เชื่อว่าในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ทุกคนน่าจะเคยได้ยินชื่อ “โดรน” (Drones) อยู่บ่อยครั้ง โดรนเป็นเหมือนเครื่องบินวิทยุบังคับแต่มีทรงกลมและมีใบพัดเล็กๆหลายตัว เพื่อพยุงตัวในการบินอยู่บนอากาศ โดรนถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อการศึกษาหรือความบันเทิงต่างๆ เช่น ติดกล้องเพื่อบินเก็บภาพมุมสูงเพื่อสำรวจการจราจร ทิวทัศน์ หรือพื้นที่ที่คนเข้าถึงได้ยาก เป็นต้น
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว กลุ่มวิศกรรุ่นใหม่จากห้องทดลองที่ชื่อว่า RT Lab ในเมืองเตหะราน ประเทศอิหร่าน จึงพยายามนำข้อเด่นของโดรนมาพัฒนาให้มีประโยชน์มากกว่าเดิม นั่นคือการช่วยเหลือคนจมน้ำในทะเลสาปแคสเปียน ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาคนจมน้ำเสียและชีวิตปีละหลายพันคน โดยพวกเขาพัฒนาให้เจ้าโดรนสามารถใส่ห่วงยางชูชีพเข้าไปได้ 3 ห่วงต่อหนึ่งเครื่อง และสามารถบินไปยังคนที่กำลังจะจมน้ำและปล่อยห่วงยางเพื่อช่วยเหลือคนเหล่านั้นได้ทันที
จากการทดสอบเรื่องเวลาระหว่างการเข้าช่วยเหลือของหน่วยกูภัยที่ผ่านการฝึกมาอย่างดีกับเจ้าโดรนนี้ พบว่าโดรนสามารถช่วยส่งห่วงยางชูชีพได้ในเวลาเพียง 22 วินาที ซึ่งเร็วกว่าหน่วยกู้ภัยที่ใช้เวลากว่า 91 วินาที กว่าจะเข้าถึงตัวผู้ประสบเหตุได้
ยิ่งไปกว่านั้น โดรนยังสามารถกักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ขณะไม่ได้ใช้งานและมีระบบแสงไฟอินฟาเรทเพื่อหาตำแหน่งคนจมน้ำในความมืดได้อีกด้วย โดยการทำงานจะใช้รีโมทบังคับและค้นหาเส้นทางด้วยระบบ GPS
กลุ่มผู้พัฒนาโครงการนี้ยังต้องหาทุนสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงให้การทำงานของโดรนช่วยชีวิตนี้มีความสมบูรณ์แบบก่อนนำมาใช้งานจริง โดยหวังว่าจะลดความสูญเสียจากการจมน้ำในบริเวณรอบทะเลสาปแคสเปียนได้ในอนาคต และหวังว่าจะมีอีกหลายประเทศนำไปขยายผล จนสามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วโลกได้ พวกเขากล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่ทำเกิดจากความชอบที่จะทำงานวิจัยและอยากให้งานวิจัยเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ด้วย เห็นอย่างนี้แล้ว ก็รู้สึกว่าโลกเรายังมีความหวังอยู่อีกมากเลยนะคะ smile emoticon
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://www.goodnewsnetwork.org/lifeguard-drones-built-in-i…/
และรับชมตัวอย่างการทำงานของโดรนกู้ชีพได้ในคลิปด้านล่างนี้ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=o41tBHWP_5Y