ในโลกที่มักมองอะไรแบบแยกส่วน ธุรกิจก็คือองค์กรที่ทำกำไรสูงสุดที่จะเกี่ยวพันกับสังคมบ้าง ก็ เมื่อนำกำไรคืนกลับสู่สังคมในรูปแบบความช่วยเหลือต่างๆ ขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชนก็มุ่งเน้นงานพัฒนาโดยแยกส่วนอย่างชัดเจนกับธุรกิจ หากในแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise)
ทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่แยกกัน องค์กรไม่จำเป็นต้องทำกำไรสูงสุด และการพัฒนาสังคมก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้องค์ความรู้ทางธุรกิจ เข้ามาช่วยคำถามก็คือธุรกิจในแบบที่ว่าจะสามารถดำรงอยู่ในโลกแห่งการแข่งขัน ได้อย่างไร เมื่อมีโอกาสคุยกับ “กรีนเนท” องค์กรที่เรียกตัวเองว่าเป็น “social enterprise” ธุรกิจที่ใช้ปัญหาสังคมเป็นตัวตั้งในการพัฒนาธุรกิจ หลายคำถามได้คำตอบที่กระจ่างชัด โดยเฉพาะเมื่อย้อนดูเส้นทางการทำธุรกิจที่รับหน้าที่ทำการตลาดให้กับเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ในชื่อโครงการทางเลือกเพื่อเกษตรกรและผู้บริโภค หรือกรีนเนท เพื่อสนับสนุนระบบการค้าที่เป็นธรรมสำหรับผลผลิตเกษตรอินทรีย์และเริ่ม จำหน่ายผลไม้สดเกษตรอินทรีย์เป็นรายแรกของประเทศจากธุรกิจเล็กๆ ที่มีสมาชิกเกษตรกรผู้ผลิตเพียง 5 ครอบครัว และทำยอดขายไม่กี่หมื่นบาท ปัจจุบันกรีนเนทเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์รายใหญ่ที่มีมูลค่า ธุรกิจ 20-30 ล้านบาท กว่าจะเป็นธุรกิจเพื่อสังคม “วิฑูรย์ ปัญญากุล” หนึ่งในผู้ก่อตั้งสหกรณ์ กรีนเนท จำกัด เล่าแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมที่มีรากฐานมาจากการมองเห็นปัญหาของเกษตรกร “ที่ผ่านมาปัญหาภาคเกษตรที่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสทางเศรษฐกิจเพราะ เรื่องการตลาด เป็นข้อจำกัด ต่อให้เก่งแค่ไหนในการผลิต สุดท้ายก็มาตายเรื่องการตลาด ภาคเกษตรของเราจึงยิ่งทำแล้วยิ่งจน เกษตรกรไม่เคยทำการเกษตรแล้วลืมตาอ้าปากได้ ไม่ใช่เฉพาะเมืองไทยแต่ก็เป็นเหมือนกันทั่วโลก จึงมามองว่าจะหาทางออกอย่างไร” “เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่ตัดสินใจทำ มีเหตุผลอยู่ 2 อย่าง ไม่บ้าก็ **** แต่เราก็เห็นว่ามันต้องลอง ถ้าทำเหมือนเดิมก็เห็นแล้วว่ามันไม่ไปไหน เราจึงลองทำเรื่องเดิมด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป” จึงเลือกใช้โมเดลในแบบ “social enterprise” “เราเชื่อว่าการค้าเป็นเครื่องมือในการยกระดับกระตุ้นการปรับเปลี่ยนการผลิต ของเกษตรกร หนุนคนทำเกษตรอินทรีย์ให้เข้าถึงตลาดที่ดีและมีผลผลิตที่มีราคาดีกว่าที่ เป็นอยู่ เรามองการค้าเป็นเครื่องมือของการพัฒรนา ฉะนั้นเมื่อองค์กรประกอบการค้าจะเรียกเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนคงไม่ถูก เราจึงเรียกตัวเองว่าเป็นธุรกิจเพื่อสังคม และการที่จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ก็เพราะอยากให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมทางการ ตลาดด้วย” จากปี 2536…จึงเริ่มต้นทำตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีแนวโน้มมีอนาคตในขณะนั้น โดยเริ่มจำหน่ายผักผลไม้สด จนปัจจุบันกลายเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณท์ทั้งในส่วนของอาหารสด อาหารแห้ง เครื่องดื่ม อาหารขบเคี้ยว ธัญพืช และผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ โดยส่งออกไปจำหน่ายในยุโรปและประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ภายใต้แผนงานตลาดทางเลือก เพื่อสร้างให้เกิดกลไกเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเกษตรกร ไทย ทั้งยังกลายเป็นผู้สนับสนุนงานพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ในการผลักดันและริเริ่มก่อตั้งหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณท์สำหรับผู้ผลิตรายย่อยในธุรกิจชุมชน ระบบประกันคุณภาพ โรงเรียนเกษตรกร รวมถึงจัดตั้งมูลนิธิสายใยแผ่นดินรองรับงานด้านพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ธุรกิจกับการพัฒนา “12 ปี เราเห็นบทเรียนว่า การค้าไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ธุรกิจมีเครื่องมือในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพียงแต่ว่าคุณจะวางเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจนั้น ในฐานะเป็นการให้บริการ เป็นสหกรณ์ ชัดเจนในการเข้าถึงแหล่งตลาดที่มีราคาที่ดี ในปัจจุบันเรามีกลไกในการรับซื้อผลผลิตทั้งหมดในราคารับซื้อที่สูงกว่าตลาด โดยเฉพาะในผลิตภัณท์หลัก ราคาตอนนี้ในตลาด 7-8 พัน เราประกัน 1 หมื่นบาทต่อตัน เราประกันราคาสูงกว่าตลาดประมาณ 20-25%บางปีที่ราคาตกไปมาก เราประกันสูงกว่า 60%” โดยพิจารณาราคาจากต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ซึ่งเราสามารถทำการตลาดได้ด้วย เพราะราคาที่ซื้อขายในตลาดบ่อยครั้งไม่ได้สะท้อนต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และเป็นเหตุผลว่า ทำไมเกษตรกรถึงจน
การ ประกันราคายังเป็นการสร้างความมั่นใจ เป็นหลักประกันในการปรับเปลี่ยนจากเกษตรเคมีมาสู่เกษตรอินทรีย์ หากไม่ประกันก็เหมือนกับการซื้อหวย ความเสี่ยงตกไปอยู่ที่เกษตรกร การประกันราคาตรงนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่ตกมาอยู่ที่สหกรณ์ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำตลาดให้ ได้กำไร แต่การทำตลาดของเรา เราไม่ต้องการกำไรมาก เราต้องการเพียงบวกค่าใช้จ่ายแล้วเราอยู่ได้” ถ้าจะวัดความสำเร็จจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในระดับกว่าเท่าตัว เป็นคำตอบของการทำธุรกิจเพื่อสังคมได้เป็นอย่างดี วิฑูรย์บอกว่า เช่นเดียวกับการทำธุรกิจทั่วไป อัตราการเติบโตของค่าใช้จ่ายกับรายได้ต้องสอดคล้องกัน โดย 2-3 ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของธุรกิจอยู่ในระดับ 70-80% และเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เฉพาะช่วง 4 ปีที่ผ่านมาขยายจากสมาชิกผู้ผลิต 300 ครอบครัว เป็น 1,200 ครอบครัว ปีนี้จึงชะลอการขยายจำนวนเกษตรกรผู้ผลิตที่เข้ามาเป็นสมาชิก เป็นการลดด้านปริมาณ แต่หันมาปรับปรุงในด้านคุณภาพ เพราะหากขยายต่อไปหากคุณภาพไม่ดี ตรงกลางจะกลวง “เราพูดถึงคุณภาพในการทำงาน ตอนนี้ทุกคนที่เป็นสมาชิกเลิกใช้เคมี ทำอินทรีย์และรักษาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่จะทำต่อไปเรื่องความหลากหลายในไร่นา จะถูกพัฒนาเพิ่มเข้าไปมากขึ้นในรายของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก เพราะในช่วงที่ผ่านมาเราอาจละเลยเรื่องพวกนี้ แต่มีเป้าหมายจะให้เขาเข้ามาในระบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น” หัวใจสำคัญของ social enterprise ยังอยู่ที่ “เจ้าหน้าที่ภาคสนาม” หรือ “เจ้าหน้าที่ส่งเสริม” ที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ดีก่อนที่จะไปฝึกชาวบ้าน การพัฒนาเครื่อง การเรียนรู้แบบค้นพบในด้านการถ่ายทอดทักษะในการทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้ปัจจุบันไม่เพียงสามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรให้มีจุด แข็งในด้านที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ปัจจุบันกรีนเนทยังเป็นที่ปรึกษาด้านเกษตรอินทรีย์ให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อาทิ ลาว เวียดนาม กัมพูชา นิการากัว ในเชิงธุรกิจปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดี เห็นจากรายใหญ่ ไม่ว่าจะเครือ ซี.พี. นครหลวงค้าข้าวที่เข้ามาในตลาดนี้ “แต่ผมก็ไม่คิดว่าจะมีโอกาสเห็นเกษตรอินทรีย์มีสัดส่วนถึง 10% ได้ในชีวิตผม เพราะตอนนี้สัดส่วนเกษตรอินทรีย์ในไทยมีเพียง 0.06% หรือไม่ถึง 1% เพียงแต่ต้องการให้เกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกหนึ่งให้กับคนที่สนใจแต่ไม่คาด หวังสูง”
บท เรียน-ความท้าทาย อย่างไรก็ตาม “ธุรกิจเพื่อสังคม” ก็เป็นเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ มีอุปสรรคปัญหาประเดประดังเข้ามาเป็นระยะ ตั้งแต่การขาดทุนในช่วงแรก จนมาถึงปัญหาปัจจุบันคือการขาดสภาพคล่องทางการเงิน แม้ว่าจะมีสมาชิกจำนวนมาก แต่ค่าสมาชิกเพียงหลักร้อยทำให้เกิดปัญหาและธุรกิจเริ่มสะดุด “วันนี้เป็นคอขวดอันหนึ่งที่เรากำลังคิดจะแก้ ด้วยการระดมทุนด้วย ethicle funding investment คือการลงทุนในธุรกิจที่ดี ในต่างประเทศมีกองทุนแบบที่ว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนกับธุรกิจที่ค้าอาวุธ หรือมีบางกองทุนที่ลงทุนเฉพาะกับธุรกิจพลังงานทางเลือก ในไทยยังไม่เกิดขึ้น แต่เรากำลังหาวิธีในการระดมทุนอยู่”
“แม้ มุมมองของคนไทยที่มีต่อการลงทุนแบบนี้มีไม่มาก แต่ผมก็ต้องการเพียง 50 คน และเชื่อว่ามันอาจจะไม่เกิดในทันที แต่ก็ต้องค่อยๆ ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยังเชื่อว่ามีคนเข้าใจและตระหนักเรื่องพวกนี้อยู่” “ในแง่ขององค์กร 10 ปีที่ผ่านมาเราไม่ค่อยมั่นใจในแนวคิดเรามากนัก แต่ตอนนี้เรามั่นใจเพียงแต่ยังมีโจทย์หลายอย่างที่ต้องคิดให้ชัดมากขึ้น ทั้งในเรื่องคน การบริหารจัดการ เพราะที่ผ่านมาระบบลงตัวกับขนาดธุรกิจแบบนี้แต่ในอนาคตถ้าจะขยายออกไปอีก 3 เท่า ก็ต้องเปลี่ยนระบบทั้งชุด ซึ่งตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงทดลองและฟักตัวเพื่อไปสู่การขยายในอนาคต” นับเป็นอีกความท้าทายใหม่ หลังจากที่เขาได้พิสูจน์แล้วว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” สามารถประสบความสำเร็จและเติบโตได้ในทางธุรกิจเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจอื่น มากกว่านั้นยังพิสูจน์ได้ “เขาไม่บ้าและไม่ **** ” !!
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.7sme.com/news/page.php?news_id=456
ขอขอบคุณภาพจาก: www.enn.co.th, www.cpall.co.th, www.prachachat.net