หลักการและเหตุผล
โครงการ “โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่” หรือ “Active Citizen” ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือโครงการที่มุ่งเน้นเปลี่ยนคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า “Gen ME” ให้เป็น “GenA” หรือ Generation Active หรือเป็นพลเมืองที่มีจิตอาสา มีความคิดสร้างสรรค์ มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมมาหลายปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษกิจดิจิตอล (Digital Economy) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล
ดังนั้น เขตอุตสาหกรรมฯจึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการ “Active Citizen : Geek so Good” ซึ่งเป็นการบ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยน่าอยู่ และมุ่งเน้นผู้เข้าร่วมโครงการในกลุ่มนักเทคโนโลยีคนรุ่นใหม่ให้สร้างนวัต กรรมอย่างสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรม การให้คำปรึกษาเพื่อผลักดันให้ผลงานพร้อมที่จะขยายผลใช้งานได้จริง และทุนสนับสนุนสำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- สร้างความตระหนักให้แก่เยาวชนถึงปัญหาสังคม และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างสร้างสรรค์
- ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
- พัฒนาบุคคลากร สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคม
- เกิดนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างสร้างสรรค์
ระยะเวลาของโครงการ
1 สิงหาคม 2558 – 31 กรกฎาคม 2559
รายละเอียดโครงการ และแผนการดำเนินงาน
โครงการบ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการ เปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์ และเฟ้นหาสุดยอดไอเดียสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมไทยอย่างแท้จริง
ประเด็นสังคมสำหรับบ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยี
- สุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ อาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น
- ความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การเข้าคิว วินัยการจราจร การทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น
- สิ่งแวดล้อม เช่น ความสะอาด มลภาวะ ขยะ น้ำเสีย เป็นต้น
- หรือประเด็นอื่นๆที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์
กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน นิสิต-นักศึกษา ระดับปวส. ปริญญาตรี โท เอก จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ หรือผู้สนใจทั่วไป
- อายุ 20 – 28 ปี
กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการเข้าร่วมกิจกรรมฯ
- ผู้ที่สนใจรวมกลุ่ม โดยมีจำนวนสมาชิกในทีมพัฒนาผลงาน 2-4 คนต่อทีม
- สมาชิกในทีมควรประกอบไปด้วย นักคิด นักสร้างสรรค์ นักการตลาด-ประชาสัมพันธ์ โดยต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1 คน มีความรู้ ความสามารถการพัฒนาชิ้นงานเทคโนโลยีได้
- ทีมผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถพัฒนาผลงานภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่ละเมิดทรัพสินทางปัญญาของผู้อื่น
- ทีมนักพัฒนาที่มีความรับผิดชอบ มีความตั้งใจ มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม สามารถพัฒนาผลงาน และนำเสนอผลงานตามเงื่อนไข กติกา และระยะเวลาที่กำหนดได้
การรับสมัครและคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
- รับสมัครผ่านทางเวบไซต์ www.swpark.or.th/geeksogood
- คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ และไอเดียนวัตกรรมเทคโนโลยี
- ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกประกาศผลทางเวบไซต์
ค่าใช้จ่ายเข้าร่วมโครงการ
ไม่มีค่าใช้จ่าย
แนวทางการทำกิจกรรม แบ่งเป็น 5 กิจกรรมย่อยดังนี้
1. กิจกรรม “3 Days Startup Ideas : สมรภูมิไอเดียเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์”
กิจกรรมค้นหาสุดยอดไอเดียการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ดังนี้
รายละเอียดกิจกรรมฯ
- ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน (ศุกร์-อาทิตย์)
- ปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการฯ ชี้แจง อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการฯ
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม สร้างแรงบันดาลใจ อบรม-เวิร์คชอป LEAN CANVAS
- ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้เข้าร่วมโครงการฯ นำเสนอไอเดีย “การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม”
- ทุนสนับสนุนการสร้างต้นแบบนวัตกรรม 10 แนวคิด ทีมละ 20,000 บาท* พร้อมประกาศนียบัตร และได้รับสิทธ์เข้าร่วมกิจกรรม “Social Innovation Apprentice : กิจกรรมบ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้าง สรรค์” ต่อไป
* ทุนสนับสนุนการสร้างต้นแบบนวัตกรรม 20,000 บาท ได้รับวัน Demo Day
ข้อกำหนดและเกณฑ์การประเมิน
ข้อกำหนด
- ทีมผู้เข้าร่วมโครงการฯต้องนำเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คสำหรับใช้ในการฝึกอบรม เวิร์คชอป และนำเสนอไอเดีย อย่างน้อยทีมละ 1 เครื่อง
- ทีมผู้เข้าร่วมโครงการต้องร่วมกันคิดไอเดียนวัตกรรม โดยไม่ละเมิดทรัพสินทางปัญญาของผู้อื่น
- ทีมผู้เข้าร่วมโครงการเตรียมนำเสนอไอเดีย ภายในระยะเวลาที่กำหนด
เกณฑ์การให้คะแนน
- ความคิดสร้างสรรค์ / ผลกระทบต่อสังคม / ความโดดเด่นของชิ้นงาน (30%)
- ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงอย่างยั่งยืน (30%)
- ความเป็นไปได้ในการพัฒนานวัตกรรม / การใช้เทคโนโลยี (20%)
- กลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์สู่สังคม (20%)
หมายเหตุ : ข้อกำหนด และเกณฑ์การให้คะแนนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
การสนับสนุนการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมเทคโนโลยี
- ทุนสนับสนุนการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมทีมละ 20,000 บาท
- สิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรม “บ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์ Social Innovation Apprentice”
- การสนับสนุนอื่นๆจากหน่วยงานพันธมิตร และผู้ให้การสนับสนุน
- สิทธิ์การเข้าใช้พื้นที่สำนักงานตลอดระยะเวลาของโครงการ
2. กิจกรรม “Social Innovation Apprentice : บ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์”
รายละเอียดกิจกรรมฯ
- ระยะเวลากิจกรรม 4 เดือน
- กิจกรรม Social Innovation Boot Camp (4วัน3คืน)
- กิจกรรมภาคสนามอบรม-เวิร์คชอป รวมถึงลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ใช้งานจริง โดยมีหัวข้อการอบรมดังนี้
– Customer Segmentation
– Idea Verification
– Rapid Prototyping
– Pitching Workshops
- กิจกรรมให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- กิจกรรมติดตามผลความก้าวหน้าการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม
- สนับสนุนการใช้งานพื้นที่สำนักงาน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาจากผู้ให้การสนับสนุน
3. กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อสร้างแรงบันดาลในการทดสอบแนวคิดนวัตกรรม
- กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลเช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น
- ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานต่างๆเกี่ยวข้อง
- ศึกษาดูพื้นที่ สภาพปัญหาจริง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม
- สรุปผลข้อมูลที่ได้ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม
4. กิจกรรม “นำเสนอผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยี : Demo Day”
รายละเอียดกิจกรรมฯ
- นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ นักลงทุน และหน่วยงานเป้าหมายที่จะนำไปใช้งานจริง
- ระยะเวลาการนำเสนอ 10 นาที ถามตอบ 10 นาที
- ประกาศผล และมอบทุนสนับสนุนการขยายผลนวัตกรรมเทคโนโลยีสู่สังคม ทุนละ 50,000 บาท 4 โครงการ โล่เกียรติยศ และประกาศนียบัตร พร้อมเชิญสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยาน
เกณฑ์การประเมิน
- ความคิดสร้างสรรค์ / ผลกระทบต่อสังคม / ความโดดเด่นของชิ้นงาน (30%)
- ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงอย่างยั่งยืน (30%)
- ความสมบูรณ์ / การใช้เทคโนโลยี (20%)
- กลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์สู่สังคม (20%)
หมายเหตุ : ข้อกำหนด และเกณฑ์การให้คะแนนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
5. กิจกรรมเผยแพร่ชิ้นงานของเยาวชนผ่านสื่อสาธารณะ
- แถลงข่าวผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีต่อสื่อมวลชน
- เผยแพร่ผลงานของเยาวชนผ่านพันธมิตรของซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. และ สสส. เช่นเว็บไซต์ เฟซบุ๊ค Newsletter เป็นต้น
สำหรับใครที่มีความสามารถด้