เรื่อง เล่าจาก”คุก” คุยกันด้วยหัวใจ

“เรือนจำ” หรือ “คุก” สถานที่คุมขังผู้กระทำผิดกฎหมาย แน่นอนไม่มีใครอยากจะเข้าไป ขาดอิสรภาพในการดำเนินชีวิต หลายคนนึกถึงภาพอันตรายและน่ากลัวอย่างไรก็ตาม เรือนจำเองต้องมีหน้าที่บำบัดเยียวยา เพื่อให้ผู้ต้องโทษเห็นและสำนึกของโทษที่เกิดจากการกระทำของตนเอง จะได้สำนึกผิดกลับตัว เมื่อพ้นโทษจะได้
กลับคืนสู่สังคมเป็นพลเมืองดีต่อประเทศชาติ

มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันทำโครงการ “คุยกันด้วยหัวใจ” ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่าน “เครือข่ายพุทธิกา” ขออาสาเข้าไปร่วมทำกิจกรรมกับ “นักโทษ” ทั้งชายและหญิง ที่เรือนจำกลางนครปฐม

โดยหวังว่ากิจกรรมจะช่วยให้พวกเขาและเธอเหล่านั้น เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ตนเองมีอยู่ รวมทั้งการมองโลกในแง่ดี คิดดี ทำดี และมีความสุขเมื่อกลับออกไปสู่
สังคมอีกครั้ง

ก่อนนำกิจกรรมและเรื่องราว ภายในเรือนจำมาถ่ายทอดให้สังคมได้รับรู้ชีวิตอีก ด้านใน “เรื่องเล่าจากเรือนจำ” ที่เรือนร้อยฉนำ
สวนเงินมีมา

พร้อมทั้งจัดนิทรรศการกิจกรรมฝีมือนักโทษ อาทิ “ภาพวาด” ที่สะท้อนและแสดงความรู้สึก และ “ต้นไม้ฝากความกังวล”       ที่เขียน
ระบายความรู้สึกลงในใบไม้

นภาพร ทองมา ผู้ประสานงานโครงการ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเข้าไปทำกิจกรรมในเรือนจำว่า         ด้วยความที่ตัวเองเป็นพยาบาล จิตเวช โรงพยาบาลนครปฐม ทุกเดือนต้องเข้าเรือนจำพร้อมด้วยจิตแพทย์ เพื่อดูแลคนไข้ที่ป่วยเป็นทางจิต แต่ศาลยังไม่ตัดสินว่าเป็นบุคคลวิกลจริต

จึงเห็นสภาพภายในเรือนจำอยู่ตลอด เมื่อทางกลุ่มริเริ่มโครงการนี้ จึงเล่าให้พยาบาลข้างในเรือนจำฟัง   ทุกคนสนับสนุนและยินดีให้
ความร่วมมือ     เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีสำหรับนักโทษสุดท้าย      จึงทำเรื่องขอเข้าไปทำกิจกรรมผ่านทางสถานพยาบาลของ เรือนจำ

นภาพรเล่าว่า กิจกรรมที่ใช้อาจหนักบ้างแต่จะมีเกมให้หัวเราะก่อนเวลาแบ่งกลุ่มหรือก่อน กิจกรรมให้ผ่อนคลายให้เบิกบานก่อนเสมอ
เช่น ออกกำลังกายแบบจีน “ชี่กง” หรือการนวดหน้าด้วยตนเอง    เรียกว่า “ทำหน้าเด้ง” กิจกรรมเหล่านี้เน้นสร้างความสัมพันธ์    และ
ความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างทีมงานกับนักโทษ

จากนั้นจึงเข้าสู่กิจกรรม    ที่เน้นเรื่องการเรียนรู้ ทุกกิจกรรมไม่บอกว่าอะไรถูกผิด เมื่อนักโทษทำกิจกรรม แล้วจะเรียนรู้และเข้าใจได้
ด้วยตัวเอง

ยกตัวอย่าง การให้นักโทษออกมาเล่าเรื่องที่อยากจะเล่า เมื่อเล่าจบ เพื่อนๆ จะช่วยกันหาความต้องการ  อีกทั้งคนที่เล่าจะได้สำรวจ
ตัวเองว่าต้องการอะไร เช่น เมื่อออกจากเรือนจำ จะประกอบอาชีพสุจริตเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ไม่ประพฤติตัวแบบเดิมอีก     เพราะไม่ อยากให้คนที่รักเสียใจ

ด้าน ศักดิ์สินี เอมะศิริ ธนะกุลมาส ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมเล่าให้ฟังว่า เข้าไปทำกิจกรรม 2 ครั้ง   แบ่งเป็นนักโทษชายและนักโทษ
หญิง อย่างละครั้ง   ครั้งละ 3 วัน   วัตถุประสงค์หลักคือการช่วยเหลือนักโทษให้เปิดใจปรับเปลี่ยนทัศนคติ       เพราะนักโทษ 3,000
กว่าคน ไม่ค่อยได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกกัน หลายคนไม่เคยพูดกันเลย      เราจึงจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เปิดใจ
แลกเปลี่ยนความคิดกัน

อย่างกิจกรรมคำนาม เราอยากให้นักโทษเข้าใจคำว่า “ความรู้สึก” หมายถึงอะไร เช่น คำว่า “แม่”   ไม่ว่าจะเป็นนักโทษชายหรือหญิง เมื่อได้ยินคำนี้จะมีความรู้สึกผูกพัน บางคนถึงกับร้องไห้ แต่ในเรือนจำไม่มีโอกาสได้พูดคุยเรื่องแบบนี้กัน พอมีโอกาสได้มาเล่าเรื่อง
พวกนี้ นักโทษจะรับรู้ว่า เพื่อนก็รู้สึกเหมือนที่ตนเองรู้สึก จะเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น      ทุกคนมีความรู้สึกในแง่บวกเมื่อพูดถึงแม
ไม่มีในแง่ลบ ถ้าจะมีในเเง่ลบ ก็เป็นตัวเองที่ทำให้แม่เสียใจ

คุยกันด้วยหัวใจ
คุยกันด้วยหัวใจ ศักดิ์สินี เล่าถึงความประทับใจในความคิดของนักโทษว่า ช่วงกิจกรรมภาพวาด แสดงความรู้สึก    จะทำให้รู้จักพวกเขามากยิ่งขึ้น   มี
นักโทษคนหนึ่งวาดรูป “กระดานหมากฮอส” และอธิบายว่า เวลาจะเดินให้คิดให้ดี ถ้าเดินผิดจะพลาดและแพ้ไปเลย     เหมือนกับตัว
เขาที่คิดผิด เดินผิด จึงมีบทสรุปอย่างนี้”  บางคนวาดภาพพระอาทิตย์ เขียนข้อความว่า This is the sun     แล้วบอกว่า สำหรับเขาทุกเย็นเวลาที่เข้านอน เขาจะหลับไปเลย
แต่ถ้าพรุ่งนี้เช้า เขาตื่นขึ้นมาแล้วเห็นแสงอาทิตย์อยู่ เขามีความหวังว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อวันต่อไป      เพราะเขาติดนานที่สุดในเรือนจำ
คือ  8 ปี อีกไม่นานคนที่เขารู้จักก็จะออกไปหมด แล้วเขาจะอยู่ด้วยอะไร แสงอาทิตย์จึงเป็นทั้งเพื่อนและความหวังของเขา”
ศักดิ์สินี กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีคำศัพท์เฉพาะที่นักโทษใช้กัน อาทิ จดหมายน้อย, ตักเม และ ใต้ราว ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตในคุกได้เป็นอย่างดี

ศักดิ์สินีอธิบายว่า    จดหมายน้อย   หมายถึง     จดหมายที่นักโทษส่งให้กับนักโทษในแดนอื่นด้วยกัน  ยกตัวอย่าง นักโทษหญิงส่ง
จดหมายให้นักโทษชาย       ซึ่งเป็นการทำผิดกฎของเรือนจำ       เพราะตามกฎถ้าส่งจดหมายให้คนข้างใน ต้องส่งทางไปรษณีย์ไป
ข้างนอก จ่าหน้าซองเข้ามาถึงคนข้างใน

แต่ตรงนี้พวกเขากลับแอบส่งถึงกัน จึงมีความรู้สึก ตื่นเต้น ท้าทาย เสี่ยง เพราะถ้าโดนจับได้ บทลงโทษอาจหนักถึงขั้นโดนกล้อนผม
หรือโดนให้ไป “ตักเม” คือการทำโทษให้ไปตักอุจจาระ

“หรือจดหมายน้อยนี้จะส่งหากิ๊กด้วย    ได้ความรู้สึกวาบหวิว ถือเป็นตัวสะท้อนอย่างหนึ่งว่า ถึงแม้ว่าในเรือนจำจะมีวิถีชีวิตที่ลำบากคนข้างนอกมองว่าโหดร้าย แต่นักโทษ
ก็เป็นมนุษย์ ที่แสวงหาหนทางให้ตัวเองมีความสุข” ผู้ประสานงานโครงการกล่าวภายในเรือนจำมีทั้งความเครียด ความกดดัน แต่นักโทษก็คือปุถุชนเหมือนอย่างเราๆ ท่านๆ ที่ต้องการความรักความเข้าใจ โครงการนี้จึงเป็นการแนะแนวสร้างภูมิต้านทาน
และเตรียมความพร้อม ก่อนพวกเขาจะกลับสู่สังคม เพื่อเป็นพลเมืองที่ดีอีกครั้ง
ที่มา : ข่าวสด    โดยพลาดิศัย จันทรทัต