อาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2566

09:00 – 09:40 บรรยายที่มากิจกรรม แรงบันดาลใจ และเป้าหมายกิจกรรม

09:41 – 11:20 ร่วมกันทำสิ่งประดิษฐ์ยางยืดมีเสียง

11:21 – 11:35 ออกกำลังกายด้วยยางยืดพร้อมกัน อย่างมีความสุข

11:36 – 12:00 ตรวจสอบคุณภาพยางยืด ปิดกิจกรรม ช่วยกันเก็บเสื่อ และอุปกรณ์ต่างๆ

 

ยางยืดผู้จัดจะนำไปตรวจสอบความถูกต้อง และนำไปมอบให้สมาคมคนตาบอดจังหวัดปราจีนบุรี

 

สถานที่จัด

โถงกิจกรรม ชั้น 1 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ  กทม. (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ทางเข้าสวนรถไฟ  ข้างปั้ม PTT สำนักงานใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

อยู่ตรงข้ามห้าง Central ลาดพร้าว ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต ถนนทางเข้าสวนรถไฟ

สามารถจอดรถยนต์ได้ที่ สวนรถไฟ 20 บาท (ค่าบำรุงสถานที่)

 

ความเป็นมากลุ่ม ยางยืดเปลี่ยนชีวิต

การประดิษฐ์ยางยืดแจกผู้คน เป็นงานอดิเรกส่วนตัว ทำเองแจกเองอยู่ 1 ปี  (ต้นปีพ.ศ.2556) หลังจากนั้น คิดอยู่ว่า ถ้าทำอยู่คนเดียวคงทำได้เพียงจำนวนไม่มาก จึงมีแนวคิดทำเป็นกิจกรรมจิตอาสาสอนผู้ที่สนใจทำสิ่งประดิษฐ์แบบต่างๆ มากมายตามที่คิดได้ และทดลองใช้งานแล้ว โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายจัดกิจกรรมที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กทม.) ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ถึงปัจจุบัน

ยางยืดเปลี่ยนชีวิต เป็นกิจกรรมกลุ่มอาสาอิสระที่ไม่ได้รับเงินทุนโครงการวิจัย เงินบริจาค หรือสิ่งของบริจาคใดๆ กลุ่มดำเนินกิจกรรมทุกเดือนที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กทม.) เดือนละ 1 ครั้ง และแจกยางยืดหรือสิ่งประดิษฐ์เฉลี่ย 100 ชิ้น /เดือน ให้กับบุคคลเป้าหมายต่างๆ ที่หลากหลาย การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งใช้เงินทุนขับเคลื่อนจากแหล่งที่มาดังนี้ 1) รายได้จากการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จำหน่ายหน้างานกิจกรรม 2) เงินค่าตอบแทนวิทยากรจากการเชิญไปจัดกิจกรรม CSR ในหน่วยงานต่างๆ 3) เงินเดือนของผู้จัดกิจกรรม

 

แนวคิดในการจัดกิจกรรม

จากผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครเมื่อคราวประสบอุทกภัยปลายปี 2554 เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะเป็นผู้ให้ด้วยการทำงานอาสา “ยางยืดเปลี่ยนชีวิต” เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2556 จากผู้ร่วมกิจกรรมจิตอาสาที่อยากผันตนเองมาเป็นผู้จัดกิจกรรม เพียงเพราะเห็นความสุขมากมายจากการเป็นผู้จัดกิจกรรมจิตอาสาท่านหนึ่ง จึงพยายามคิดทำกิจกรรมจิตอาสาในแบบอื่นๆ ที่ยังไม่มีใครทำ จึงได้ศึกษา ทดลองทำอุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ยางยืดแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ต้องการการกายภาพบำบัด และทดลองแจกใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลรามาธิบดีก่อน ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดีมากจากผู้ใช้งาน ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีสิ่งประดิษฐ์ 5 ประเภท  66 รูปแบบ 10 อนุสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์

วิธีการสมัคร:

จำนวนอาสาสมัครที่รับ:
พื้นที่ปฏิบัติงาน:
ปิดรับสมัครวันที่:
อีเมล:
เบอร์ติดต่อ: