บทสัมภาษณ์ คุณกรรณิการ์  ควรขจร ผู้อำนวยการมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2551 ณ. ที่ทำการมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

1. ลักษณะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาสาสมัคร/การจัดการอาสาสมัคร
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2523 งานอาสาสมัครเริ่มแรกเรียกว่าอาสาสมัครเต็มเวลา เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวเข้ามาทำงานอาสาสมัครโดยมีวาระการ ทำงาน 1-2 ปีเต็ม โดยทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาสังคมของเอกชนต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการที่ต้องการให้คนหนุ่มสาวได้ทำงานเพื่อสังคมและฝึกฝน ตนเอง พัฒนาตนเองเพื่อทำงานให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมในองค์กรพัฒนาเอกชนมีบุคคลากรในการทำงาน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง มอส. กับองค์กรนั้นๆ
ในกระบวนนั้น เราต้องหาองค์กรที่พร้อมที่จะรับอาสาสมัครเข้าไปปฏิบัติงาน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ คัดเลือกคนหนุ่มสาวที่มีความสนใจ ซึ่งการคัดเลือกนั้นก็จะมีตั้งแต่การเขียนใบสมัคร การสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์ร่วมกับองค์กรที่จะรับอาสาสมัคร รวมทั้งมีการจัดอบรมเป็นระยะ เริ่มตั้งแต่ก่อนออกไปปฏิบัติงาน ระหว่างการทำงาน ซึ่งจะเป็นเรื่องของการสรุปบทเรียนข้อเสนอเพื่อนำไปปฏิบัติ การติดตามการปรับตัว มองให้ชัดว่างานอาสาสมัครคืออะไร เพื่อเขาจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เมื่อสิ้นสุดวาระการทำงาน โดยเฉลี่ยในระยะเวลา 2 ปี จะมีการอบรม 5 ครั้ง และช่วงสุดท้ายจะต้องมีการเขียนรายงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุมที่จุฬาฯ ด้วย และมีเงื่อนไขว่าเวลา 70% อาสาสมัครจะต้องอยู่ในพื้นที่ เพื่อลงไปคลุกกับปัญหาที่มี ดังนั้นงานที่ทางมอส.ทำนั้นเห็นว่าเป็นการสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชน และสังคมด้วย
จุดเน้นที่ทาง มอส. ให้ความสำคัญนั้นประกอบด้วยเรื่อง 3 เรื่อง ในส่วนของการส่งเสริมให้เป็นคนที่มีความคิดเพื่อสังคม แม้จะครบวาระการเป็นอาสาสมัครแล้ว ไม่ว่าเขาจะไปอยู่ส่วนไหนของสังคม ไปทำงานอะไรก็ตาม แต่ก็หวังว่าสิ่งที่เขาได้รับจะหล่อหลอมจิตใจเขาให้ทำอะไรเพื่อสังคมได้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ไม่ว่าเข้จะไปทำงานก็เรียนรู้ ไม่ว่าเจอปัญหาก็เรียนรู้ ซึ่งเป็นกระวนการที่จะสะสมภายในจิตใจ ซึ่งการมาสรุปบทเรียน ถอดบทเรียนก็จะเป็นการชี้ให้เขาเห็นถึงภาวะของสังคม ภาวะของตนเอง เพื่อให้เกิดความมั่นคง หรือแรงบันดาลใจในการทำงานต่อไป
ในการส่งอาสาสมัครออกไปทำงาน 1 รุ่น จะมีประมาณ 20 -25 คน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป อาจจะเป็นเรื่องผู้หญิง เรื่องเด็ก เรื่องเอดส์ เรื่องสลัม ดังนั้นรูปแบบของการอบรมจึงมีทั้งการอบรมร่วมกัน บางครั้งก็ต้องมีการอบรมเฉพาะตามประเด็น ซึ่งเป็นการดูในเรื่องของประเด็นและความพร้อมของอาสาสมัครด้วย
เมื่อลงไปในพื้นที่องค์กรในพื้นที่นั้นก็จะเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลเป็นพี่ เลี้ยงโดยตรง ซึ่งเป็นเหมือนการทำงานร่วมกันแต่แบ่งบทบาทหน้าที่กันดูแล แม้บางส่วน มอส.จะไม่ได้ทำร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ แต่ก็จะพยายามเชื่อต่อด้วยการสื่อสารในกระบวนการที่องค์กรในพื้นที่ไม่สะดวก ที่จะมาเข้าร่วมได้ เช่น การอบรม ก็จะบอกถึงเนื้อหาการอบรม รูปแบบ เป็นต้น เพื่อองค์กรในพื้นที่จะได้รับลูกต่อไปได้ ซึ่งบางครั้งก็เกิดปัญหาในเรื่องของบทบาทของแต่ละฝ่าย ตัวอาสาสมัครก็ไม่เข้าใจบทบาทขององค์กรในพื้นที่ ตัวองค์กรในพื้นที่ก็ไม่เข้าใจบทบาทของตัวอาสาสมัคร ซึ่งเป็นช่วงของการปรับตัว
เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ทางมอส.เริ่มที่จะมีโครงการอาสาสมัครนอกเวลาขึ้น เนื่องจากบางคนนั้นต้องการที่จะทำงานอาสาสมัครแต่ไม่สามารถทำเต็มเวลาได้ โดยมีทีมดูแลเพื่อส่งเสริมให้คนข้างนอกได้เข้ามาทำงานอาสาสมัคร เช่น ในปี 2551 ได้รับทุนสนับสนุนการทำกิจกรรมจาก UPS. เพื่อทำกิจกรรมสร้างสื่อ โดยเรียกว่าอาสาสมัครสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมแบบนี้จะขึ้นอยู่กับความพร้อมของมอส. ว่าจะสามารถจัดกิจกรรมอะไรได้บ้าง จึงไม่มีการกำหนดรุ่น บางครั้งเราก็ไปร่วมกับเครือข่ายพฤติกา เครือข่ายสุขแท้ เป็นต้น
ในเรื่องของการบริหารจัดการในส่วนของอาสาสมัครเต็มเวลานั้นค่อนข้างที่จะ ชัดเจน มีการกำหนดช่วงระยะเวลาการรับสมัคร การปฐมนิเทศ การฝึกอบรมที่ชัดเจน โดยมีทีมงานดูแล 3-4 คน โดยมีวาระการทำงาน 1-2 ปี ในส่วนของอาสาสมัครนอกเวลา จะมีผู้ดูแล 1-2 คนที่จะเป็นผู้วางแผนว่าจะจัดกิจกรรมอะไร มีกระบวนการอย่างไรบ้าง โดยมีหลักว่าตัวอาสาสมัครนั้นจะต้องได้เรียนรู้พื้นที่ ปัญหา หรือชุมชนที่เขาไปร่วมกิจกรรม ได้ทำกิจกรรมจริง และสุดท้ายควรที่จะมีการสรุป ได้สะท้อนความรู้สึก หรือสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนที่ที่เราจะพาเขามา พาให้เขาเข้าใจ และพาให้เขาถอดบทเรียน ซึ่งการจัดแผนนั้นจะมีความยืดหยุ่นกว่า โดยไม่ได้มีการกำหนดประเด็นอะไรลงไป แต่จะมีการกำหนดประเด็นของแต่ละปีว่าจะดูเรื่องใด เช่น ปีนี้จะมีประเด็นในเรื่องของการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้
โดยส่วนตัวเห็นว่าการทำงานเพื่อส่งเสริมให้คนเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครได้ นั้น จะต้องมีหลักอยู่เหมือนกันว่าถ้าเราอยากให้เขามาเป็นอาสาสมัครนั้นต้องมี กระบวนการที่ทำให้เขาเข้าใจเอง ไม่ใช่ไปบอกเขา ดังนั้นการพาเขาเข้าไปเรียนรู้ หรือเข้าไปเห็น ปัญหาในพื้นที่นั้น จากประสบการณ์จริง เขาเองก็จำเป็นที่จะต้องมองให้เห็นชัด มีกระบวนการแลกเปลี่ยนกับพื้นที่ด้วย ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางความคิดและจิตใจของอาสาสมัครเอง ซึ่งต่อไปเขาอาจจะไปร่วมทำกิจกรรมอื่นไม่ใช่ที่นี้ หรือมีการรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ ได้เอง รวมถึงอาสาสมัครเต็มเวลาก็มีแนวคิดนี้เช่นกัน สิ่งที่ตัวอาสาสมัครได้จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และถ้าสามารถที่จะขยาย เผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นทางเวปไซด์ ออกไปได้ก็จะยิ่งสร้างประโยชน์ได้อย่างมาก แม้เราจะมองไม่เห็นก็ตาม
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีโครงการรับสมัครอาสาสมัครเฉพาะทาง เช่น นักกฎหมาย เพราะเราได้ไปพบปัญหาที่ชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบ การรุกล้ำที่ทำกิน ประเด็นไร้สัญชาติ ดังนั้นจึงคิดว่าในนักนิติศาสตร์ได้เข้ามาเรียนรู้ และช่วยผู้ที่ประสบปัญหา จึงเป็นการเพิ่มการเรียนรู้ และช่องทางที่มากขึ้น ไม่ใช่แค่นักกฎหมายเท่านั้น ทุกอาชีพที่เรียน ควรที่จะได้มีโอกาสได้มารู้ถึงปัญหาจริงๆ เพื่อเขาเองจะได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาได้อย่างเป็นประโยชน์ มหาวิทยาลัยที่อยากจะให้เด็กนั้นมีประสิทธิภาพ ก็ควรที่จะมีโครงการในเรื่องแบบนี้ ซึ่งต้องมากกว่าการออกค่าย เพราะสิ่งนี้จะเป็นฐานในชีวิตของเขาเลยที่เดียว เพราะทุกปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวโยงกับเราทั้งสิ้น ดังนั้นเราทุกคนควรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ โดยส่วนตัวเห็นว่าผู้ที่จบมหาวิทยาลัยก่อนที่จะเริ่มทำงานควรที่จะมีโอกาส เข้ามาทำงานอาสาสมัครก่อนเริ่มทำงาน ระยะเวลาที่ทำก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน อาจจะ 1 สัปดาห์ 1 เดือน  1 ปี สถาบันการศึกษาจึงควรที่จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย โดยจะต้องให้เข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริงด้วย ซึ่งก็เห็นข้อจำกัดมากกมาย เช่น ระเบียบ งบประมาณ บุคลากร และเดี๋ยวนี้อาจารย์ก็รับสอนพิเศษมากจนอาจจะไม่มีเวลามาทำเรื่องแบบนี้

2. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานส่งเสริม / สนับสนุนงานอาสาสมัคร
ถ้าดูตั้งแต่เริ่มเข้ามาเป็นอาสาสมัครกับมอส. ได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ประจำของมอส. ซึ่งเป็นการทำงานกับมอส.ตลอด แต่ประเด็นของงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป เช่นเมื่อเริ่มเข้ามาใหม่ๆ ก็จะเป็นผู้ที่จัดกระบวนการ แล้วได้ลาไปเรียน 2 ปี พอกลับมาก้มาทำประเด็นรณรงค์และเผยแพร่ และเป็นที่ปรึกษาในส่วนงานของอาสาสมัคร และเข้ามาสู่งานบริหารมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันได้เป็นผู้อำนวยการ แต่ที่จริงฐานงานก็เป็นเรื่องของงานอาสาสมัครแต่เป็นการดูในภาพรวม และมองในเรื่องของการพัฒนาโครงการ บางครั้งก็ไปร่วมกิจกรรมด้วย แต่บทบาทก็เหมือนมีทีมมากขึ้น ดูว่าเราจะบริหารทีมอย่างไร ซึ่งช่วยให้เรามีฐานความเข้าใจในการบริหารงานได้มากขึ้น แต่ NGOs นั้นคนเขาไม่อยากเป็นผู้บริหารกันหรอก เพราะมันจะเหนื่อยมากกว่าการทำงานปฏิบัติการ เพราะNGOs ส่วนใหญ่นั้นจะต้องหาทุนไปด้วย ทำงานไปด้วย ซึ่งเมื่อมีตำแหน่งสูงๆ จะต้องมีหน้าที่ในการดูแลติดตามมากขึ้น ทำให้ไม่ได้ลงฐานปฏิบัติการจริงๆ เท่าไหร่ แต่มันก็ต้องทำปฏิเสธไม่ได้

3.    จุดเริ่มต้นของการทำงาน/การเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานาสาสมัครหรือการจัดการอาสาสมัครเพื่อสังคม
จุดเริ่มต้นของตัวเองนั้นเริ่มจากการเป็นอาสาสมัครที่มอส. รุ่นที่ 2 ในปี 2524-2525 โดยทำงานมีวาระ 2 ปี ทำงานในชนบท 1 ปี ทำงานในเมือง 1 ปี หลังจากนั้นก็ไปช่วยงานที่อื่นอีกนิดหน่อย และก็กลับเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่เต็มตัว ในปี 2526 เนื่องจากที่เราได้มีโอกาสได้เป็นอาสาสมัครก็ได้เรียนรู้อะไรในพื้นที่เยอะ และเห็นว่าเป็นงานที่มีความน่าสนใจ ในตอนที่สมัครเป็นอาสาสมัครครั้งแรกก็คิดว่าอยากจะลองทำงานอาสายาวๆ ดูหน่อย แม้เราจะเคยออกค่ายมาบ้างในตอนเรียน เมื่อลงไปทำจริงๆ ก็เห็นว่ามันก็มีกระบวนการทำงานที่เป็นการพัฒนาตัวเราเองด้วย อีกด้านก็เป็นการช่วยสังคมด้วย รากฐานความคิดแบบนี้ก็เริ่มที่จะเกาะติด แต่เมื่อตอนที่มาสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้คิดจะอยู่ยาวแบบนี้หรอก ก็เห็นว่ามันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเมื่อเราครบวาระการเป็นอาสาสมัครแล้วพี่ เขาก็มาชวนเป็นเจ้าหน้าที่ ก็ลองดูและเป็นการทำงานที่ต่อเนื่อง แม้จะมีบางช่วงที่ลาไปเรียน แต่ก็คิดว่าคงไม่เปลี่ยนไปสายไหนแล้ว

4. ทัศนคติ/แนวคิด ที่วิเคราะห์สถานการณ์การทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคมของประเทศไทย
ในอดีตเรื่องของงานอาสาสมัครเราจะเห็นภาพชัดในหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงาน เอกชนบางแห่งที่มีชื่อเสียงใหญ่ๆ เช่น อาสาสมัครร่วมกตัญญู อาสาสมัครปอเต๊กตึ้ง อาสาสมัครของกาชาด ของสาธารณสุข แต่กระแสของอาสาสมัครที่สูงขึ้นมาก เราจะเห็นได้ชัดจากช่วงสึนามิ ปลายปี 2547 ที่คนเข้าไปช่วยปัญหา และได้เรียนรู้จากตรงนั้นเยอะ ทำให้เกิดจิตใจที่อยากช่วยเหลือ ซึ่งเชื่อว่าจิตใจที่อยากจะช่วยเหลือนั้นมีอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาจึงเห็นได้ชัด และจากตรงนั้นก็มีความต่อเนื่อง มีหลายองค์กรที่อย่างจะเชื่อมต่อกระแสตรงนั้นให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนั้นคิดว่าก็เป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายจิตอาสาเหมือนกันที่จะ กระจานเรื่องนี้ต่อไป อีก 1-2 ปีก็ถูกให้เป็นวาระแห่งชาติที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ ความสำคัญ โดยมีศูนย์ที่เรียกว่าศูนย์อาสาและช่วยเหลือสังคมเกิดขึ้นในกระทรวง เป็นศูนย์ที่พยายามช่วยในเรื่องของอาสาสมัคร แต่ที่จริงแล้วการรวมตัวกันจนเป็นเครือข่ายจิตอาสานั้นพยายามที่จะเป็นภาคี ที่ไม่ใช่ภาครัฐ แต่กำลังคนที่เข้าไปช่วยงานให้ภาครัฐนั้นก็เป็นกำลังคนจากเครือข่ายจิต อาสาตรงนี้ค่อนข้างเยอะในส่วนของตัวบุคคล
ในส่วนขององค์กรเอกชนหลายๆ หน่วยงานก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของอาสาสมัคร และผลักดันในกระแสของจิตอาสานั้นสูงขึ้น ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น กระบวนการในช่วง 2-3 ปีนี้ช่วยให้มุมมองของอาสาสมัครนั้นดีขึ้น มีzผู้สนใจเข้ามาทำงานอาสาสมัครมากขึ้นรวมทั้งกระแสที่เรียกว่า CHR – Corporate Social Responsibility  ซึ่งภาคธุรกิจให้ความสำคัญในมุมของสังคมมากขึ้น หรือการทำงานก็มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น มีการเผยแพร่ต่อพนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เพราะฉะนั้นภาคธุรกิจก็จะให้พนักงานมาทำงานอาสาสมัครมากขึ้น ดังนั้นการตื่นตัวทั้งในภาคธุรกิจ ภาครัฐ และองค์กรที่ทำงานในเรื่องของอาสาสมัครก็ทำงานได้คล่องตัวขึ้น
ดังนั้นจึงเห็นว่าภาพรวมนั้นดีขึ้น และจะเป็นกระแสที่ต่อเนื่องไปได้ เพราะถ้าภาคธุรกิจขานรับความรับผิดชอบต่อสังคม ภาครัฐส่งเสริมในเรื่องของตัวอาสาสมัคร ภาคประชาสังคมก็ให้ความสำคัญเป็นหัวใจของการทำงานเช่นนี้ เรื่องของอาสาสมัครก็จะกระจายไปได้ดี

5. มุมมองต่อการพัฒนากลไกหรือระบบการทำงานอาสาสมัคร/การจัดการอาสาสมัครโดยภาพรวมของประเทศไทย
ในเรื่องของระบบการจัดการอาสาสมัคร ในภาพรวมรัฐนั้นจะมีศูนย์การให้ แต่บางครั้งการรวบรวมข้อมูลของอาสาสมัครของภาครัฐนั้นก็ไม่สามารถที่จะนำไป ปฏิบัติการได้ ยังคงต้องมีหน่วยเชื่อมโยงข้อมูลที่มีกับการปฏิบัติการจริง ซึ่งภาครัฐก็มีข้อจำกัดในเรื่องของกำลังคนและระบบระเบียบ ทำให้การขยับตัวของหน่วยงานที่เป็นภาพรวมนั้นช้า ดังนั้นจึงมองว่าการเกิดขึ้นของเครือข่ายจิตอาสานั้นเป็นความพยายามที่จะทำ สิ่งที่เรียกว่า matching คือทำพื้นที่อย่างที่ผ่านมาก็จะทำเรื่องของ แผนที่คนดี แผนที่ความดี ทำความดีเพื่อนายหลวง ซึ่งต้องใช้ทุนเยอะแต่ก็เป็นสิ่งที่ได้รับการตอบรับกลับมา
ในมุมมองส่วนตัวจึงเห็นว่าในภาคเอกชนนั้นจะมีความคล่องตัวในเรื่องนี้สูงก ว่า แต่ถ้าจะส่งเสริมในเรื่องของงานอาสาสมัครให้กว้าง ควรจะมีกลไกหลายๆ ตัวในการทำงาน ไม่ใช่ฝากไว้ที่ภาครัฐเพียงอย่างเดียว หรือศูนย์อันหนึ่งอันใดเพียงแห่งเดียว แต่ต้องเชื่อมโยงกันในเรื่องของการเรียนรู้ ในหน่วยงานที่ต้องอาศัยอาสาสมัครที่ต้องมีความรู้ความชำนาญเฉพาะ เช่น อสม. คุมประพฤติ ซึ่งจะบวนกระบวนการที่ชัดเจน มีระบบในการคัดเลือก อบรม ติดตาม ที่ชัดเจน ซึ่งเห็นว่าจะหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่บางกิจกรรมที่คนที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครมีมากกว่า 1 จุด ก็จะสามารถกระจายได้มากกว่าจุดใดจุดหนึ่ง แต่ก็จะมีหน่วยหนึ่งที่ทำในภาพรวมหรือข้อมูล และสามารถที่จะบอกในภาพรวมได้ และเป็นหน่วยงานที่เผยแพร่แก่บุคคลที่สนใจ ดังนั้นควรที่จะกระจายให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดพื้นที่ในการเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วม และมีศูนย์รวมอยู่แต่ละจังหวัดด้วย เพื่อไม่ต้องรอทางกรุงเทพฯ เพียงที่เดียว และอาจจะมีการเรียนรู้ระหว่างจังหวัดได้ด้วย โดยหน่วยงานในพื้นที่ก็จะต้องให้ความร่วมมือด้วย ซึ่งสิ่งนี้ก็กำลังมีกระบวนการเกิดขึ้น แต่ถ้าส่งเสริมมากว่านี้ต้องมองว่าเป็นการหนุนเสริมกันและกันมากกว่าที่จะ มองว่าเป็นภาระ พื้นที่การเรียนรู้ก็จะน้อย ดังนั้นการส่งเสริมควรที่จะมีทั้งในตัวองค์กรที่ส่งอาสาสมัคร ตัวอาสาสมัคร และหน่วยงานในพื้นที่ ในชุมชนด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาความเข้าใจไปด้วยกัน
ในขณะนี้การหาคนอาจจะไม่ยาก แต่ในส่วนขององค์กรที่จะรับต่อนั้นอาจจะต้องอาศัยความเข้าใจ บางองค์กรเข้าใจก็เป็นเรื่องง่ายที่ตัวอาสาสมัครจะได้เรียนรู้ บางองค์อาจจะรู้สึกว่ามาทำๆ ไป แล้วก็เสร็จไป มันไม่ได้พร้อมไปทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริมให้มาก ซึ่งมองว่าทิศทางมันกำลังดีขึ้น แต่ก็ต้องมีการเผยแพร่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าสามารถสร้างให้คนในสังคมรู้สึกว่า เขาจะต้องมาเป็นอาสาสมัครอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ให้มันเป็นวัฒนธรรม ให้มองเห็นประโยชน์ของผู้อื่น เห็นประโยชน์ของส่วนร่วมก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ทำให้สังคมโดยรวมนั้นดีขึ้น รวมทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ศูนย์ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็ต้องเป็นหน่วยงานที่รวบรวมองค์กรที่เปิดรับ พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่รวบรวมระบบการจัดการทั้งหมด รวบรวมองค์ความรู้ที่หน่วยงานต่างๆ เคยทำไว้ มีประสบการณ์ หรือเข้าไปศึกษามีส่วนร่วมในบางช่วงถ้าทำได้
ดังนั้นกลไกควรที่จะมีหน้าที่ในเรื่องของ matching จับคู่ คือให้เห็นข้อมูลพื้นที่ที่จะไปเป็นอาสาสมัครได้ กลไกที่พร้อมจะรับคนเข้ามาเป็นอาสาสมัครได้ ตัวกลไกก็ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล เผยแพร่ เชื่อม และมีหน่วยงานที่กระจายในแต่ละพื้นที่ และมี่การเชื่อมระหว่างพื้นที่ด้วย โดยในเรื่องของบุคลากรที่จะเป็นตัวหลักนั้นเห็นว่าขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็น คนทำ เช่น ถ้ากระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นแกนำแล้วสั่งไปที่แต่ละจังหวัด จังหวัดก็จะต้องมีกลไกขึ้นมารองรับเรื่องนี้ได้อยู่แล้ว ซึ่งแต่ละจังหวัดไม่จำเป็นต้องทำเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละจังหวัดไป เพราะมันจะต้องไม่ขึ้นแก่ขึ้น แต่เป็นการทำงานร่วมมือกันมากกว่าในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร

6.  ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
เมื่อเราจะทำเอกสารในเรื่องของอาสาสมัครนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง นั้นต้องคำนึงว่าเอกสารที่ออกมานั้นต้องการที่จะให้เป็นประโยชน์กับใคร เพราะแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการในเรื่องของมูลไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าต้องการให้มีคนเข้ามาร่วมในงานอาสาสมัครมากขึ้น ก็ต้องทำออกมาให้ได้ว่าเมื่ออ่านจบแล้วเกิดความรู้สึกอยากทำทันที ดังนั้นต้องมีการดึงประเด็นออกมา ต้องมีหลักคิดในการทำ โดยส่วนตัวเห็นงานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์กับองค์กร หรือผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของอาสาสมัครอยู่แล้ว มากกว่าจะเป็นกลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้เลย ซึ่งการรวบรวมแนวคิดในเรื่องของการจัดการอาสาสมัครนั้นจะเป็นประโยชน์มาก โดยพุ่งเป้าไปที่องค์กรที่สนใจในเรื่องของการพัฒนากลไกการทำงานอาสาสมัคร