หลักการและเหตุผล
การพัฒนาภาคใต้ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมานั้น เกิดจากการตื่นตัวของหลายภาคส่วนที่ร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อตอบสนองโจทย์ปัญหาของพื้นที่ที่มีความแตกต่าง และประเด็นปัญหาทางสังคมที่นับวันยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญในการพัฒนาที่ผ่านมานั้น หลายๆ องค์กรได้ยึดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับพื้นที่ จนเกิดองค์ความรู้มากมายที่เป็นประโยชน์ ทั้งในประเด็นการจัดการภัยพิบัติ ประเด็นการศึกษา ประเด็นสิทธิมนุษยชน ประเด็นพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนไม่ว่าจะเป็นในระดับใด อาสาสมัครหรือจิตอาสาถือได้ว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในมิติต่างๆ เสมอมา
พลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมนั้น เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ทุกกลุ่มคน ทุกชุมชน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรูปแบบของการปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตอาสาที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่กลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลักสำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านอาสาสมัครแก่บุคคลนั้นคือ การเริ่มต้นปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งถึงวัยรุ่น ซึ่งสถานศึกษาทั้งหลายต้องกระตุ้น ส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความตระหนักรู้ถึงการให้และการช่วยเหลือสังคม เป็นการปลูกฝังค่านิยมในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจที่มีโอกาสได้ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น อันจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อไป ดังนั้น ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสาน เชื่อมโยงการทำงานเพื่อสังคมของเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาอันประกอบไปด้วยผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯ ใน ทั้ง 5 วิทยาเขต และรวมไปถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาสังคม จึงได้กำหนดจัดกิจกรรม มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ครั้งที่ 1 ขึ้น ในวันที่ 21 มีนาคม 2561 โดยมี สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ สงขลาฟอรั่ม โครงการบัณฑิตอาสา มูลนิธิรากแก้ว มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครือข่ายจิตอาสา และศูนย์อาสาสร้างสุขภาคใต้ เป็นองค์กรร่วมจัด เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมภาคใต้ ได้นำองค์ความรู้ของตนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานอาสาสมัครของแก่เด็กและเยาวชน นักศึกษา สถาบันอุดมศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไป เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม รูปแบบ กระบวนการดำเนินงานอาสาสมัครเชิงสร้างสรรค์ มีช่องทางการดำเนินงานอาสาสมัคร และนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนางานอาสาสมัครเชิงสร้างสรรค์ สู่พลังในการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สู่การสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินงานอาสาสมัครเพื่อสังคมในพื้นที่ภาคใต้ แก่นักศึกษา บุคลากร นักเรียน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเพิ่มมากขึ้น
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ร่วมกับเครือข่ายองค์กรอาสาสมัครและชุมชน ในการพัฒนางานอาสาสมัคร เชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ภาคใต้
- เพื่อเผยแพร่การกระบวนการทำงาน องค์ความรู้ ที่ได้จากการดำเนินงานอาสาสมัคร ทั้งจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม สู่ความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคใต้อย่างยั่งยืนต่อไป
วัน เวลา และสถานที่จัดโครงการ
วันที่ 21 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุม Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์อาสาสมัคร กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หน่วยงานร่วมจัด
- กองกิจการนักศึกษา ม.อ. หาดใหญ่ 2. เครือข่ายจิตอาสา
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขต 4. มูลนิธิรากแก้ว
- ศูนย์อาสาสร้างสุขภาคใต้ 6. โครงการบัณฑิตอาสา 7. สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) 8. สงขลาฟอรั่ม 9. มูลนิธิชุมชนสงขลา 10. มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
—————————
กำหนดการงานมหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ครั้งที่ 1
ณ วันที่ 21 มีนาคม 2561
ห้องประชุม Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
วันที่ 21 มีนาคม 2561
08.30-09.00 น ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน
09.30-10.00 น. กล่าวต้อนรับ โดยอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กล่าวรายงาน โดยรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
พิธีเปิด โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
10.00-11.00 น. เสวนาพิเศษ เรื่อง “งานอาสาสมัคร กับการพัฒนาที่ยั่งยืน”
โดย ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน ม.ธรรมศาสตร์
คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม
ดำเนินรายการเสวนาโดย คุณนันทินิ มาลานนท์ ผู้จัดการเครือข่ายจิตอาสา
11.00-12.30 น. ร่วมรับฟังการเสาวนาห้องย่อยตามหัวข้อที่สนใจ 4 ห้องย่อย ได้แก่
ห้องย่อยที่ 1 ….แนวทางการจัดการภัยพิบัติภาคใต้ (โดย…..SCCCRN)
ห้องย่อยที่ 2 …. “ห้องเรียนชุมชนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา” (Social Lab) (โดย…มูลนิธิรากแก้ว)
ห้องย่อยที่ 3….ผู้ประกอบการทางสังคม (โดย…ศูนย์อาสาสร้างสุข)
ห้องย่อยที่ 4….โรงเรียนกับการส่งเสริมงานจิตอาสา (โดย…องค์การนักศึกษา)
12.30-13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-15.00 น. ร่วมรับฟังการเสาวนาห้องย่อยตามหัวข้อที่สนใจ 4 ห้องย่อย ได้แก่
ห้องย่อยที่ 5… อาสา (ไม่) สมัครเล่น (โดย…เครือข่ายจิตอาสา)
ห้องย่อยที่ 6….พลังพลเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสังคมภาคใต้ (โดย…สงขลาฟอรั่ม)
ห้องย่อยที่ 7….กิจกรรมนักศึกษากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป (โดย…กองกิจการนักศึกษา)
ห้องย่อยที่ 8….บัณฑิตอาสากับการพัฒนาภาคใต้ (โดย…โครงการบัณฑิตอาสา)
15.00-16.00 น. เสวนา คนอาสาบันดาลใจ โดยทีมงานโครงการก้าวคนละก้าว
16.00- 16.30 น. พิธีปิดงานมหกรรมจิตอาสา ภาคใต้