บทสัมภาษณ์
การเข้าเป็นอาสาสมัครยุวกาชาดต้องทำอย่างไร มีช่องทางสมัครอย่างไรบ้าง
สำหรับคนที่สนใจกิจกรรมอาสายุวกาชาด ในปีก่อนๆ เราจะมีสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาต่างๆ เพื่อเผยแพร่กิจกรรมงานของอาสายุวกาชาด ซึ่งถ้าท่านอาจารย์สนใจก็จะกลับไปจัดตั้งชมรมอาสายุวกาชาด จัดตั้งในโรงเรียน นอกจากนี้ สำหรับคนที่ไม่ได้สังกัดสถานศึกษาซึ่งมีความสนใจ ก็จะมีข้อมูลในอินเตอร์เนต ก็สามารถมาสังกัดของสำนักงานยุวกาชาดได้ เพราะชมรมของเรานั้นจะมีทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา ในสถานศึกษาก็จะเกี่ยวกับโรงเรียน สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สังกัดหน่วยงานสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ชมรมอาสายุวกาชาดในโรงเรียน ตั้งแต่อายุ 15 ปี ถึงไม่เกิน 25 ปี มหาวิทยาลัยก็ได้ ที่มีความสนใจในงานอาสาสมัคร

มีการประชาสัมพันธ์ในสื่อบ้างไหม
เท่าที่ทราบยังไม่มี แต่มีเวปไซต์ มีทั้งเวปไซต์ที่เด็กจัดทำขึ้นเอง และเวปไซต์ที่สำนักงานยุวกาชาดมี คือ www.thaircy.org ของสำนักงานยุวกาชาดจัดทำขึ้น และอีกส่วนหนึ่งที่อาสายุวกาชาดสังกัดสำนักงานทำขึ้น คือ http://rcyclub.hi5.com นี่จะเป็นเด็กๆ ที่เคยเข้าอบรมหลักสูตรพื้นฐาน น้องๆ เขาก็จะเข้ามาแลกเปลี่ยนกันในเวปไซต์ เวลาเรามีกิจกรรมนอกจากเราจะแจ้งในเวปไซต์ของสำนักงานแล้ว น้องๆ เหล่านี้ที่เขาทราบ ที่เขาสังกัดสำนักงานเขาจะแจ้งโพสข่าวในนั้นด้วย

งานที่ออกจัดกิจกรรมนอกสำนักงานจะจัดจุดรับสมัครด้วยหรือไม่
ส่วนใหญ่ตอนนี้ทางโรงเรียนที่เป็นชมรมแล้วเราจะมีทั่วประเทศทั้งหมด 405  ชมรม เราจะอาศัยเครือข่ายตรงนี้ที่เป็นคุณครูและอาจารย์ด้วยที่ส่วนใหญ่ที่เป็น ชมรมแล้วเขาจะไปบอกต่อยังอาจารย์ที่มีความสนใจกิจกรรมอาสายุวกาชาด

งานของอาสามีกิจกรรมอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์ของเราคือ ให้อาสาเป็นคนดี เก่งรอบรู้ สุขภาพดี พึ่งพาได้ ซึ่งงานของอาสายุวกาชาดส่วนใหญ่แล้วคือบำเพ็ญประโยชน์แต่ก่อนที่จะไปบำเพ็ญ ประโยชน์ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องประวัติความเป็นมา  ต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของกาชาดก่อน ว่ากาชาดนั้นมีภารกิจหลักอะไรบ้าง น้องๆ ก็ปฏิบัติตามภารกิจหลักสี่ข้อของสภากาชาดไทย คือ บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข บรรเทาทุกข์ โลหิต และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในที่นี้หมายถึงเรื่องบำเพ็ญประโยชน์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้สูงอายุ fact for life ความรู้เพื่อชีวิต หรือการปลูกป่าลดโลกร้อน การทำกิจกรรมใดๆ ก็ได้ที่เป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน เพื่อสังคม

เด็กจะทราบเงื่อนไขตรงนี้จากกระบวนการใด

เด็กจะทราบจากการอบรมหลักสูตรพื้นฐาน เช่น เราจะมีการจัดอบรมหลักสูตรพื้นฐานเราจะมีหนังสือไปยังสถานศึกษา  เด็กทุกปีเขาจะเปลี่ยน ม.4 ม. 5 ม.6 เขาจบออกไปก็มีเด็กรุ่นน้องเข้ามา ซึ่งน้องๆ เหล่านี้ต้องผ่านหลักสูตรพื้นฐาน จัดปีละหนึ่งครั้งให้กับเด็กในชมรม จัดทั้งในโรงเรียน และในปีนี้มีจัดส่วนกลางด้วย ซึ่งความเป็นจริงแล้วสำนักงานยุวกาชาดจะมีการอบรมหลักสูตรวิทยากรให้กับคุณ ครู เดิมทีแรกจะมีวิทยากร และคุณครูที่จะเป็นวิทยากรก็จะมาผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยากรแกนนำ และเมื่อคุณครูเหล่านี้เป็นวิทยากรแกนนำ ก็จะย้อนกลับไปอบรมให้คุณครูโรงเรียนอื่นๆ เหมือนแตกออกไปแล้วคุณครูที่ผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยากรก็จะนำความรู้เกี่ยว กับเรื่องหลักสูตรพื้นฐานนี้ไปเผยแพร่ให้กับเยาวชน เมื่อน้องๆ มีกิจกรรมเกี่ยวกับอาสายุวกาชาดค่าใช้จ่ายในการลง หรือค่าอาหาร ทางสำนักงานมีสนับสนุน หรือโรงเรียนจัดให้
ถ้าเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด ทางสำนักงานเรามีสนับสนุนให้ 2,000 บาท หลักสูตรนี้จะมีระยะเวลาตั้งแต่สองวันขึ้นไป เป็นเงินขวัญถุงให้กับทางโรงเรียน แต่ความเป็นจริงถามว่าเงินสองพันนี่ทางโรงเรียนจัดน่าจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า นี้ แต่ทางกาชาดเราสนับสนุนให้ได้โรงเรียนละสองพันบาทและมีโครงการเรียนรู้ตาม รอยพระยุคลบาทที่ทำบำเพ็ญประโยชน์เกี่ยวกับผู้สูงอายุ หรือเรื่องภาวะโลกร้อน เรามีสนับสนุนให้สองพันบาท ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ที่ทางโรงเรียนสนใจที่จะไปบำเพ็ญประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานบริจาคโลหิต หรือจะไปช่วยบำเพ็ญประโยชน์ในด้านอื่นๆ ทางโรงเรียนก็จะมีวิธีการหารายได้เข้าชมรม เช่น โรงเรียนหันคา เขามีการทำขนมปัง เขาเรียกขนมปังอาสายุวกาชาด เขาทำเพื่อจำหน่ายหารายได้เข้าชมรมเพื่อนำรายได้ตรงนี้ไปบำเพ็ญประโยชน์ใน กิจกรรมต่างๆ ของชมรม อย่างบางโรงเรียนก็ทำกระถางต้นไม้เป็นต้นกระบองเพชรขาย บางโรงเรียนก็ใช้วิธีการงานกีฬาสี ไปขออาจารย์ว่าขอชมรมอาสายุวกาชาดขายน้ำ เพื่อนำรายได้มาทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือพัฒนาให้กับชุมชนละแวกโรงเรียน ชุมชน สังคมที่น้องเขาอยู่

งบประมาณที่สนับสนุนกิจกรรมของน้อง เป็นงบประมาณจากที่ใด
งบประมาณจากสำนักงาน ซึ่งปีหนึ่งเราจะมีการกำหนดโครงการต่างๆ ขึ้นมา ว่าแต่ละปีมีโครงการอะไรบ้าง โครงการบางโครงการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะมีการพัฒนาขึ้น กิจกรรมนี้ทางเราจะเสนอไปที่โรงเรียน แล้วโรงเรียนจะแจ้งมาว่าจะจัดเมื่อไร วันใด

จะมีโครงการใหม่ๆ ที่จะหรือไม่
ชมรมจะมีการทำงานของชมรมแต่ละหน่วยงานของเขาเอง เช่น ชมรมอาสายุวกาชาดไปร่วมปฏิบัติงานในวันแม่ ช่วยประชาสัมพันธ์งานวันแม่ หรือทางโรงเรียนมีงานอะไรเขาก็จะเรียกเด็กกลุ่มนี้ช่วยเหลืองานของโรงเรียน โดยทำในนามชมรมอาสายุวกาชาดบำเพ็ญประโยชน์ทั้งหมดเลย
งานของอาสายุวกาชาดครอบคลุมทุกรูปแบบไม่ได้มีเฉพาะเจาะจง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บางปีเราก็จะเน้นตามภารกิจหลักของสภากาชาดไทย ซึ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตก็จะครอบคลุมอยู่แล้ว น้องๆ ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติมนอกจากการปฐมนิเทศเพื่อให้รู้ เกี่ยวกับหลักการกาชาดเพิ่มขึ้นไหม
เท่าที่ทราบก็จะมีบ้างในเรื่องการพัฒนาศักยภาพในเรื่องอื่นๆ เช่น ปฐมพยาบาล ซึ่งเป็นภารกิจหลักของเราอยู่แล้ว หรือการพัฒนาโดยการทบทวนหลักสูตรที่น้องๆ เขาได้เรียนไป ก็จะมีในเรื่องของวันกาชาดโลก จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงท่านอังรีดูนังต์ผู้ให้กำเนิดการกาชาด เป็นการทบทวน หรือว่าจะเป็นวันสถาปนายุกาชาดในวันที่ 27 ก็จะมีกิจกรรมต่างๆ ในส่วนนี้ทางโรงเรียนเป็นผู้จัด หรือส่วนกลางจัดไป ทางโรงเรียนจะเป็นคนจัด ส่วนวันสถาปนาเราก็จะมีพิธีสวนสนามที่ส่วนกลางด้วย ให้ความรู้ในเรื่องของการแข่งขันปฐมพยาบาล ให้ความรู้ในกิจกรรมต่างๆ แก่เยาวชนในวันสัมมนา
กิจกรรมเพิ่มเติมที่โรงเรียนจัดนอกเหนือจากการปฐมนิเทศ โรงเรียนมีจัดทุกปีหรือไม่ ส่วนใหญ่ทางชมรมเขาจะต้องมีการจัดของเขาทุกปีอยู่แล้ว เพราะเด็กเขาจะต้องเปลี่ยนทุกปี คือ เด็ก ม. 4 พอทำกิจกรรมปีนี้เสร็จ ปีหน้า ม. 5 เขาก็ยังอยู่ เป็นสต๊าฟให้รุ่นน้อง เมื่อรุ่นน้อง ม. 3 ขึ้นมา ม. 4 เป็นน้องๆ รุ่นใหม่ที่ยังไม่มีความรู้ตรงนี้เลย ก็จะได้รับการอบรมหลักสูตรพื้นฐานโดยมีรุ่นพี่เข้ามาช่วย อาจารย์ที่จะให้ความรู้ จะมีรายงานแจ้งกลับมา เราจะมีการทำรายงานประจำปี ซึ่งทางชมรมแต่ละชมรมจะเป็นผู้ทำเข้ามา สำนักงานยุวกาชาดจะมีการพิจารณารางวัล เหมือนกับเป็นสิ่งที่ทำความดีแล้วฟ้ามีตา เราก็จะมีรางวัลให้ชมรมอาสายุวกาชาดที่มีการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่อง

สำนักงานได้มีการเผยแพร่บทเรียนของอาสายุวกาชาดหรือไม่ อย่างไร
กิจกรรมที่น้องๆ แต่ละชมรมได้ทำ เวลาที่เขาส่งผลงานมาแล้วเราจะมีการประชาสัมพันธ์ลงในวารสารยุวกาชาด ซึ่งเราจะส่งไปเหล่ากาชาดจังหวัด ทุกจังหวัดทั่วประเทศด้วย อีกส่วนหนึ่งก็จะส่งไปตามโรงเรียนที่เป็นสมาชิกชมรม ปีหนึ่งจะออกทั้งหมด 6 เล่ม สองเดือนต่อเล่ม ผลงานของแต่ละชมรมจะลงอยู่ในวารสารนั้น

การดำเนินงานกับทีมอาสาสมัคร หรือการทำงานของน้องๆ มีปัญหาอะไรบ้างที่พบ
อุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมของน้องๆ ส่วนใหญ่ที่ฟังดูก็พอมีบ้าง ส่วนใหญ่อุปสรรคต่างๆ
สถาบันการศึกษาต่างๆ ของชมรมนั้นๆ เป็นผู้แก้ไข ส่วนใหญ่ที่พบก็จะเป็นเรื่องชั่วโมงเรียนที่บางครั้งเด็กอาจจะมีเวลามาอยู่ ในชมรมน้อย เด็กอยู่ต่างห้องกัน เวลาที่จะมาเจออาจจะมีน้อยไปสักนิด ซึ่งทางครูที่ปรึกษาชมรมจะเป็นคนนัดประชุมเอง ชมรมเราจะมีหลากหลายทั้งในโรงเรียน นอกโรงเรียน ถ้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจะมีเป็นภาคของการเรียนการสอนเลย แต่ถ้ามัธยมก็จะมีทำกิจกรรมซึ่งเราก็สามารถที่จะมารวมตัวกันประชุมเพื่อวาง แผนในการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ได้

ข้อมูลของอาสายุวกาชาดมีการจัดเก็บอย่างไร
ส่วนหนึ่งโรงเรียนจะเก็บไว้ซึ่งในปีต่อๆ ไปเขาจะต้องส่ง เวลาจัดตั้งชมรมเขาจะส่งแบบฟอร์มจัดตั้งชมรมมาพร้อมกับรายชื่อของเยาวชน ซึ่งทางสำนักงานจะเก็บไว้ส่วนหนึ่ง และทางโรงเรียนจะเก็บไว้ส่วนหนึ่ง

รูปแบบการเก็บข้อมูลในขณะนี้เป็นอย่างไร
ตอนนี้เรายังเก็บเป็นเอกสารอยู่ เรากำลังพัฒนาไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีบริษัทมาดูแล้ว กำลังเตรียมที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดลงคอมพิวเตอร์ ในการทำงานอาสาสมัครได้มีการประเมิน และสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเด็กอย่างไร  ทางชมรมน่าจะเป็นคนติดตามประเมินผลของเด็ก ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่เข้าชมรมจะเป็นเยาวชนที่จะสมัครใจที่จะเข้ามา เพราะชมรมอาสายุวกาชาดเป็นลักษณะของงานอาสาสมัคร ซึ่งเยาวชนส่วนใหญ่ที่เข้ามาก็มีใจรักในงานอาสาสมัครอยู่แล้ว ทางสำนักงานเป็นคนประเมินจากกิจกรรมของแต่ละชมรมที่ได้ทำ ซึ่งจะมีเกณฑ์การประเมินกำหนดออกมาทุกปี เกณฑ์ของเราจะมีคือ หนึ่ง การจัดตั้งชมรมต้องมีสมาชิกตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป มีประธานที่ปรึกษา คือผู้บริหารสถานศึกษา 1 ท่าน มีกรรมการ คือ คุณครูหรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งไม่เกิน 10 ท่าน แล้วก็ครูที่ปรึกษา 1 ท่าน ในส่วนของเด็กจะมีประธานชมรม 1 ท่าน กรรมการไม่เกิน 10 ท่าน หลักเกณฑ์ที่สองคือ เด็กต้องผ่านหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด เพราะว่าเยาวชนต้องมีความรู้เบื้องต้นในเรื่องของหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด ก่อน สาม คือ มีการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรของกาชาดอย่างน้อย 2 ครั้งต่อไป แต่ส่วนใหญ่ก็มากกว่า 2 ครั้ง หน่วยงานกาชาดมีทั่ว ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะมีเหล่ากาชาดจังหวัด งานบริจาคโลหิต และมีการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับองค์กรอื่นๆ อีก 2 ครั้งต่อปี นี่คือรางวัลส่งเสริมมาตรฐาน

แต่ละปีมีจำกัดโรงเรียนที่จะได้รับรางวัลนี้ไหม
เราจะนับย้อนหลัง 4 ปี คือเราจะมีชมรมที่ทำผลงานต่อเนื่องอย่างนี้ 4 ปี 7 ปี 9 ปี 12 ปี ซึ่งรางวัลแต่ละรางวัลก็จะต่างกันไปตามปี

ถ้าในอนาคตมีการสร้างกลไกพัฒนาอาสาสมัครให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
น่าจะเป็นเรื่องที่ดีเพราะการทำงานอาสาสมัครไม่ว่าจะเป็นเยาวชนหรือผู้ใหญ่ แล้ว เป็นการปลูกฝังให้คนรู้จักเสียสละ เพราะว่าปัจจุบันเท่าที่เห็นเทคโนโลยีก้าวล้ำจนกระทั่งสังเกตเห็นว่าคน เยาวชนสมัยนี้ไม่มีใจรักในงานอาสาสมัคร หรือไม่รู้จักการเสียสละเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขึ้นรถเมล์ หรืออื่นๆ จะเห็นได้ว่า แม้แต่คนท้องเดี๋ยวนี้ไม่มีเยาวชน หรือผู้ใหญ่ลุกขึ้นให้นั่ง ยังมีการนินทาคนท้องด้วยซ้ำ สังคมเปลี่ยนไปเร็วเกินไปด้วยเทคโนโลยี หรืออื่นๆ ยังรู้สึกว่าเยาวชนเขายังขาดคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งก็เห็นอยู่ว่า เรากำลังรีบที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก ไม่ว่าองค์กรภาคส่วนไหนก็ตามแต่ที่ทำงานเกี่ยวกับอาสาสมัครจะเห็นว่าทุก วันนี้กำลังรีบปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชน แต่ละองค์กรมีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างกัน อย่างยุวกาชาดนี่ก็จัดตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2465 มีการปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ส่วนใหญ่เยาวชนที่มาทำงานกับเราพอมาทำกิจกรรมแล้วก็รู้สึกผูกพันกับเพื่อนๆ หรือพี่ๆ ต่างสถาบัน เราจะมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนที่มาร่วมทำงานรู้จักว่าเสียสละ เมื่อเขามาทำงานแล้วสนุกกับงาน เขาจะได้รู้สึกซึมซับเกี่ยวกับความเสียสละไปเอง

สำนักงานได้มีการร่วมกับภาคีอื่นอย่างไรบ้าง
เรามีการทำงานร่วมกับหลายๆ องค์กรเกี่ยวกับเรื่องงานอาสายุวกาชาด เช่น วันเอดส์โลก เราก็จะมีกิจกรรมการจัดนิทรรศการของอาสายุวกาชาด หรืองานวันโลหิตโลก หน่วยงานด้านนอกไม่ว่าหน่วยงานหรือภาคีใดที่ทำหนังสือมาเพื่อร่วมกิจกรรมเรา ก็ยินดีที่ไปร่วมกิจกรรมถ้าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความดี หรืองานจิตอาสาให้กับเยาวชน

สำนักงานจะพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมที่เด็กจะได้เข้าไปร่วมก็จะประชาสัมพันธ์ต่อไปใช่ไหม
ใช่เพราะว่าเรามีอาสาทั่วประเทศ มีงานเช่นนี้เราก็ยินดี

การติดต่อประสานงานกับอาสามีการประสานงานอย่างไร
มีการติดต่อทางหนังสือ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเรื่องนั้นๆ เป็นเกี่ยวกับเรื่องอะไร ทางโทรศัพท์ผ่านท่านอาจารย์ หรือน้องๆ ผ่านทาง hi5 และเวปไซต์ การแจ้งทางหนังสือเช่น การไปจัดกิจกรรมอะไรต่างๆ ทางเราต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเยาวชนด้วย ซึ่งหน่วยงานของเราถ้าต้องมีไปทำกิจกรรมต่างจังหวัดก็จะทำประกันชีวิตให้กับ ทุกคนอยู่แล้ว

มีข้อแนะนำในการพัฒนางานอาสาสมัครของไทยอย่างไร

อยากให้ทุกโรงเรียนมีชมรมอาสาสมัคร อยากให้ปลูกตั้งแต่เยาวชนตัวเล็กๆ ขึ้นมาเลย ให้เขารู้จักเสียสละ การบำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งคิดว่าปัจจุบันแต่ละโรงเรียนก็ทำอยู่แล้ว แต่อยากให้เด็กแต่ละรุ่นตระหนัก และรู้สึกว่าเขาอยากทำงานอาสาสมัครติดอยู่ในนิสัยจนเขาเป็นผู้ใหญ่ น่าจะมีกิจกรรมตรงนี้ให้มากขึ้นในโรงเรียน ให้เด็กได้คิด ให้เด็กได้ลองไปทำอย่างน้อยในโรงเรียนของตัวเองก็ยังดี
ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 14,448 คน ชมรมมีทั้งในโรงเรียนนอกโรงเรียน ในเรือนจำ ชาวเล ชาวเขา ก็มีชมรมอาสายุวกาชาด มีการทำงานตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพฯ เมื่อท่านเสด็จมาร่วมประชุม และได้ให้พระราชดำรัสให้ว่าปีนี้อยากให้เน้นอะไร เช่น ปีนี้เรื่องยุวเกษตร การดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิด

ตรงนี้ก็ต้องไปให้ความรู้เพิ่มเติมกับชมรมในเรื่องเหล่านี้หรือไม่
เรากำลังเขียนหลักสูตรกันอยู่ เพื่อไปให้ความรู้เพิ่มเติมกับเยาวชน ในปีนี้เราก็เน้นการบำเพ็ญประโยชน์ตามพระราชดำรัสของพระองค์
ผู้ให้สัมภาษณ์ นายคมกฤช วิจิตรวิริยะกุล
เว็บไซต์  www.thaircy.org