“สน.จิตอาสา” กลุ่มเด็กก่อการดี

 

เล่นกีฬา ร้องเพลง เรียนพิเศษ เตรียมสอบเอนทรานซ์ ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้อาจเป็นเพียงการทำเพื่อตัวเอง แต่วันนี้มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันนำเสนอแนวความคิดเพื่อ“ออกไปช่วย คนอื่นๆ” โดยตั้งชื่อกลุ่มเด็ดๆ  กลุ่ม “สน.จิตอาสา” สน.ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจใดๆ แต่มาจากชื่อย่อของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระ อุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรุงเทพฯ นั่นเอง

สาวน้อย วัยละอ่อน น้องมน นางสาวมณฑารัตน์ สุจีรกุลไกร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่… ตัวแทนจากกลุ่ม สน.จิตอาสา เล่าถึงกิจกรรมเด็ดๆ ที่กลุ่มเคยทำให้ฟังว่า “กลุ่มของหนูเป็นเพียงกลุ่ม เล็กๆที่รวมตัวกันกับเพื่อนๆ ในโรงเรียนเพราะอยากทำอะไรเพื่อสังคมบ้างค่ะ”

“การทำ อะไรเพื่อสังคม” ที่น้องมนกล่าวถึงนั้น เริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ  อาทิ  การจัดนิทรรศการใน โรงเรียนเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เช่น ในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันสุนทรภู่ กวีเอกของไทยและของโลก รวมทั้งยังเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก โอกาสดีนี้เพื่อนในกลุ่มก็จะจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติกวีเอกให้ความรู้ กับเพื่อนในโรงเรียน พร้อมกับจัดทำใบความรู้เรื่องยาเสพติดควบคู่ไปด้วย จุดประสงค์ในการทำงานนี้ เพื่อที่จะนำความรู้เหล่านี้ไปแลกกับการบริจาคเงินตามกำลังของเพื่อนๆ โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะกลายเป็น “กำลังสำคัญ หรือเงินกองกลาง”เพื่อที่จะนำไปจุดประกายความคิดดีๆ ให้สังคมต่อไป

น้องมนบอกว่า“หลัง จากรวมตัวกับเพื่อนได้ระยะหนึ่ง จึงตั้งเป็น“ชุมนุมสน.จิตอาสา” ขึ้นมา ทำให้มีโอกาสสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เช่น ในวันแม่ เราจะช่วยกันทำ “ดอกไม้จากกระดาษทิชชู่” เพื่อนำไปมอบให้กับคุณแม่ ทำให้เพื่อนๆ ในชุมนุมไม่ต้องเสียเงินซื้อดอกไม้ราคาแพง หรือนำดอกไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ไปขายตามงานของโรงเรียนก็ได้ การทำงานของชุมนุมนั้นสมาชิกทุกคนมีสิทธิ์นำนำเสนอแนวความคิดได้ว่าจะนำเงิน กองกลางไปทำประโยชน์อย่างไรได้บ้าง”

ประโยชน์ที่ เธอว่าก็มีต่อเนื่อง คือ การนำเงินไปช่วย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม คลองเตย มูลนิธิที่เกิดขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กอ่อนวัย0 – 5 ปี ในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพฯ ชุมชนแออัดซึ่งเกิดขึ้นจากผู้คนที่อพยพย้ายถิ่นจากชนบทมาสู่เมืองหลวง ด้วยความเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถหางานทำและมีชีวิตที่ดีขึ้นแต่เมื่อไม่มีที่ อยู่อาศัยจึงสร้างบ้านของตัวเองขึ้นมาบนที่ดินของผู้อื่นที่พอจะสร้างบ้าน ได้ และอยู่กันอย่างแออัด ทำให้เด็กๆที่อยู่ในครอบครัวเหล่านี้ต้องเติบโตมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ เป็นแหล่งเสื่อมโทรม บางแห่งเต็มไปด้วยปัญหายาเสพติดและอันตรายต่างๆ

การ เข้าไปช่วย เหลือเด็กอ่อนที่อยู่ในชุมชนแออัดให้ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมทั้งทางร่าง กายและจิตใจเท่าที่พอจะทำได้จึงเป็นไอเดียเด็ดหนึ่งของน้องๆ

“ หนูกับเพื่อนๆได้มีโอกาสเข้าไปที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ   ก็ นำเงินที่ได้จากการทำกิจกรรมต่างๆไปมอบให้น้องๆ สำหรับใช้เป็นกองทุนอาหารกลางวันของเด็กที่นั่น และซื้อของใช้ที่จำเป็นอย่างเช่นนมผง ของเล่น เสื้อผ้าเด็ก หรือหากได้รับของบริจาคเป็นเสื้อผ้าผู้ใหญ่ ทางมูลนิธิฯ ก็จะไปจัดแผงขายและนำเงินเข้ามูลนิธิฯเพื่อที่จะนำไปช่วยเหลือน้องๆต่อไป”

“ ความประทับใจของหนูเมื่อได้ไปทำกิจกรรมร่วมกับน้องๆที่นี่ คือ ได้มีโอกาส “กล่อมน้อง” เข้านอนค่ะ เล่นเอาตุ๊กตาหมีมาบอกน้องว่า ถ้าไม่นอนเดี๋ยวพี่หมีไม่รักนะ น้องคนหนึ่งแกล้งหลับตา พอเผลอก็แอบลืมตามาดูอีก และบอกว่าพี่อย่าหนีไปไหนนะ ถ้าหนูตื่นขึ้นมาขอให้พี่ยังอยู่กับหนูนะ ประโยคนี้เมื่อได้ฟังแล้วหนูพูดไม่ออกเลย  เพราะเด็กที่นี่ หลายคนพ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลและบางคนพ่อแม่เลิกกัน” การได้ไปสร้างรอย ยิ้มให้กับเด็กๆจึงเป็นความประทับใจของน้องมน

            นอกจากการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนๆในโรงเรียนน้องมน ยังมีโอกาสดีที่ได้เข้าอบรมในโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนจิตอาสาที่ ดำเนินการโดย มูลนิธิกระจกเงา ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิสยาม กัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ทำ ให้น้องมนได้มีโอกาสไป อบรมกับพี่ๆ กระจกเงา ทำให้ได้รับทั้งความรู้เรื่องของจิตอาสาในโรงพยาบาล ได้รับคำแนะนำว่าควรทำอย่างไรเมื่อไปเจอน้องๆ ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ควรชวนน้องเล่นกิจกรรมอย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้น้องกลัว หรือใช้คำพูดอย่างไรเพื่อที่จะให้กำลังใจแก่น้องที่กำลังเจ็บป่วย

น้อง มนบอกว่า หลังเข้าร่วมอบรมแล้วก็กลับมาร่วมคิดกับเพื่อนๆ ว่าจะไปทำกิจกรรมที่โรงพยาบาลไหนดี อาจจะเลือกที่โรงพยาบาลเด็ก และกำลังเลือกว่าจะไปวันไหน โดยอาจจะเป็นช่วงวันหยุดเสาร์หรืออาทิตย์ ซึ่งก็จะนำ “เงินกองกลาง”จากการที่เคยทำกิจกรรมต่างๆ เข้ามาช่วยในกิจกรรมนี้ด้วย สำหรับกิจกรรมที่คิดไว้ คือ สอนน้องวาดรูป ระบายสีตามจินตนาการ หรือเล่านิทานให้น้องฟัง และหากมีเวลาก็อยากไปช่วยในสถานที่อื่นต่อไปเรื่อยๆ เท่าที่จะมีโอกาส

วันนี้“น้อง มน”กับกลุ่มเพื่อนๆ ยังคงจุดประกายแนวความคิดของการ “ออกไปช่วยเหลือ คนอื่นๆ”ผ่านชุมนุม สน.จิตอาสา ที่เปรียบสถานีรับเรื่องราวจากสมาชิกทุกคนให้ได้ก่อการดีสู่สังคมอย่างไม่ หยุดยั้ง