พระไพศาล แนะคนไทยอย่าตื่นตระหนกจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย
21 มี.ค. 52 – พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ประธานเครือข่ายพุทธิกา ปาฐกถาธรรมพิเศษ เรื่อง “สุขสวนกระแส: ฉลาดใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจถดถอย” ภายในงาน “รวมพลคนฉลาดสุข รวมพลังสุขแท้ด้วยปัญญา” จัดโดยเครือข่ายพุทธิกา ด้วยการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระ ไพศาล กล่าวว่า แนวทางการดำรงชีวิตในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย ไม่ได้หมายความว่าความสุขของคนไทยเราจะต้องถดถอยหรือมีชีวิตตกต่ำตามไปด้วย เพราะความสุขหรือความทุกข์ นั้นอยู่ที่ใจ ถึง แม้คนเราจะมีรายได้น้อยลง แต่เราสามารถดำรงชีวิตให้มีความสุขมากกว่าเดิมได้ โดยขึ้นอยู่กับว่าเราจะวางใจ หรือใช้ชีวิตอย่างไร และหากวางใจเป็น ใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เราก็จะประสบกับความสุขแบบสวนกระแสเศรษฐกิจได้
“อะไรเกิดขึ้นกับเราไม่สำคัญเท่ากับว่าเรามีท่าทีกับมันอย่างไร เหตุร้ายจะผ่อนเป็นเบา หรือกลายเป็นดีได้หากเราพร้อมยอมรับกับความเป็นจริงไม่ตีโพยตีพายหรือยอมจำนนกับมัน ตั้งสติให้อยู่กับปัจจุบัน และทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่หวนอาลัยอดีตหรือมัวกังวลกับอนาคต”
จดจ่อใส่ใจกับสิ่งที่คนอื่นมีกัน ขณะ เดียวกันต้องฉลาดในการแสวงหาความสุขที่ไม่อิงวัตถุ และมองให้เห็นข้อดีจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมค้นหา และหยิบฉวยโอกาสใหม่ ๆ ที่แฝงอยู่ในวิกฤติ
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สุขที่แท้จริงมิได้เกิดจากวัตถุ แต่เกิดจากปัญญาในการมองโลก และใช้ชีวิตนั่นเอง
” ทำไมเราต้องรอให้เศรษฐกิจที่โน่นที่นี่ดีขึ้นถึงจะมีความสุข เราเรียกร้องสิ่งต่างๆ มากมาย ทำไมไม่ถามดูว่าทำอย่างไร เราจะมีความสุข คำถามนี้สำคัญเพราะจริงๆ แล้วสุข ทุกข์ อยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้อยู่ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกเป็นอย่างไร เราสามารถทำให้ใจเรามีความสุขได้ เพราะสุข ทุกข์ อยู่ที่ตัวเรา”
พระ ไพศาล กล่าวอีกว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยาพิษ เราจับต้องได้ถ้ามือไม่เป็นแผล ยาพิษจะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อมือเรามีแปล อันตรายไม่ได้อยู่ที่ว่าเราไปแตะต้องยาพิษ แต่อันตรายเพราะมือเรานั้นเป็นแผล ทำให้เราหันมากระตุ้นให้เห็นความสำคัญที่ตัวของเรา เราทำให้ใจของเราเป็นสุขได้ แม้ว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะเป็นอย่างไรก็ตาม
ประธาน เครือข่ายพุทธิกา กล่าวว่า ภายนอกอาจจะผันผวน ปรวนแปรเป็นนิจ ทำให้คนไทยบางคนเอาใจผูกติดกับค่าเงินบาท หรืออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่มีความสุขที่ยั่งยืนเพราะของพวกนี้แปรปรวน เพราะคนส่วนใหญ่มักจะจดจ่อแต่สิ่งที่เราไม่มี สิ่งที่มีเราไม่สนใจ เห็นคนอื่นที่มีมากกว่าเรา ก็เป็นทุกข์ แทนที่เราจะคิดว่า มีเท่าไหร่ก็ตามที่เรามี แต่ไม่เป็นอย่างนั้น พอเห็นสินค้าใหม่ วางขายตามห้างสรรพสินค้าเราเป็นทุกข์เลย
” เรามีซีดีร้อยแผ่น หรือมีร้องเท้าร้อยคู่ ก็ยังเป็นทุกข์ เพราะเรายังไม่มีซีดี 1 แผ่น หรือร้องเท้า 1 คุ่ ออกใหม่ แสดงว่าเราไม่รู้คุณค่าในสิ่งที่เรามี เห็นสิ่งที่ยังไม่มีสำคัญมากกว่าสิ่งที่มี นี่คือการมองโลกในเชิงลบ ทำให้คนมีความทุกข์มาก แต่ถ้าจะทำให้คนมีความสุขต้องให้คนหันมายอมรับความจริงว่าเศรษฐกิจอย่างนี้ แล้ว บ้านเมืองอย่างนี้แล้วเอามาใช้เปรียบเทียบกับเรื่องเจ็บป่วย ด้วยโรคมะเร็ง โรคหัวใจ เราตีโพยตีพาย เช่นเดียวกันกับการที่เราตกงาน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ป่วยการที่จะตีโพยตีพาย แต่ต้องยอมรับ การยอมรับไม่ได้แปลว่ายอมจำนน เราจะแก้อย่างไรถ้าใจคร่ำครวญ เราต้องยอมรับความจริง ต้องมองไปข้างหน้าเราจะจัดการแก้ไขใคร่ครวญ แทนการคร่ำครวญ เนื่องจากถ้าไม่หยุดคร่ำครวญ จะไม่มีเวลามาใคร่ครวญ”
ทั้ง นี้ การปรับตัวในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะต้องทำอย่างไร อาตมาก็ขอแนะนำว่าคนที่เคยเที่ยวเล่น ต้องเที่ยวให้น้อยลง ทำงานให้ มาก เพราะการมีความเพียรเป็นสิ่งจำเป็นต้องปรับตัว ใช้จ่ายให้น้อยลง ทำงานมาก สำหรับบางคนบอกว่านี่คือความทุกข์ กลายเป็นความฝืนใจ ทำงานหนักเป็นความทุกข์ ถ้าเราไม่ปรับใจปรับความคิด การปรับใจสำคัญที่สุด
พระ ไพศาล กล่าวว่า ทุกวันนี้คนมีความทุกข์เพราะมีสมบัติน้อย รายได้น้อย ถ้าเราปรับตัวพอใจสิ่งที่มีอยู่ จะทำให้เรามีความสุข เหมือนน้ำในแก้วที่มีครึ่งเดียว จะทำให้เต็มคือหาน้ำมาเติม หรือลดขนาดแก้วลง น้ำเต็มแก้วได้ด้วยการลดขนาดแก้ว ขวด หรือถ้วย ให้เล็กลง ปรับใจปรับ ความต้องการของเราให้พอประมาณ แต่ปรับแล้วเราต้องเรียนรู้ที่จะพอใจในสิ่งที่เรามี การพอใจสิ่งที่มี ยินดีสิ่งที่ได้ เพราะหากจดจ่อสิ่งที่เราไม่มี เราก็เลยไม่สามารถชื่นชมสิ่งที่เรามีได้
ประธาน เครือข่ายพุทธิกา กล่าวด้วยว่า ให้คนไทยหัดมองในแง่บวกมากขึ้น ชื่นชมในสิ่งที่เรามี แม้ว่าเราจะพบความสูญเสียก็ตาม ตัวอย่างเช่นมีคนที่โดนปล้นเหลือแต่ตัว พอมีคนทัก เขาก็บอกว่า เขาไม่ได้เสียอะไร เพราะถือว่าเสมอตัว เพราะตอนเกิดมาก็ตัวเปล่า โดนปล้นไปไม่ได้ขาดทุน
” แม้เศรษฐกิจถดถอย เรามีสมบัติน้อยลง สิ่งที่เรามีก็ยังมากกว่าก่อน เราไม่มีโทรศัพท์มือถือ เราไม่มีเอ็มพี 3 เราจนน้อยลง แต่เราก็มีสิ่งนี้อยู่ เราสบายกว่าแต่ก่อน ถ้าเราคิดได้อย่างนี้เราไม่ทุกข์มาก การที่เราสนใจสิ่งที่เรามีอย่างน้อยกินอิ่มนอนอุ่น”
Credit : http://www.prachatai.com/05web/th/home/16016