โดย อนันตชัย ยูรประถม anantachai@yahoo.com
Q : แนวทาง CSR ขององค์กรมุ่งเน้นเรื่องการอาสาสมัคร แต่จนแล้วจนรอด…ถ้าไม่บังคับยังไงพนักงานก็ไม่สมัคร

ขุม ทรัพย์สุดขอบฟ้าเริ่มตั้งแต่ CSR เป็นกระแสฮอตฮิตในบ้านเรา ของล้ำค่าที่บรรดาเหล่าอินเดียนน่าโจนส์ทั้งหลายตามหาในเขาวงกตองค์กรก็คือ “จิตอาสาแห่ง CSR” เพราะเชื่อกันว่าองค์กรใดได้ ครอบครองจิตอาสาแห่ง CSR แล้ว ถือว่าได้ บรรลุสุดยอดของการเป็นองค์กรแห่งความรับผิดชอบ ตราบจนเท่าปัจจุบัน แม้อินเดียนน่าโจนส์เหล่านั้นอาจจะต้องย้ายเขาวงกตใหม่แต่เป้าหมายก็ยัง เหมือนเดิม

อินเดียนน่าสาวท่านหนึ่งเคยถามผมว่า สาวกจิตอาสาในองค์กรนี่มักจะหน้าเดิมๆ อยู่เสมอ ประเภทที่ว่าออกผจญภัยมา 5 ครั้งแทบจะเขียนรายชื่อสาวกรอไว้ก่อนได้เลย บรรดาผู้ปกครองทั้งหลายก็มีแนวคิดว่า สาวกทั้งหมดควรจะมีโอกาสได้ออกผจญภัยไปสัมผัสกับดวงจิตอาสาอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่แต่สาวกหน้าเดิมๆ ดังนั้นออกเป็นประกาศคำสั่งซะเลยให้มันรู้แล้วรู้รอด ผมก็เลยบอกไปว่า ถ้าอย่างนั้นมันไม่ศักดิ์สิทธิ์แล้วละครับ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า “จิตอาสา” เล่นไปฉุดกระชากลากถูกันแบบนี้ของเสื่อมหมดกัน

ล่าสุดก็ เจอกับอินเดียนน่ารุ่นเยาว์เหมือนกัน พึ่งย้ายเขาวงกตเจออาถรรพ์แบบเดียว กันเป๊ะ ลองมาหลายวิธีแล้วพยายามหากิจกรรมผจญภัยใหม่ๆ มาหลอกล่อสาวก ให้ออกจากถ้ำ ท่านก็ไม่ยอมไปกันซะที เจอแต่หน้าเดิมสม่ำเสมอ

ที่ว่า มาไม่ได้รังเกียจรังงอนอะไรกับสาวกชุดเดิมๆ หรอกครับ มันเป็นธรรมดาและธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ทัศนคติและความเชื่อที่ฝังใจ ลบยังไงก็ “ไม่ออกซิแม่” จริงๆ สาวกชุดเดิมๆ ที่มีนะดีสุดยอดอยู่แล้วครับ เลื่อนฐานะมาเป็นหัวหน้าหมู่ CSR ไปเลย อย่าให้เป็นแค่สาวกต๊อกต๋อย เชิญเข้ามาเป็นผู้นำไปเลยครับ ช่วยกันคิดช่วยกันวางแผน และช่วยกันกระจายออกไป ใช้กลยุทธ์ดาวกระจายที่กำลังฮอตฮิตให้เป็นประโยชน์ครับ

อีกแบบหนึ่ง ก็คือ การทบทวนถึงเป้าหมาย CSR ขององค์กรว่าคืออะไร เราติดกับดัก “จิตอาสา” จนไปไหนไม่ได้หรือเปล่า เพราะเราคิดว่า CSR คือจิตอาสา หรือว่า CSR ของเรายกตัวอย่างนะครับ คือ “ความรับผิดชอบในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคม” และแนวทางหลักของเราก็คือ จิตอาสาของพนักงาน หรือ volunteering ที่นำไปสู่เป้าหมาย ดังนั้น ตัววัดความสำเร็จหลักของเราก็คือ “คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้มีส่วนได้เสียสำคัญของเราในสังคม” ไม่ใช่จำนวนของอาสาสมัคร เพราะอะไรครับ จำนวนสาวกที่มากันเยอะๆ นะ บอกไม่ได้ว่ามันทำให้กิจกรรมของเราสร้างคุณภาพชีวิตที่ให้กับสังคมได้เสมอไป บางครั้งคนน้อยแต่ได้เรื่องได้ราวก็มีถมไป แถมถ้ามาแบบแฟชั่นพานจะพาให้อินเดียนน่าโจนส์ทั้งหลาย ปวดหัวกับสาวก มิหนำซ้ำกลับไปยังมีเมาท์กันไม่รู้จบอีกต่างหาก ปัญหาต่อมาก็คือ การหาประเด็นที่จะพาสาวกออกไปลุย ก็ต้องเอาไอ้ที่มันเร้าใจสาวกไว้ก่อน จนบางครั้งก็ต้องทำอะไรซ้ำๆ อยู่ แต่ในกระแส ผลกระทบและคุณค่ามากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้ แล้วก็ดึงกลับมาเชื่อมโยงกับองค์กรไม่ได้เนื่องจากมัวแต่ห่วงตัวเลขสาวก

การ เปลี่ยนเป้าหมายมาเป็นเรื่อง “คุณภาพชีวิต” ทำให้เรามุ่งเน้นไปยังประเด็นที่มีคุณค่าของทั้งสองฝ่าย ส่วนจำนวนตัวเลขของสาวกเป็นตัวบ่งชี้ถึงการปรับปรุงกระบวนการในการดำเนิน กิจกรรม CSR ของเรา ซึ่งช่วยให้เราเข้าถึงการสร้างคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลักของเราที่ได้ตั้งไว้

งาน นี้อินเดียนน่าโจนส์ได้ทั้งความ อิ่มเอมใจในเป้าหมายแล้วก็ความท้าทายของการสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆไปพร้อมๆ กัน… เพราะเขาเหล่านั้นหลุดออกจากเขาวงกตได้แล้วครับ

 

Credit : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ