เรียน เล่น หัวเราะเริงร่าและรู้ กับครูอาสาเพื่อการศึกษาทางเลือก อาร์ท มงคล ด้วงเขียว กับบทเรียน ๒ ปี ครูอาสาเพื่อการศึกษาทางเลือก ประจำกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ จ.สุราษฎร์ธานี

ภารกิจครูอาสา

ช่วง แรกที่ชีวิตผมได้เข้าไปสัมผัสการทำงานร่วมกับเด็กเยาวชนในพื้นที่อำเภอท่า ชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับตัวและเรียนรู้พื้นที่ค่อนข้างสูง “จะสามารถเดินเส้นทางสายนี้ได้หรือไม่” ผมคำถามเกิดขึ้นกับผมในช่วง 3 เดือนแรกนี้ เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างมีความแปลกใหม่ทั้งสถานที่ ชุมชน เยาวชน และอีกหลายๆ อย่าง เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีใครรู้จักและไม่รู้จักใคร คำถามว่าเรามาถูกทางหรือเปล่า? กับการเป็นครูการศึกษาทางเลือก แต่ไม่ได้เป็นครู สร้างความสับสนให้กับผมไม่น้อย

พี่ อี๊ดแนะนำให้ผมรู้จักกับแป๊ะ (เอกราช ชัยดำรงฤทธิ์) เพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ที่เติบโตมากับกลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะและเป็นแกนนำเยาวชน ช่วงแรกๆ แป๊ะจึงเป็นเพื่อนร่วมงานคนเดียวที่ผมสามารถสอบถามข้อมูลเยาวชนรวมถึงข้อมูล พื้นที่อำเภอท่าชนะ หลังจากนั้นเราได้มีการร่วมวางแผนกิจกรรม เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผมรู้ว่าเรามีเพื่อน มีคนรู้จักเพิ่มขึ้นอีกคนที่สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเรื่อง

ป้า ตา (ดวงแข ชัยดำรงฤทธิ์) แม่ของแป๊ะ เป็นแกนนำชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าพรุคันธุลี และอ่าวท่าชนะ เป็นอีกคนหนึ่งที่ให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับกลุ่มเยาวชนและการทำงานอนุรักษ์ มาตั้งแต่แรก จนในช่วงหลังๆ เรียกได้ว่าเป็นครอบครัวเดียวกันที่ผมสามารถเข้าไปพักอาศัยด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่มีกิจกรรมกับชุมชนและกิจกรรมเยาวชน นอกจากนี้ยังมีแกนนำชุมชนอีกหลายๆ คนที่ป้าตาแนะนำให้รู้จัก ทำให้เกิดความคุ้นเคยกับชุมชนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผมทราบข้อมูลชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหาแต่ละช่วง


เรียนรู้-เข้าถึงปัญหา

ป้า ตา, ตาเจือ, พี่ลูกหมา และอีกหลายคน ได้บอกเล่าตรงกันว่า ก่อนหน้านี้หลายสิบปีทั้งป่าพรุคันธุลีและอ่าวท่าชนะมีความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบเกษตรกรรมโดยทำสวนยางพาราเป็นหลัก ส่วนชาวบ้านที่อยู่บริเวณริมอ่าวก็ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน แต่เมื่อเริ่มมีการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ๆ เริ่มเข้ามีบทบาท เครื่องมือประมงก็มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพตามไปด้วย จากเรือที่ไม่มีเครื่องยนต์ก็เปลี่ยนเป็นเรือที่ติดเครื่องยนต์ลำใหญ่ สามารถออกทะเลได้คราวละหลายๆ วัน กลับเข้าฝั่งแต่ละครั้งก็ได้ปลาหลายตัน และขยายจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันเรือขนาดเล็กไม่สามารถออกเรือได้แล้ว ชาวบ้านต้องซื้อเรือขนาดใหญ่และติดเครื่องยนต์ตามไปด้วย เนื่องจากพื้นที่ใกล้ชายฝั่งไม่มีปู ปลา ให้ชาวประมงพื้นบ้านได้หาเลี้ยงชีพเหมือนเดิม

พื้นที่ ป่าพรุคันธุลีก็ไม่ต่างจากอ่าวท่าชนะ ครูภูมิปัญญาเล่าให้ฟังอีกเช่นกันว่า เมื่อกระแสการปลูกปาล์มน้ำมันและความต้องการพื้นที่เพื่อทำการเกษตรเพิ่มมาก ขึ้น พื้นที่ป่าพรุซึ่งเคยมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งดิน น้ำที่มีตลอดทั้งปี ไม่จำเป็นต้องขุดเจาะระบบน้ำใหม่ มีส่วนให้พื้นที่ป่าพรุคันธุลีเป็นพื้นที่เป้าหมายที่ผู้คนต้องการครอบครอง เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน

ด้วย เนื้อที่กว่า 875 ไร่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งทั้งคนและสัตว์ได้ใช้ประโยชน์ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เลวร้ายลงมากขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่รอบป่าถูกบุกรุกครอบครองจากชาวบ้านที่มีพื้นที่ติดกับป่าพรุเพื่อใช้ ปลูกปาล์มน้ำมัน เมื่อคนหนึ่งได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุน คนอื่นๆ ก็อยากได้ จึงเกิดการบุกรุกพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าพรุเพียง 300 กว่าไร่ ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากป่าพรุน้อยลง ทรัพยากรก็เริ่มลดลงไปด้วย พื้นที่รอบป่าพรุแปรสภาพเป็นสวนปาล์ม สวนผลไม้ แทนพื้นที่พรุที่ชาวบ้านเคยใช้ประโยชน์ เคยมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นระบบ


ตรึงพื้นที่-ตั้งกลุ่มศึกษา

เมื่อ ปัญหาการบุกรุกทำลายสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้น หลายคนที่เล็งเห็นผลกระทบจึงรวมกลุ่มเพื่อหาแนวทางจัดการปัญหา ในส่วนอ่าวท่าชนะที่ได้รับผลกระทบจากการประมงขนาดใหญ่ส่งผลให้ปะการังถูก ทำลายจากการระเบิดปลาและการใช้อวนลาก สัตว์น้ำจึงลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด กลุ่มแกนนำชุมชนได้ขอความร่วมมือกับชาวบ้านให้ช่วยกันสร้างปะการังเทียม เพื่อฟื้นฟูแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีการทำแนวเขตการทำประมงขนาดใหญ่ให้ห่างจากชายฝั่งไม่น้อยกว่า 3,000 เมตร

ใน พื้นที่ป่าพรุคันธุลีก็เช่นเดียวกัน มีการหาแนวทางอนุรักษ์โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ แม้ว่าปัจจุบันจะหลงเหลือเนื้อที่ป่าไม่ถึง 400 ไร่ก็ตาม

จาก การประสานขอความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ปัจจุบันได้ยกระดับพื้นที่ป่าพรุที่ไม่มีใครให้ความสำคัญเป็นศูนย์การเรียน รู้ที่เป็นรูปธรรม มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอกเข้ามาศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ใน ส่วนงานเด็กและเยาวชนในพื้นที่ มีการจัดค่ายเชิงอนุรักษ์เล็กๆ ค่ายหนึ่งในช่วงเริ่มต้น แม้จะมีเด็กเยาวชนเข้าร่วมประมาณ 40 คนเท่านั้น แต่เมื่อเสร็จกิจกรรมค่ายแล้ว น้องๆ หลายคนเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น จึงรวมกันก่อตั้ง “กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ” ขึ้นประสานความร่วมมือ กับแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการจัดทำบอร์ดความรู้ เข้าร่วมเวทีชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมเยาวชน เป็นต้น

ปัจจุบัน กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ ยังคงมีการทำงานร่วมกับการเรียนรู้ในพื้นที่ป่าพรุคันธุลีและอ่าวท่าชนะ อย่างต่อเนื่อง ครูอาสาฯ ซึ่งเป็นคนใหม่สำหรับกลุ่มเด็กเยาวชน ในช่วงแรกๆ จึงเป็นผู้ร่วมเรียนรู้กับกลุ่มเด็ก เนื่องจากไม่มีความรู้พื้นที่ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่าง สิ่งแวดล้อมใหม่ สมาชิกใหม่ และสิ่งใหม่ๆ อีกมากมาย แต่ก็พยายามที่จะเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ให้กับ สมาชิกกลุ่มเยาวชน


พัฒนาต่อยอดการเรียนรู้

ถึง แม้ว่าที่ผ่านมากลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะจะมีการร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน แต่หลายฝ่าย ทั้งครูที่ปรึกษากลุ่มฯ ครูภูมิปัญญา ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน ต่างเห็นว่าน่าจะมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปสู่วงกว้าง ขึ้น การพัฒนาแผนกิจกรรมเข้าสู่โรงเรียนเป็นประเด็นที่ถูกนำเสนอและน่าจะเป็นแนว ทางที่ดีที่สุดในการปลูกฝังให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่ดี เพื่อความตระหนัก ความรักทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมในชุมชน จึงได้ร่วมกันหาแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวในชุมชน

สำนัก งานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้เข้ามามีบทบาทหนุนเสริมการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ โดยใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติหรือป่าพรุคันธลีและอ่าวท่าชนะเป็นแหล่งเรียนรู้ หลัก ภายใต้โครงการศึกษาพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนท่าชนะอย่างมีส่วนร่วม

ใน การดำเนินโครงการดังกล่าว ผมได้เข้ามีบทบาทในการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับครู โดยพานักเรียนลงพื้นที่แล้วกระตุ้นให้น้องๆ เกิดคำถาม เพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบที่บางครั้งไม่ได้หามาได้ง่ายๆ ต้องมีการเฝ้าสังเกต แล้วค้นหาข้อมูลจากเอกสารตำรา บางครั้งต้องไปบ้านครูภูมิปัญญาผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ

ทุกๆ ครั้งที่เสร็จสิ้นกิจกรรมในพื้นที่ เราจะมาทบทวนบทเรียนที่ได้รับจากการลงพื้นที่แต่ละครั้ง การเน้นให้นักเรียนมีการจดบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างทั้งเรื่องที่เป็นคำถาม ทั้งสิ่งที่เห็น สิ่งที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนความประทับใจ เป็นการปลูกฝังและฝึกฝนทักษะการเขียนไปในตัว

หลาก หลายเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ กระตุ้นความน่าสนใจที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดประเด็นใหม่ๆ มากมาย เช่นในพื้นที่ป่าพรุคันธุลีมีการศึกษาค้นคว้าเรื่องสภาพดินน้ำในป่าพรุ เรื่องพืชที่มีความสำคัญกับชุมชน พืชที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตในป่าพรุ และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าพรุ เป็นต้น สำหรับอ่าวท่าชนะ มีการศึกษาเรื่องพืชที่ช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งป่าชายเลน สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน และเครื่องมือประมงพื้นบ้าน เป็นต้น

ที่ มา http://thaivolunteer.org/myweb/index.php?option=com_content&view=article&id=161:-2&catid=13:2011-07-09-14-04-31&Itemid=18