5 มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก “World Environment Day” และได้มีการสถาปนาวันสิ่งแวดล้อมขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515 หรือเมื่อราว 33 ปีที่ผ่านมา โดยได้ทำการจัดการประชุมที่เรียกว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อม” (UN Conference on the Human Environment) ณ กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพิจารณาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆ ที่แต่ละประเทศสมาชิกกำลังประสบอยู่อย่างเร่งด่วน ซึ่งประเด็นสำคัญในการหารือก็คือ ทุกๆ ประเทศสมาชิกต่างต้องสรรหาวิธีการดูแลแก้ไขปัญหา และให้ความตื่นตัวเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายใต้การกำกับดูแลของ องค์การสหประชาชาติ (United Nations)

ความเป็นมา

วันที่ 5 -16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลประเทศสวีเดน ได้จัดการประชุมที่เรียกว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” (UN Conference on The Humen Environment) ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน จาก 113 ประเทศ ผู้สังเกตุการณ์มากกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก

ผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลัง คุกคามของเรา

ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day)พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ” หรือเรียกย่อว่า “ยูเนป” (UNEP : United Nation Environment Programe) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น และจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ซึ่งในปี 2547 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ เพื่อใช้ร่วมกันทั่วโลกว่า Wanted ! Sea and Oceans – Dead or Live ? “ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย”

ความเป็นมาของวันสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 2518 เป็นฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2518 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2521 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2522 ต่อมาในสมัยรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใหม ่โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน2535 เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช2535 เป็นพระราชบัญญัติที่มุ่งกระจายอำนาจของการวางแผนและปฏิบัติการการสิ่งแวด ล้อมลงสู่ท้องถิ่นและให้ความสำคัญในเรื่องของเรื่องของการติดตาม ตรวจสอบ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมมลพิษ

ดังนั้น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คำขวัญของวันสิ่งแวดล้อมโลก

พ.ศ. 2528 (1985) เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม
Youth, Population and Environment

พ.ศ. 2529 (1986) ต้นไม้เพื่อสันติภาพ
A Tree for Peace

พ.ศ. 2530 (1987) Public Participation, Environment Protection and Sustainable Development

พ.ศ. 2531(1988)  การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
When people put the environment first, development will last

พ.ศ. 2532 (1989)  ภาวะโลกร้อน
Global Warming ; Global Warming

พ.ศ. 2533 (1990)  เด็ก และสิ่งแวดล้อม
Children and the Environment (Our Children, Their Earth)

พ.ศ. 2534 (1991) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Climate Change : Need for Global Partnership

พ.ศ. 2535 (1992)  Only One Earth : Care and Share

พ.ศ. 2536 (1993) Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle

พ.ศ. 2537 (1994)  โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน
One Earth, One Family

พ.ศ. 2538 (1995)  ประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก
We The Peoples, United for the Global Environment

พ.ศ. 2539 (1996)  รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา
Our Earth, Our Habitat, Our Home

พ.ศ. 2540 (1997) เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก
For Life one Earth

พ.ศ. 2541(1998) เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน
For Life on Earth “Save our Seas”

พ.ศ. 2542 (1999)  รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม
“Our Earth, Our Future…Just Save It”

พ.ศ. 2543 (2000) ปี 2000 สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา
2000 The Environment Millennium : Time to Act

พ.ศ. 2544 (2001) เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต
CONNECT with the World Wide Web of Life

พ.ศ. 2545 (2002) ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต
Give Earth a Chance

พ.ศ. 2546 (2003) รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน
Water – Two Billion People are Dying for it!

พ.ศ. 2547 (2004) “Wanted! Sea and Oceans – Dead or Live?”
“ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย” 

พ.ศ. 2548 (2005) เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก
GREEN CITIES PLAN FOR THE PLANET! 

พ.ศ. 2549 (2006) เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ
DON’T DESERT DRYLANDS! 

พ.ศ. 2550 (2007) หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง
MELTING ICE – A HOT TOPIC ?

พ.ศ. 2551 (2008) ลดวิกฤตโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
Kick the Habit – Towards a low carbon economy

ข้อมูลจาก

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สนุก! พีเดีย

คลังปัญญาไท