สิ่ง ที่มหาวิทยาลัยหวัง ไม่ได้หวังแค่นักเรียนเป็นช่าง แต่ในคำว่าช่างจะต้องเป็นช่างที่สมบูรณ์แบบ นอกจากจะมีความรู้ความชำนาญในเรื่องการช่างแล้ว
จะต้องมีจิตใจที่ดี รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ไม่หวังผลอะไรตอบ แทน การที่ได้ออกมาปฏิบัติงานจริงก็เหมือนเป็นการเรียนรู้นอกห้อง เรียน ได้พบปะกับชาวบ้าน โดยชาวบ้านทุกคนก็เหมือนเป็นครูคนหนึ่งของนัก ศึกษา” คำบอกกล่าวของ อาจารย์ศศิวิมล มาแสง หัวหน้าศูนย์ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเท นถวาย ที่พาน้องๆจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขนอุเท นถวาย สร้างบ้านกับชาวบ้านที่เดือดร้อน ร่วมกับมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อ มนุษย์ชาติ โดยมีฑูตมินิธิ ฟิล์ม- รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ ศิลปินอาร์เอ ช ร่วมลงแรงช่วยกันคนละไม้คนละมือ เมื่อเร็วๆนี้
อาจารย์ศศิวิมล เล่าว่า โครงการนี้เกิดมา เกือบ 1 ปี โดยมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติประเทศไทย ได้ร่วมมือ กับมหาวิทยาลัย นำนักศึกษาที่ลงวิชาฝึกงานชื่อว่า”เบสิก เอ็นจีเนียร์ เท รนนิ่ง” คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มาเป็นอาสาสมัครสร้างบ้านให้ กับชาวบ้าน ถือเป็นการเรียนการสอนในหลักสูตรโดยการปฏิบัติงานจริงเป้ นเวลา 1 เดือน จะออกปฏิบัตินอกสถานที่ 2 ครั้ง หรือแล้วแต่มูลนิธิจะขอ ความช่วยเหลือไป
นายเอกลักษณ์ อินทรคำแหง (ติ๊ก) นักศึกษาชั้นปีที่1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิศวโยธา หลักสูตร 4 ปี บอกว่า รู้สึกภูมิใจ ที่ได้มาสร้างบ้านให้กับชุมชน การที่ได้ออกมาปฏิบัติงานจริงจะช่วยให้รู้ วิธีแก้ปัญหาได้ดีกว่า เรียนในห้องจะรู้สึกเครียด เมื่อได้ออกมานอกห้อง เรียนจะรู้สึกดีกว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบรรยากาศ สังคมรอบๆตัว หนังสือ ตำราเป็น 100 เล่ม ก็ยังไม่เท่ากับการที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง
“มือที่จับปากกาเปลี่ยนมาจับ จอบผสมปูนเป็นประสบการณ์ที่ดีมากถึงแม้ว่ามันจะหนักกว่าดินสอ ก็ดีกว่าจะไป ถือมีดไล่ฟันกันสร้างความเดือดให้ผู้อื่น ทำแล้วเกิดความสุข สุขที่เราได้ ทำอะไรเพื่อคนอื่น เป็นสิ่งตอบแทนปลิ้มเกินที่จะบรรยาย” ติ๊ก อธิบาย
คองกล่าว
“งานขนอิฐ ขนปูน ขนหิน ถึงแม้ว่ามันจะเป็นงานเล็กๆน้อย แต่ก็ภูมิใจที่ได้ทำ” เสียงบอกเล่าของ “ปู” นักศึกษาหญิง1 ในอาสาสมัคร
นางกุสุมา รัตติมาสกล (ป้าโป้ง) เจ้าของบ้านที่ได้บ้านหลังใหม่ บอก ว่า ดีใจมากที่ได้เห็นนักศึกษามาช่วยกันสร้างบ้าน ไม่ต้องไปเสียค่าจ้าง แรงงาน เพราะค่าแรงวันหนึ่งตกวันละ 300-400 บาทต่อวัน ทำให้ลดค่าใช้ จ่ายไปได้ นักศึกษาทุกคนน่ารักมาก ยิ้มแย้มแจ่มใส ระหว่างที่ทำงานก็ช่วย กันคนละไม้ละมือ ถือเป็นภาพที่หาดูได้อย่าง เหมือนกับการลงแขกในสมัย ก่อน
เสียงของจอบที่เสียดสีกันระหว่างที่ผสมปูน เสียงพูดคุย กันขณะที่สองมือก็ช่วยกันขนทรายขนหิน ช่วยกันคนละไม้ละมือ ในที่สุดก็ได้ บ้านหนึ่งหลัง มาพร้อมกับรอยยิ้มที่มีความสุขของชาวบ้าน สิ่งเหล่านี้ได้ แสดงผลสำเร็จของน้ำพักน้ำแรงของนักศึกษาที่มีจิตอาสา โดยทำไปเพื่อไม่ได้ หวังผลตอบแทนใดๆ แค่เพียงมอบความสุขให้กับคนที่เดือดร้อนตามกำลังที่ทำได้ นั่นเอง
0 ชลธิชา ศรีอุบล มทร.ธัญบุรี 0
จาก คมชัดลึก วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551