ใน วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุก วัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการมนุษย์ที่เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดีๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น
สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่ว โลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ
โดยเรียกการประชุมนี้ว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” หรือ “UN Conference on the Human Environment” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme)
ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
ข้อมูลจาก กระปุกดอทคอม
นอกจากนี้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี ยังเป็น วันชาวนา อีกด้วย
ครม.มีมติกำหนดให้ วันที่ 5 มิ.ย.ของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงให้ความสำคัญกับชาวนา
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอมาว่า เป็นการดำเนินตามยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2550 – 2554 ซึ่งได้มีการยกร่าง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพานิชย์ ได้มีการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนหลายครั้ง
ดังนั้น ครม. จึงได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 6 พฤกษาคม 2552 ซึ่งการเห็นชอบให้วันข้าวและวันชาวนาห่างชาติเป็นการเฉพาะ แยกจากวันเกษตรกร โดยมีเหตุผล เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของข้าว พร้อมทั้งเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวนา ซึ่งเป็นผู้สืบทอดการปลูกข้าวในอนาคต รวมทั้งการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนเป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เนื่องจาก วันที่ 5 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการทำนา ที่อำเภอบางเขน และทอดพระเนตรกิจกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งได้ทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เองที่แปลงนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานต่อชาวสยาม และข้าวไทย ซึ่งเป็นวาระสำคัญต่อกิจกรรมข้าวไทย
นอกจากนี้การแยกวันข้าวและวันชาวนาแห่งชาติเป็นการเฉพาะออกจากวันพืชมงคล นั้น เนื่องจากวันพืชมงคลมิได้เฉพาะเจาะจงแต่เฉพาะอาชีพการทำนาและชาวนาเท่านั้น แต่รวมการทำไร่ การทำสวนด้วย