โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ระหว่างวันที่ 24 – 29 กันยายน 2561 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ที่มาของโครงการ

การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) จะบรรลุผลสำเร็จไม่ได้หากประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง การเป็นอาสาสมัครเป็นวิธีการอันทรงพลังที่จะนำผู้คนจำนวนมากเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว กระบวนการอาสาสมัครช่วยขยายขอบเขตให้ผู้คนร่วมกันกำหนดอนาคตที่ต้องการและมีส่วนร่วมในการวางแผนและการปฏิบัติงานทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยประชาชนจะได้พัฒนาความสามารถในการปรับตัว พัฒนาความรู้ของตนเอง และเกิดความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเอง อันจะนำไปสู่การเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างลึกซึ้งระหว่างผู้คน และสร้างแรงบันดาลใจให้คนในสังคมเก็นโอกาสของการ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนที่ฝังรากลึกในชุมชน  อาสาสมัครช่วยให้การสนับสนุนทางเทคนิดและสร้างเสริมศักยภาพ อาทิ การให้บริการขั้นพื้นฐานช่วยถ่ายทอดทักษะและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนกลวิธีในการปฏิบัติที่ดี อาสาสมัครระดับองค์กรอาจมีบทบาทสำคัญในด้านการเตรียมความชำนาญให้พร้อมสำหรับเข้าไปสนับสนุนการทำงานของทั้งภาครัฐหรือภาคชุมชน นอกจากนั้นอาสาสมัครยังช่วยให้ไม่มีใครถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง โดยการเข้าถึงประชาชนรวมทั้งคนชายขอบหรือคนที่ยากที่จะเข้าถึงเพื่อนำความคิดเห็นหรือความรู้จากผู้คนเหล่านั้นเข้ามาสู่การปฏิบัติงานร่วมกัน นึ่คือสิ่งที่สำคัญที่จะสร้างความเป็นเจ้าของและร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน องค์กรอาสาสมัครจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการสร้างมีส่วนร่วมซึ่งเชื่อมโยงกลยุทธิ์และโครงการด้านการพัฒนาเข้ากับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร

ความเป็นอาสาสมัครกับกระบวนทัศน์ของการพัฒนา

คุณค่าของความเป็นอาสาสมัครเกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ความสามารถของผู้ที่เปราะบางที่สุดให้ได้รับความเป็นอยู่ที่มั่นคงและเพื่อ ทำให้เกิดการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ ทางจิตวิญญาณ และทางสังคม มากไปกว่านั้น ความเป็นอาสาสมัครยังลดการกีดกันทางสังคมซึ่งมักเป็นผลมาจากความยากจน การถูกทำให้เป็นคนชายขอบในสังคม(marginalization) และความไม่เท่าเทียมกันในรูปแบบอื่นๆ  ความเป็นอาสาสมัครเป็นหนทางหนึ่งที่จะรวมคนกลุ่มต่างๆ ที่ถูกกีดกันในทางสังคมเข้ามาร่วมกัน อาทิ ผู้หญิง ผู้เยาว์ คนชรา ผู้พิการ คนย้ายถิ่น และผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ความเป็นอาสาสมัครส่งเสริมคุณค่าความเป็นพลเมือง (civic value) และการเชื่อมโยงทางสังคมของผู้คน (social cohesion) ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งที่มีความรุนแรงในทุกขั้นตอน และยังสร้างเงื่อนไขการกลับคืนสู่ความร่วมมือกันหลังจากความขัดแย้งที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น จากการสร้างความไว้วางใจ การทำงานอาสาสมัครลดความตึงเครียดที่นำไปสู่ความขัดแย้งและยังมีผลให้เกิดการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้อีกด้วย ความเป็นอาสาสมัครยังสร้างสรรค์วัตถุประสงค์ร่วมของสังคมในภาวะหลังสงคราม ในความเป็นจริงคือ ผู้คนเดินไปด้วยกันผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

ความสำคัญของงานอาสาสมัครมีขอบเขตกว้างขวาง องค์กรอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ ได้สรุปความสำคัญของ  งานอาสาสมัครว่า (volunteerism) เป็นสิ่งสะท้อนถึงระดับการการพัฒนาประเทศ และระดับของความเป็นอาสาสมัครมีผลในด้านต่างๆ อาทิ เกิดประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง อำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้การพัฒนาก้าวหน้าขึ้น ทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมโดยรวม ช่วยลดความยากจน มีการช่วยเหลือเร่งด่วนและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ดีขึ้น สร้างทุนมนุษย์ (human capital) พัฒนาความเป็นพลเมือง เป็นตัวเชื่อมชุมชนกับภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่าย เป็นต้น   โดยตัวอย่างผลกระทบด้านบวกของงานอาสาสมัครในกรณีปัญหาสำคัญๆ ได้แก่ กรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ   กรณีความขัดแย้งที่เกิดความรุนแรง เช่น สงคราม กรณีปัญหาการถูกทำให้เป็นคนชายขอบ เช่น ผู้ย้ายถิ่น ผู้หญิง เด็ก และกรณีการทำให้เกิดพัฒนาที่ยั่งยืน

ความสัมพันธ์ทางสังคมที่อยู่ภายในงานอาสาสมัครเป็นสิ่งสำคัญอย่างสูงต่อความเป็นอยู่ที่ดีของปัจเจกบุคคลและสังคม และอาสาสมัครยังเกี่ยวข้องกับคุณค่าต่างๆ นับตั้งแต่ ความสมานฉันท์ การตอบแทนซึ่งกันและกัน ความไว้วางใจต่อกัน ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และการสร้างความเข้มแข็ง ความเป็นอาสาสมัคร เป็นพื้นที่ของความพยายามของมนุษย์ ซึ่งความสำคัญของมันยังไม่ได้รับการทำความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ และเข้าร่วมอยู่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการพัฒนาในวาระเป้าหมายสหัสวรรษแห่งการพัฒนา (MDG)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

ในการประชุมสุดยอดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UNITED NATION) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ผู้นำต่างๆทั่วโลกได้รับเอาวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573  ซึ่งคลอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ทั้ง 17 ข้อ (SDGs) คือ ขจัดความยากจน, ขจัดความหิวโหย, การมีสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดี, การศึกษาที่มีคุณภาพ, ความเม่าเทียมทางเพศ, น้ำสะอาดและสุขาภิบาล, พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้, งานที่มีคุณค่า เศรษฐกิจที่เติบโต, อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน, ลดความเหลื่อมล้ำ, เมืองและชุมชนยั่งยืน, การบริโภคอย่างรับผิดชอบ, การรับมือกับสภาพภุมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง, ระบบนิเวศทางทะเลและมหาสมุทร, ระบบนิเวศบนบก, สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง, หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา  โดยให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 17 ข้อเหล่านี้ภายในปี พ.ศ. 2573  และได้กำหนดว่าการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องสร้างกลไกการมีส่วนร่วมให้ประชาชนได้ร่วมในการใช้ความสามารถของตนเองทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นและโลกด้วย กลุ่มอาสาสมัครและองค์กรอาสาสมัครต่างๆ สามารถเป็นตัวแทนของการเข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงความคิดริเริ่มระดับสถาบันด้วยการลงมือทำงานในชุมชน สิ่งสำคัญคือการทำงานอาสาสมัครควรสอดประสานกับนโยบายและแผนงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาครัฐบาลและสถาบันต่างๆ  กระบวนการอาสาสมัครจะเป็นกลไลเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมโดยคลอบคลุมประเด็นการพัฒนาที่หลากหลาย และสร้างความเข้มแข็งและความเป็นเจ้าของจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับชาติ การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยอาศัยปฏิบัติการเชิงสถาบันเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำประโยชน์แก่บุคคลอื่นๆและโลกได้ง่ายขึ้น เป้าหมายการพัฒนาทียั่งยืนไม่อาจบรรลุได้โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน หรือปราศจากความเป็นหุ้นส่วนแบบใหม่ซึ่งหมายถึงกลุ่มอาสาสมัครต่างๆด้วย โดยอาสาสมัครจะเป็นตัวแทนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ

“การเป็นอาสาสมัครสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์และสามารถดึงเอาความแข็งแกร่งจากความปรารถนาของพวกเรา ทั้งยังเชื่อมต่อเรากับบุคคลที่ต้องการเรามากที่สุด งานของอาสาสมัครกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกซึ่งอยู่เหนือพรมแดน ศาสนา และความแตกต่างทางวัฒนธรรม อาสาสมัครได้รวบรวมเอาค่านิยมหลักแห่งการอุทิศตน การมีส่วนร่วมของประชาชน และจิตสำนึกของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนนำมาปรับใช้เพื่อเป็นโอกาสหนึ่งที่ปัจเจกชนได้แสดงพลังผ่านการเป็นอาสาสมัคร เราทั้งหลายสามารถเกื้อกูลต่อวิสัยทัศน์แห่งการยุติความยากจนของวาระแห่งปี 2573 ได้ด้วยการตระหนักรู้ถึงสิ่งเหล่านี้”ส่วนหนึ่งของคำปราศัยในงานวันอาสาสมัครสากล 5 ธันวาคม 2558 โดย นาย บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ

เครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network) มีบทบาทในฐานะองค์กรกลางในการส่งเสริมงานอาสาสมัครของประเทศไทยนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 และมีเป้าหมายการสร้างระบบบริหารจัดการอาสาสมัครเพื่อเป็นกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรรับอาสาสมัครในภาคส่วนต่างๆ อันมุ่งไปสู่การแก้ไขและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน  รวมทั้งการขับเคลื่อนการพัฒนากลไกกลางระดับประเทศ “ศูนย์ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ”เพื่อทำหน้าที่ประสานงานสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ส่งเสริมการเป็นอาสาสมัครทั่วประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคม  นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้างความรู้และความเข้าใจต่อสังคมเกี่ยวกับงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาประเทศ ผ่านช่องทางการสื่อสารและกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้ ตัวอย่าง และคุณค่าของงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจแก่ประชาชนให้ตระหนักในความสำคัญของงานอาสาสมัครและออกมาเป็นอาสาสมัครหรือมีส่วนร่วมต่อการส่งเสริมการเป็นอาสาสมัครในประเทศไทย

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกเรื่องความเป็นอาสาสมัครและการมีส่วนร่วมของคนในสังคม การทำงานอาสาสมัครได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในทุกระดับและในทุกภาคส่วนของสังคม อาทิ ภาคการปกครองส่วนท้องถิ่น, ภาคการศึกษา, ภาคธุรกิจเอกชน เป็นต้น ประเทศญี่ปุ่นมีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานอาสาสมคัรมากมายหลายระดับ มีทั้งที่ทำงานเป็นเอกเทศและเชื่อมโยงกันโดยลักษณะงานที่คล้ายคลึงกัน มีองค์กรอาสาสมัครที่ทำงานส่งอาสาสมัครญี่ป่นุไปทำงานต่างประเทศ คือ หน่วยงานอาสาสมัครความร่วมมือโพ้นทะเลของญี่ปุ่น (Japan Overseas Cooperation Volunteer : JOCV) ที่อยู่ภายใต้การสนบัสนุนขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency JICA) , สภาสังคมสงเคราะห์แห่งชาติญี่ปุ่น, หน่วยงานอาสาสมัครในระดับเขตพื้นที่และชุมชน (Volunteer Center) , ศูนย์อาสาสมัครของมหาวิทยาลัย (University Volunteer Center), หน่วยอาสาสมัครภาคประชาชน (NGOs) จะเห็นได้ว่า ประเทศญี่ปุ่นมีการส่งเสริมงานอาสาสมัครอย่างกว้างขวางมาก

เครือข่ายจิตอาสามีความร่วมมือในการส่งเสริมงานอาสาสมัครระหว่างประเทศกับประเทศญี่ปุ่น โดยร่วมมือกับ สมาคมอาสาสมัครประเทศญี่ปุ่น (Japan Association of Volunteer Effort) นับตั้งแต่ปี 2557 ด้วยการจัดการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนระหว่างบุคลากรที่ทำงานด้านอาสาสมัครในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์และบทเรียนการทำงานอาสาสมัครของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย รวมถึงเกิดเครือข่ายระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาเครือข่ายจิตอาสาและสมาคมอาสาสมัครประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งหวังให้การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ดังกล่าวช่วยขยายขอบเขตการพัฒนางานอาสาสมัครของทั้งสองประเทศรวมทั้งการพัฒนาบุคลากรจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และ ภาคธุรกิจ ที่มีบทบาททำงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำงานอาสาสมัครในมิติต่างๆ  ดังนั้นในปี 2561 จึงเป็นอีกโอกาสที่จะสานต่อความร่วมมือโดยขยายกรอบความร่วมมือออกไปสู่เป้าหมายของ “การยกระดับงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นวาระและแนวโน้มการพัฒนาระดับโลก แวดวงการทำงานอาสาสมัครทั่วโลกก็ตื่นตัวและมีการพัฒนาปรับปรุงแนวทางการทำงานอาสาสมัครให้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนการทำงานของประเทศญี่ปุ่นในการยกระดับงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกสนับสนุนงานอาสาสมัครในมหาวิทยาลัย ผ่านการศึกษาดูงาน และพูดคุยกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น
  2. เพื่อสร้างสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกส่งเสริมการเป็นอาสาสมัครของประเทศญี่ปุ่น ผ่านการศึกษาดูงานและพูดคุยกับศูนย์อาสาสมัครมหานครโตเกียวและศูนย์อาสาสมัครท้องถิ่น
  3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากลไกส่งเสริมและการจัดการงานอาสาสมัครในมหาวิทยาลัยไทย
  4. เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและประเทศญี่ปุ่น

ระยะเวลาศึกษาดูงาน

ระหว่างวันที่ 24-29 กันยายน 2561 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

กลุ่มเป้าหมาย  รับจำนวน 15 คน

  • ผู้บริหาร, อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนานักศึกษาด้านการเรียนรู้และการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ, การจัดการเรียนการสอนด้วยแนวทาง Service Learning / Civic Education/Active Learning /Socially-Engaged Academics หรือผู้ที่มีความสนใจงานวิชาการเพื่อสังคมผ่านการทำงานอาสาสมัคร
  • ผู้บริหาร,บุคลากร ของหน่วยงานภาคราชการที่มีบทบาทภารกิจส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน, ส่งเสริมการทำงานอาสาสมัคร เพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชนท้องถิ่น
  • ผู้บริหาร, บุคลากร ของหน่วยงานภาคธุรกิจ ที่มีบทบาทภารกิจส่งเสริมการทำงานอาสาสมัครพนักงานองค์กร, สนับสนุนการทำกิจกรรมเพื่อสังคม และส่งเสริมบทบาทความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคสังคม
  • ผู้บริหาร,บุคลากร ของหน่วยงานภาคสังคม ที่มีบทบาทภาคกิจของการบริหารจัดการอาสาสมัคร, การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการทำงานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน และมีความสนใจในการใช้กระบวนการอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ค่าลงทะเบียน

    ท่านละ 59,000 บาท ค่าลงทะเบียนประกอบด้วย

  • ค่าบัตรโดยสารชั้นประหยัด เครื่องบินไป-กลับของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (กรุงเทพฯ – โตเกียว นาริตะ)
  • ค่าที่พัก แบบพักคู่ ณ โรงแรม Sunshine Prince Hotel Ikebukuro จำนวน 5 คืน (หากต้องการพักเดี่ยวเพิ่มอีกท่านละ 11,000 บ)
  • ค่าประกันการเดินทาง
  • ค่าเดินทางระหว่างศึกษาดูงานในกรุงโตเกียว (เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ)
  • ค่าอาหารกลางวันในช่วงวันดูงาน (25,26,27,28 กันยายน 2561)
  • ค่าอาหารเย็นรวมกลุ่มใหญ่ วันที่ 25 กันยายน 2561
  • ค่าบริหารจัดการศึกษาดูงานของเครือข่ายจิตอาสา

หมายเหตุ : ค่าลงทะเบียนไม่รวมค่าอาหารเย็นของทุกวัน ยกเว้นวันที่ 26 กันยายน 2561 และ ไม่รวมค่าเดินทางนอกเวลาศึกษาดูงาน

การสมัคร : รับสมัครถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561

ติดต่อสอบถามและสมัครโดยตรงที่ คุณปรวรรณ ทรงบัณฑิตย เบอร์โทร 084-609-4509

อีเมล์ porrawan@volunteerspirit.org  โอนเงินมัดจำ จำนวน 30,000 บาท  ภายใน 7 วัน หลังทำการสมัคร (การสำรองที่นั่งเข้าร่วมโครงการจะมีผลต่อเมื่อโอนเงินมัดจำเรียบร้อยแล้ว) และ โอนเงินค่าลงทะเบียนส่วนที่เหลือ 29,000 บาท ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2561 หากพ้นกำหนดนี้แล้ว ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินและค่าที่พักจะเพิ่มขึ้นอีกท่านละ 5,000 บาท

บัญชีสำหรับการโอนเงินค่าลงทะเบียน: ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ชื่อบัญชี “มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ เพื่อกองทุนส่งเสริมจิตอาสา” เลขที่บัญชี 043-2-66606-6

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ (กรุณาอ่านอย่างละเอียดก่อนสมัคร)

(1)   ผู้ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ควรมีความพร้อมทางด้านร่างกายและสุขภาพ เนื่องจากตลอดระยะเวลาการเดินทาง 6 วันในประเทศญี่ปุ่น เดินทางโดยขนส่งสาธารณะเป็นหลักซึ่งทำให้ต้องมีการเดินในแต่ละวันค่อนข้างมาก

(2)  ขอความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมโครงการในการดูแลตนเองเป็นพื้นฐาน เนื่องจากการจัดศึกษาดูงานโดยเครือข่ายจิตอาสา มีเป้าประสงค์หลักเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เราไม่ได้ใช้บริการของบริษัททัวร์ใดๆในการมาดูแลเพราะต้องการให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในราคาที่ประหยัดที่สุด

(3)  ขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมเนื่องจากการเดินทางและการศึกษาดูงานประกอบไปด้วยบุคคลจากหลากหลายหน่วยงานและสาขาอาชีพ รวมทั้งต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการแบ่งบทบาทดูแลซึ่งกันและกันเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและความราบรื่นตลอดระยะเวลาการเดินทาง

(3)  การตรงต่อเวลา เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากในวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลา ฉะนั้นคณะศึกษาดูงานต้องรักษาเวลาตามนัดหมายอย่างเคร่งครัด

(3)  ทางโครงการได้เตรียมล่ามแปลภาษา ญี่ปุ่น – ไทย เพื่อรับผิดชอบการแปลภาษาทั้งในการประชุมและการศึกษาดูงาน เนื่องจากภาษาหลักในการนำเสนอและพูดคุยของหน่วยงานต่างๆในประเทศญี่ปุ่น คือ ภาษาญี่ปุ่น

หน่วยงานองค์กรร่วมจัดโครงการ

องค์กรผู้รับผิดชอบโครงการ

เครือข่ายจิตอาสา Volunteer Spirit Network (ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์)
ที่ตั้งสำนักงาน : อาคาร Happy Workplace ชั้น4  เลขที่ 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เว็บไซต์ : www.volunteerspirit.org      Email: contact@volunteerspirit.org
Facebook: Volunteerspirit เครือข่ายจิตอาสา

องค์กรศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น

  • มหาวิทยาลัยเมจิกากูอิน (Meiji Gakuin University)
  • มหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน (International Christian University)
  • เครือข่ายประชาสังคมประเทศญี่ปุ่นเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Japan Civil Society Network on SDGs)
  • องค์การอาสาสมัครญี่ปุ่นเพื่อปฏิบัติการในภัยพิบัติ (Japan Voluntary Organizations Active in Disaster)
  • ธนาคารอาหาร Second Harvest Japan (Food Bank)
  • องค์กร iPledge (เอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อม)
  • บริษัท Cross Fields (บริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนางานอาสาสมัครพนักงานองค์กรธุรกิจและการพัฒนางาน CSR เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
  • สถาบัน Japan College of Foreign Languages