ปัจจุบันเกิดวิกฤติทางด้านพลังงานไปทั่วโลก จนหลายประเทศรณรงค์ให้ประหยัดพลังงาน ตระหนักกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด และให้ความสำคัญกับการค้นคว้าวิจัยในการเสาะหาพลังงานทดแทน เพื่อการใช้สอยในอนาคตเพื่อคนรุ่นต่อๆไปอีกด้วย

สถานการณ์โลกปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเรากำลังเผชิญกับ ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติทีลดน้อยลง อันเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ การบริโภคใช้สอยที่เกินพอดี กล่าวได้ว่า ปัญหาทรัพยากรธรรมชาตินับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที ชัดเจนที่สุดวิกฤติพลังงาน ยิ่ง ใช้สอยทรัพยากรมากอย่างฟุ่มเฟือย ทรัพยากรที่มีอยู่ก็ลดน้อยลง จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่คนบนโลกจะต้องตระหนักและตื่นตัวกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ..ทั้งนี้ ใช่เพียงแค่การคำนึงถึงการใช้สอยในอนาคตเท่านั้น หากแต่ต้องตระหนักและใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเพื่อลูกเพื่อหลาน อีกด้วย

สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวได้ว่านับตั้งแต่เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ.2493) เป็นต้นมา การเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มมหาศาล โดยการผลิตสินค้าและบริการในโลกได้เพิ่มขึ้นถึง 12.5% แม้ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าถึงเท่าตัวตลอดช่วงระยะเวลาเดียวกัน แต่ ปริมาณปลาที่ถูกจับกลับเพิ่มมากขึ้นถึง 5 เท่าและปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า วามต้องการพลังงานเองก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 5 เท่า การบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น 7 เท่า ส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกและโลกร้อนนั้นเพิ่มขึ้น 5 เท่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ.2533) เป็นต้นมา การบริโภคน้ำจืดเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าซึ่งส่วนมากเป็นการใช้น้ำเพื่อการเกษตร

ในขณะเดียวกัน ประชากรโลกถึง 20% กลับไม่มีน้ำดื่มสำหรับรับประทาน อีก 25% ไม่มีไฟฟ้าใช้ 40% ไม่มีเครื่องสุขภัณฑ์ ผู้คนถึง 820 ล้านคนได้รับอาหารไม่เพียงพอ และประชากรครึ่งโลกยังชีพด้วยเงินไม่ถึง 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

อีกนัยหนึ่ง 1 ใน 5 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมโดยบริโภคและผลิตมากเกินความจำเป็น ทั้งยังก่อมลพิษในปริมาณมหาศาล อีก 4 ใน 5 ส่วนที่เหลืออาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และส่วนมากมีฐานะยากจน การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่หยุดยั้ง นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์บนโลก ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำจืด น้ำในมหาสมุทร ป่าไม้ อากาศ และพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก เหลืออยู่ในปริมาณจำกัด

ยิ่งไปกว่านั้น โลกจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากจนเกือบถึง 3,000 ล้านคนภายในปี ค.ศ.2050 (พ.ศ.2593) ซึ่งส่วนมากจะอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เมื่อประเทศเหล่านี้พัฒนาขึ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะถีบตัวขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับประเทศ อุตสาหกรรม ทั้งนี้โดยอยู่ใต้ขอบเขตจำกัดของระบบนิเวศน์บนโลกใบเดียวกัน

หากทุกคนที่ อาศัยอยู่บนโลกบริโภคในปริมาณเดียวกันกับผู้คนในซีกโลกตะวันตก เราต้องมีโลกอีกสองใบจึงจะสามารถรองรับความต้องการของทุกคนได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีหนทางที่ตอบสนองความต้องการของทุกคนโดยยังคงรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ สำหรับคนรุ่นหลังได้ เราต้องส่งเสริมเทคโนโลยีประเภทใช้พลังงานต่ำ ใช้น้ำน้อย และสร้างมลพิษน้อยลง หรือที่เรียกกันว่า พัฒนาอย่างยั่งยืน ให้มากขึ้น

การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ หนทางแห่งความก้าวหน้าสำหรับมนุษย์ ซึ่งไม่ใช่การบริโภคน้อยลง หากแต่เป็นการบริโภคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แม้เราไม่อาจกลับไปแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกได้ แต่เราก็ต้องเร่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เร็วที่สุด เรายังมีโอกาสที่จะหันไปใช้หนทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของประชากรโลกให้ดีขึ้น พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลังได้ การพัฒนาเช่นนี้ต้องมีพื้นฐานมาจาก ารสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญต่อทั้งมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติของโลกหนึ่งเดียวใบนี้

การพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกรรมวิธีทางการผลิต และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของเรา หากประชากรทั้งโลกร่วมมือร่วมใจกัน ทุกๆ คนต่างสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตให้กับโลกมนุษย์และธรรมชาติ โดยเริ่มต้นจากตอนนี้

•    การปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์โดยกิจกรรมมนุษย์เป็นสาเหตุ 60% ของการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก (OECD, 1999)

•    ในทุกๆ ปี โลกผลิตธัญพืชได้เป็นจำนวน 356 กิโลกรัมต่อประชากรหนึ่งคนแต่ประชากร 40 ล้านคน ตายเพราะความหิวโหย (องค์การอาหารโลก/องค์การอนามัยโลก)

•    กว่า 70% ของแหล่งประมงทางทะเล ถูกหาประโยชน์จนเกินขีดความสามารถที่ธรรมชาติจะทดแทนทรัพยากรได้ (UNEP,2004)

•    ประชากรโลก

ปี 1800 (พ.ศ.2343) : 1 พันล้านคน
ปี 2005 (พ.ศ.2548) : 6,500 ล้านคน
ปี 2050 (พ.ศ.2593) : 9 พันล้านคน?
(องค์การสหประชาชาติ, 2005)

•    ในปัจจุบัน สัตว์และพืชสูญพันธุ์ในอัตราที่เร็วกว่าอัตราการสูญพันธุ์ทางธรรมชาติ 1,000 ถึง 10,000 เท่า นี่เป็นคลื่นการสูญพันธุ์ ครั้งที่ 6 ในประวัติศาสตร์โลก และคราวนี้มนุษย์เป็นตัวการเดียวที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้น (องค์การสหประชาชาติ,2005)

•    ตั้งแต่ยุค 70 (ระหว่างพ.ศ.2513 – 2523) เป็นต้นมาจำนวนภัยพิบัติธรรมชาติเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าแต่การใช้มาตรการป้องกันช่วยให้จำนวนผู้ประสบภัยลดลงครึ่งหนึ่ง (FAO,2005)

•    การจับปลาเป็นส่วนสำคัญของภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมีการส่งออกปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาเป็นมูลค่าถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (องค์การอาหารโลก)

•    ในประเทศกำลังพัฒนา 90% ของน้ำเสียถูกปล่อยลงแม่น้ำลำคลองโดยไม่ได้รับการบำบัด (องค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

•    กระดาษรีไซเคิลหนึ่งแผ่นช่วยรักษา
ไม้ 15 กรัม
น้ำ 1 ลิตรและ
ไฟฟ้า 2.5 วัตต์/ ชม.

•    การขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและการเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้เกิดมลภาวะสูงขึ้นและประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำบนแผ่นดินของประเทศไทยจัดว่ามีคุณภาพต่ำ หรือต่ำมาก (องค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

•    กว่าครึ่งของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเขตเมือง อัตราส่วนนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2% ต่อปีไปจนถึงปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ.2558) (องค์การสหประชาชาติ)

•    ประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นเพียง 20% ของประชากรโลก ปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากกว่าประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา คิดเป็น 10 เท่าต่อหัว

•    ทุกๆ ปีของเสียจากพลาสติกคร่าชีวิตนก 1 ล้านตัว สัตว์น้ำอีก 100,000 ตัวและปลาอีกจำนวนนับไม่ถ้วน (UNEP,2004)

•    ในประเทศกำลังพัฒนาประชากรเมืองถึง 40% อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด โดยตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 2 พันล้านคนในปี ค.ศ.2020 (พ.ศ. 2563) (ยูเนสโก,2004)

•    หากเราต้องการหยุดภาวะโลกร้อน เราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่ง แต่เป้าที่ตั้งไว้จากการประชุมสนธิสัญญาโตเกียว กำหนดการลดก๊าซ CO2 ลงเพียง 5% จากจำนวนที่วัดได้ในปี ค.ศ. 1990

•    นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ถึง 1990 (พ.ศ. 2523 – 2533) ปริมาณเหยื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น 50% นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เท่า (UNEP,2004)

•    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 อุบัติภัยทางอุตุนิยมวิทยา เช่นพายุไซโคลน น้ำท่วมและคลื่นอากาศร้อนเพิ่มขึ้น 160% ก่อนถึงปี ค.ศ.2050 เป็นไปได้ว่าประชากร 150 ล้านคน อาจต้องย้ายออกจากถิ่นฐานเพื่อหลีกเลี่ยงภัยธรรมชาติเหล่านี้ (UNEP)

•    ผู้คนกว่า 800 ล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายยังต้องทนทุกขเวทนาจากโรคขาดสารอาหารเรื้อรัง (องค์การอาหารโลก,2004)

•    ในการทำเกษตร 80% ของชาวนาในโลก ไม่มีเครื่องทุ่นแรงใดๆ นอกจากเครื่องมือประเภทจอบเสียม20% ใช้แรงงานสัตว์และมีเพียงไม่ถึง 2% เท่านั้น ที่มีรถแทรคเตอร์

•    ป่าดิบชื้นศูนย์สูตรเพียงแห่งเดียวเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีกระดูกสันหลัง บนโลกกว่าร้อยละ 50 และพันธุ์พืชร้อยละ 60 ผู้เชี่ยวชาญบางคนประมาณการว่าสิ่งมีชีวิตทั่วโลกจะลดลงถึงร้อยละ 90 ในเวลาอันใกล้

•    จำนวนโรคภัยไข้เจ็บมากกว่า 24% บนโลกใบนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ (องค์การอนามัยโลก,2006)

•    ทุกๆ ปี ปลาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลถูกจับโดยไม่จำเป็น จากการทำประมงถึง 7 ล้านตัน (องค์การอาหารโลก)

•    การขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและการเพิ่มจำนวนประชากรทำให้เกิดมลภาวะสูงขึ้น

•    ประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำบนแผ่นดินของประเทศไทยจัดว่ามีคุณภาพต่ำ หรือต่ำมาก (องค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

•    นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศเพิ่มขึ้น 31% ในขณะที่ความเข้มข้นของก๊าซมีเธนในอากาศเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

•    ตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 0.6 องศาเซลเซียส ตัวเลขนี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.8 องศา ถึง 4 องศา ในช่วงศตวรรษที่ 21 และสูงถึง 10 องศา ในเขตขั้วโลกการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุ 60% ของการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก

•    ยาฆ่าแมลงคร่าชีวิตคนภาคเกษตรกรรมเกือบ 20,000 คนต่อปี (องค์การอนามัยโลก)

•    ในช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1965 เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตในอัตราประมาณ 1 คน ต่อเด็ก 5 คน ในปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของเด็กในประเทศกำลังพัฒนาได้ลดลง โดยมีเด็กเสียชีวิตในอัตราน้อยกว่า 1 คนต่อเด็ก 12 คน (องค์การสหประชาชาติ,2005)

•    แหล่งน้ำจืดในโลก
ปี 1950 (พ.ศ.2493) : 17,000 คิวบิกเมตร ต่อประชากรหนึ่งคน
ปี 2005 (พ.ศ.2548) :  6,000 คิวบิกเมตร ต่อประชากรหนึ่งคน
ปี 2025 (พ.ศ.2568) :  4,800 คิวบิกเมตร ต่อประชากรหนึ่งคน? (ยูเนสโก,2006)

•    ในช่วงสิบปีหลัง ภัยธรรมชาติแต่ละครั้ง ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตเฉลี่ย 51 รายในประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 573 รายในประเทศที่กำลังพัฒนา

•    เทคนิคการเกษตรสมัยใหม่รับประกันว่าโลกสามารถผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากร ได้ 12,000 ล้านคน ปัจจุบันโลกมีประชากร 6,000 ล้านคน และ 800 ล้านคน ยังต้องทนทุกข์จากสภาพความหิวโหย (องค์การอาหารโลก)

•    ครึ่งหนึ่งของประชากรโลก อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติเหล่านี้ ทั้งแผ่นดินไหว น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง ดินถล่ม พายุไซโคลน หรือภูเขาไฟระเบิด (ธนาคารโลก,2005)

•    กว่า 80% ของมลภาวะในมหาสมุทร มีสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ที่เกิดขึ้นบนฝั่ง (UNEP,2006)

•    ทุกๆ ปี น้ำที่มีสารปนเปื้อนได้คร่าชีวิตผู้คน 5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 3 ล้านคนต่อปี (องค์การอนามัยโลก)

หนทางง่ายๆ ที่เราทำได้ เพื่อรักษาโลกใบนี้

1. รวมกลุ่มใช้รถส่วนกลางหรือใช้ขนส่งสาธารณะเมื่อทำได้ : การเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนกลาง หรือขนส่งสาธารณะช่วยลดมลพิษทางอากาศ และเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2. นำรถยนต์ไปตรวจสภาพและซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ : การดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้รถปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมน้อยลง

3. ปฏิเสธการใช้ถุงพลาสติกทุกครั้งเมื่อมีโอกาส : โดยพยายามนำถุงมาใช้ซ้ำ หรือนำกลับมารีไซเคิล  ใช้ถุงใบเดียวใส่ของหลายๆอย่าง หรือนำถุงไปเอง เพื่อลดการใช้กระดาษและพลาสติกโดยไม่จำเป็น

4. แยกขยะรีไซเคิลก่อนทิ้ง : การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเภทกระดาษ พลาสติก สารอินทรีย์ แก้ว และถ่านไฟฉาย จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย

5. อย่าลืมปิดไฟ : ไม่ลืมปิดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทุกครั้งหลังการใช้งาน โดยเฉพาะเครื่องที่สามารถนำไปประจุไฟใหม่ได้ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังเป็นการประหยัดค่าไฟของคุณด้วย

6. เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน : หลอดประหยัดพลังงานให้แสงสว่างเท่ากัน โดยสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า

7. ปลูกต้นไม้ : การปลูกต้นไม้วันละต้น ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่กำลังส่งผลร้ายต่อโลก ต้นไม้ยังเป็นอาหารและที่พักพิงของสัตว์ป่าด้วย

8. ปรับปรุงพฤติกรรมการใช้น้ำ : ปิด ก๊อกทุกครั้งระหว่างแปรงฟัน และปิดน้ำฝักบัวเมื่อกำลังฟอกสบู่ การปล่อยให้น้ำไหลเป็นการสิ้นเปลืองน้ำถึง 9 ลิตรในหนึ่งนาที หรือคิดเป็นน้ำปริมาณถึง 26,000 ลิตร ในหนึ่งปี สำหรับหนึ่งครอบครัว

9. ใช้กระดาษเมื่อจำเป็นเท่านั้น : โดยเฉพาะในโรงเรียนหรือสำนักงาน พยายามใช้กระดาษแต่ละแผ่นทั้งสองหน้าให้เต็มก่อนหยิบใช้แผ่นใหม่

10. ลดการใช้   ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่เมื่อมีโอกาส : คุณสามารถบริจาคสิ่งของส่วนตัว ที่ไม่ต้องการแล้วให้กับผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้ใช้สิ่งของนั้นต่อไป จนหมดอายุการใช้งาน

11. หมั่นตรวจสอบและบอกตัวเองว่าทุกการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ล้วนมีคุณค่า : สละเวลาและใช้ความพยายามอีกซักนิด เพื่อเตือนตัวเองให้หมั่นประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น หมั่นตรวจสอบว่าตัวเองกำลังใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองอยู่หรือไม่

 

ที่มา www.vcharkarn.com / http://www.green.in.th/node/1595

ผู้เขียน: รางวัลลูกโลกสีเขียว