวยงามให้องค์กรอย่าง ‘ความโปร่งใส’ จนชะลอเป้าหมาย/กิจกรรมหลักขององค์กรตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้น เพราะการยึดคุณค่าที่อาจจะดูไม่หวือหวาแต่ทำให้เราแตกต่างจาก NGO อื่นๆ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า

4. กำหนดวันที่จะสิ้นสุดการระดมทุน

วงจร การระดมทุนของ NGO ระดับโลกมักมีตลอดทั้งปี ทำให้ผู้นำองค์กรอาจถูกดึงเข้าไปสู่การทำงานซ้ำๆ ที่น่าเบื่อ เช่น การร่วมงานสัมมนาหรือเข้าประชุมกับผู้บริจาครายใหม่ตลอดเวลา ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่พบใน NGO หลายที่คือ การเสียเวลาทั้งหมดไปกับการระดมทุนจนไม่มีเวลาทำงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จริงๆ

เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว องค์กรควรกำหนดช่วงเวลาที่จะหยุดการระดมทุนเหมือนว่าเป็นรอบของการระดมทุน ตั้งต้น (Philanthropic seed round) ที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอย่างชัดเจนคล้ายๆ กับโครงสร้างการลงทุนขององค์กรธุรกิจทั่วไป ด้วยวิธีนี้องค์กรจะสามารถให้ความสำคัญกับการบริหารเวลาและจัดสรรกำลังได้ อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันองค์กรจะสามารถสร้างวัฒนธรรมการบริจาคเงินให้ผู้บริจาคตระหนัก ถึงความจำเป็นของการบริจาคมากขึ้น ไม่ใช่อยากบริจาคเมื่อไหร่ก็ทำได้ตลอดไทั้งปี

5. จำไว้เสมอว่าเราทำงาน ‘เพื่อใคร’

ถึง แม้ว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริจาค และการพัฒนาทีมงานจะเป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กร แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการให้ความสำคัญสูงสุดกับกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนลงแรงขององค์กร

ดังนั้นสิ่งที่ องค์กรควรทำคือการใช้เวลาคลุกคลีและทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในบางกรณีอาจเป็นเรื่องยาก เช่น ต้องเดินทางไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศ เป็นต้น แต่การได้พบปะพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นวิธีเดียวที่จะสร้างความมั่นใจได้ว่าสิ่งที่องค์กรพยายามทำอยู่นั้นถูก ต้อง และองค์กรสามารถสร้างผลกระทบ และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง

ต้องขอขอบคุณ Jessica Livingston และ Grace Garey ผู้ร่วมก่อตั้ง Watsi ที่ช่วยรวมรวบและแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Five Ways Non-Profits Can Think Like Startups (WED, MAR 9)