เขียนโดย janelifes
เซน คืออะไร หลายคนอาจสงสัย Gou Jun Fashi (กงจือ ฟาซื่อ) หรือเรียกง่ายว่าท่าน Shifu (ซื่อฟู) พระภิกษุนิกายเซน ชาวจีน พำนักอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้เป็นวิทยากรในครั้งนี้ให้คำตอบว่าคือ การมีความสุขกับปัจจุบันขณะ แต่การอยู่กับปัจจุบันแล้วมีความสุขได้อย่างไร หรือการอยู่กับปัจจุบันทำอย่างไร ท่านตอบว่า ผ่อนคลาย (relax) และยิ้มให้ งงมั้ย เกิดคำถามใหม่อีกแล้ว แล้ว ไอ้ ?ผ่อนคลาย? เนี่ยทำอย่างไร คราวมีท่านตอบว่า ผ่อนคลาย แล้วยิ้มให้อีก คราวนี้ท่านอธิบายเพิมเติมว่า ?โอเค ไม่มีต่อรอง? ทุกๆเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตนั้นไม่ว่าจะร้ายหรือดีควรปล่อยให้มัน ผ่านไป ไม่ต่อความยาวสาวความยืด มีสติกับปัจจุบัน การมีสตินี้ทำอย่างไร ท่านตอบว่า ก็ต้องฝึกซิ นั่งภาวนาไงละ
ในการปฏิธรรมครั้งนี้ การเจริญสติมีหลายขั้นตอน และต้องเริ่มทำตามขั้นตอนอย่างละเอียด แต่ถ้าอยากรายละเอียดจริงๆต้องเข้าไปร่วมปฏิบัติธรรมเองละ หรือถ้าใครสนใจสามารถค้นหาได้ใน Drama Drum Mountain เปิดกูรู google.com ซิง่ายนิดเดียว ในที่นี้ขอเขียนคราวๆละกัน
1.Posture State จัดท่านั่ง ท่านั่งก็มีหลายท่าอีก แต่ที่สำคัญคือ นั่งหลังตรง ท่าขัดสมาธิ หัวเขาทั้งสองติดพื้น มือซ้ายทับมือขวา หรือมือไหนที่เราถนัดใช้ก็ให้เอาอีกมือหนึ่งทับไว้ หาเบาะมารองก้นด้วยนะ จะได้นั่งได้นานๆ ท่านั่งที่ผ่อนคลายและถูกต้องจะเป็นรากฐานที่มั่นคงแก่การเจริญภาวนาต่อไป
2.Body Scan Meditation State สำรวจร่างกาย เมื่อได้ท่านั่งแล้ว เริ่มเจริญภาวนากันเลย ในขั้นตอนนี้เน้นที่สำรวจส่วนต่างๆของร่างกาย ใช้ความรู้สึกผ่อนคลายไปตามจุดต่างๆ สามารถขยับส่วนนั้นๆให้ผ่อนคลายได้ เช้น ถ้าบ่าตึงก็ขยับ หรือนวดเบาๆ ให้ผ่อนคลายได้ มีทั้งหมด 26 จุด เริ่มด้วย สมอง ผ่อนคลาย (คือไม่คิดหรือจมกับความรู้สึกใดๆ), ตา ผ่อนคลาย, แล้วต่อด้วยจมูก, ปาก, ใบหน้า, หู, คอ, บ่า, หลังส่วนบน, หลังส่วนกลาง, หลังส่วนล่าง, หน้าอก, หน้าท้อง, ท้องน้อย, แขนด้านบน, แขนด้านล่าง, ฝ่ามือ, นิ้วมือ, เอว, ขา, เท้า, นิ้วเท้า, ร่างกายทุกส่วนผ่อนคลาย, ใจผ่อนคลาย และกายและใจผ่อนคลาย เมื่อสำรวจร่างกายทั่วทุกจุดตามขั้นตอนแล้ว จึงเริ่มสำรวจใหม่อีกครั้ง
3. Sitting Meditation นั่งภาวนา ขั้นตอนนี้เมื่อร่างกายและใจเราผ่อนคลาย ให้ตระหนักรู้ว่าเรากำลังนั่งภาวนาอยู่ ร่างกายและจิตใจรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากำลังนั่งอยู่ เท่านั้นเอง หากเมื่อใดที่ใจคิดฟุ้งซ้าน หรือกำลังเล่นกับความคิดหรืออารมณ์ที่เข้ามาก็ให้เตือนตัวเองว่า ผ่อนคลาย โอเค แล้วกลับมาตระหนักที่เรากำลังนั่งอยู่
4.Body Movement Meditation State สำรวจการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อเราตระหนักรู้ในขั้นที่สามได้แล้ว เราจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายของเรา เช่น การกระเพื่อมของน่าอก, หน้าท้อง ให้เราตระหนักถึงมันอยู่กับมันไปเรื่อยๆ บางคนอาจได้ยินเสียงเต้นของหัวใจเราเองเมื่อความตระหนักรู้เริ่มมากขึ้น แต่ถ้าบางคนไม่ได้ยินก็ไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องพยายาม เดี๋ยวมันจะไม่ผ่อนคลาย
ทั้ง 4 ขั้นนี้เป็นส่วนการตระหนักรู้ถึงร่างกายของเรา ตามหลักของเซนกล่าวว่า ธรรมชาติของจิตใจนั้น สามารถล่องลอยไปทุกหนทุกแห่ง และจ่อมจมได้กับทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นหากเราจะฝึกใจ หรือฝึกสติ ต้องเริ่มจากวงกว้างหรือส่วนที่ใหญ่ก่อน เฉกเช่น หมาเฝ้าแกะ ที่ต้องไล่แกะเข้ากรง มันวิ่งตีวงเข้าไปเรื่อยๆจนแกะเข้ากรงได้หมด การฝึกสติก็เช่นเดียวกัน
5.Breath Meditation State ฝึกสติด้วยลมหายใจ หลังจากเราตระหนักรู้กับร่างกายเราแล้ว ลมหายใจจะมาหาเราเอง หมายถึงเราจะรู้สึกถึงลมหายใจเข้า และออก อย่างเป็นธรรมชาติ เสมือนที่ลูกศรที่วิ่งเข้าเป้าหมายตรงกลาง เราจะตระหนักถึงลมหายใจเข้า และออกที่ปลายจมูกของเราได้เอง ไม่ต้องกำหนด ไม่ต้องบังคับมัน มันมาเอง ไม่เชื่อก็ลองดู
6. Counting Breath Meditation State ฝึกสติด้วยการนับหลังจากเราฝึกสติกับลมหายใจเรา จนกระทั้ง เราสัมผัสถึงลมหายใจยาวขึ้น และอ่อนนุ่มขึ้น เป็นจังหวะแล้ว ถึงขั้นตอนนี้คือ การนับ นับอย่างนี้นะคะ ลมหายใจเข้า ? ออก ถือเป็น 1 รอบ จึงนับ 1 จนถึง 10 แล้วเริ่มกลับไปนับ 1 ใหม่ไปเรื่อยๆ ที่สำคัญนับหลังจากลมหายใจออกสุดแล้ว เราจะพบว่ามันมีจังหวะหยุดสักนิดหนึ่ง เราจึงนับ ที่สำคัญกว่านั้น มันเป็นไปเองโดยธรรมชาติ ไม่ต้องบังคับมันนะ และเป็นไปอย่างผ่อนคลาย
7. Smile or Living Kindness Meditation State การยิ้ม การยิ้มให้กับตัวเอง ยิ้มเพื่อเปิดใจตนเอง การยิ้มในที่นี้ไม่จำเป็นต้องพบเจอเรื่องดีงาม หรือมีความสุข ไม่จำเป็นต้องบิ้วอารมรณ์ก่อนแล้วถึงยิ้ม แต่ยิ้มออกมาจากหัวใจ ลองดูเอาเองนะจ๊ะ ท่านบอกว่าเมื่อเรายิ้มอย่างจริงใจให้กับตัวเราเอง เราจะเห็นตัวเองมากขึ้น เพราะเราได้เปิดหัวใจ และยอมรับตัวเอง ท่านยกตัวอย่างเวลาเรานั่งภาวนา เมื่อจิตเราฟุ้งซ้าน เมื่อความเบื่อ หรือง่วงนอนมาเยือน เราก็ยิ้มให้กับมัน เหมือนกับว่ามันคือ เพื่อนของเรา ไม่ต้องตำหนิตัวเอง ยิ้มให้อภัยตัวเองได้
เมื่อเรามีปัญหา หากเรากังวลในเรื่องกับปัญหา ยิ่งกังวลเท่าไหร่ มันยิ่งเป็นปัญหามากขึ้นเท่านั้น แต่หากเรา มีสติกับมัน เมื่อจิตใจเราผ่อนคลาย ยิ้มให้กับมัน ใจเราจะกระจ่างชัดขึ้น และหากเราผ่อนคลายมากเท่าไหร่ เราจะค้นพบความกระจางมากขึ้นเท่านั้น เราจะพบทางแก้ไขได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น หรือแม้แต่ยังไม่พบทางแก้ไข แต่ใจเราสบายขึ้นแล้ว ไม่ทุกข์กับมันแล้ว
8. Love or Compassion Meditation State ฝึกสติด้วยความรัก ความรักในที่นี้ หมายถึง ความปรารถนาดี ความห่วงใย เข้าใจ ให้อภัย และยอมรับ เปรียบเช่น เมื่อเราฝึกสติ หรือภาวนา เราอาจเฝ้ารอว่าเมื่อไหร่ใจเราจะนิ่ง หรือเราอาจจะพบว่า ใจเราฟุ้งซ่าน คิดโน่น คิดนี่ หรือจมกับความรู้สึกต่างๆมากมาย หากเรายิ่งทุกข์กับมัน มัวแต่คิดว่าทำไมใจเราถึงดื้ออย่างนี้ เมื่อไหร่ใจเราจะนิ่งเสียที เราเปลี่ยนเป็นมอบความรักให้กับความคิด หรืออารมณ์ความรู้สึกนั้น ไม่โกรธ ไม่เกลียดมัน ให้อภัยมัน และยอมรับว่าตัวเราเองยังมีความคิดฟุ้งซ่านเช่นนี้อยู่ แล้วกลับมาฝึกฝนตัวเอง ห่วงใยตัวเองต่อไป หากเปรียบกับชีวิตเรา เมื่อเจอกับปัญหา หรือความไม่พึงพอใจใดๆ ให้คิดเสียว่า โอเค มันมาอีกแล้ว และปล่อยมันไป
ขั้นตอนที่เจ็ด และที่แปด เป็นขั้นตอนที่เน้นที่ทัศนคติของชีวิต และฝึกฝนกับการเจิรญสติภาวนา เพื่อนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ขั้นตอนหรือกระบวนการเหล่านี้ เป็นพื้นฐานแห่งการมีความสุขกับปัจจุบันขณะ และยังเป็นพื้นฐานแห่งการค้นพบศักยภาพด้านในของตัวเราเอง รวมทั้งป้องกันไม่ให้จิตใจเราเองเจ็บป่วยได้ด้วย แต่เพียงรู้เท่านั้นไม่พอ เซน เน้นที่การปฏิบัติจนเป็นนิสัย ดังคำกล่าวที่ว่า หากมีปัญหา หรือความทุกข์ใดๆ ให้กลับไปทบทวนกระบวนการ หากฝกฝนจนเป็นนิสัยแล้ว แสดงว่าไม่มีกระบวนการท่าน ฝากคำเด็ดไว้วันสุดท้ายว่า หากไม่รู้จักความทุกข์ เราจะเข้าใจธรรมมะได้อย่างไร และหากเราไม่รู้จักกับความเศร้า เราจะเข้าใจความหมายของรอยยิ้ม ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น จงหมั่นฝึกฝนสติ และยิ้มอย่างจริงใจให้กับตัวเองทุกวัน และเมื่อเราเปลี่ยน โลกทั้งโลกก็จะเปลี่ยนไปด้วย
ที่มา สถาบันต้นกล้า
http://www.tonkla.org/2008/index.php/2008-06-10-13-27-00/41-2008-09-30-06-00-13/331-amazing-zen.html