เยาวชนรากหญ้ารักษ์ถิ่น  เอคุ้นหน้าคุ้นตา แต่เอ…  ไหง ชื่อเสียงเรียงนาม เปลี๋ยนไป๋  งานนี้  น้อง ๆ บอกว่า เป็น “กลุ่มเยาวชนเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ” เจ้าเก่า แต่ขอเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “รากหญ้ารักษ์ถิ่น” หรือเหล่าลูกหลานเกษตรกร ชาวไร่ชาวนา เป็นคนที่รักบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองนั่นเอง

ค่ายเยาวชนราก หญ้ารักษ์ถิ่น ตอนตะลุยเมือง  วันที่ 19-22 มีนาคม ที่ผ่านมานี้ มีกิจกรรมตามหาเมล็ดพันธ์ มีกิจกรรมเรียนเรียนรู้วิถีชีวิตคนดอย ใช้ชีวิตอย่างไร เป็นอยู่ และสัมพันธ์กันอย่างไร พวกเขาปรับตัวอย่างไร    เรียนรู้เรื่องเส้นทางเกษตรเชิงเดี่ยว ไปเดินสำรวจผัก ผลไม้ ตลาดเมืองใหม่ ของเมืองเชียงใหม่   เรียกได้ว่า งานนี้น้องๆ ได้ทั้งเนื้อหาสาระ และได้เห็นของจริง เพราะได้ลงพื้นที่ไปเยี่ยมชุมชนเมือง พูดคุยกับคุณลุง คุณป้า คุณน้า คุณอา ชาวลีซู ชาวอ่าข่า ที่ลงมาใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่นานหลายสิบปีมาแล้ว

บ่ายๆ อากาศร้อนๆ เหล่าเยาวชนปกาเก่อญอยกขบวนกันไปลองมาใช้ชีวิตแบบคนในเมืองกันจริงๆ  โดยแยกกันเป็นกลุ่มๆ  ไปเดินห้างสรรพสินค้า ในตัวเมืองเชียงใหม่  กิจกรรมนี้พี่หนิง บอกว่า “เอ้า ! ลองใช้  50 บาทในห้างดูสิ” ภายใน 1 ชั่วโมง  แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องมีหลักฐานกลับมานะจ๊ะ  ใครกินไอศกรีม ก็ต้องถือแท่งไม้มาโชว์ด้วย  ใครเหลือตังค์ต้องคืนนะจ๊ะ (อุ๊บอิ๊บ ไม่ได้ด้วย…  ฮิฮิ)  เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และเรียกเสียงฮามากที่สุดเลยทีเดียว

บาง คนได้ของจำพวกอาหาร ของกิน เครื่องดื่ม นม  น้ำอัดลม  บางซื้อของใช้ สบู่ แชมพู ผงซักฟอก  ยางรัดผม สมุด ปากกาแฟนตาซี หนังสือ  พวงกุญแจ  กระดาษเขียนจดหมาย   หนึ่งในจำนวนนั้นเอาไปเล่นเกมส์  หลายคนอยากถ่ายรูปสติ๊กเกอร์เพื่อเป็นที่ระลึก

ส่วน เหตุผลการจับจ่ายแต่ละคนก็แตกต่างกันไป เช่น  อยากกินครับ  บางคนบอกว่าผมจำเป็นต้องใช้ครับ   หรือมันอยู่ใกล้มือค่ะ  ราคาใกล้เคียงครับ  บ้างบอกว่าซื้อว่า ไม่มีเวลาเลือกแล้ว(จ๊าก!)   คำบอกสองสามคนก็ทำเอาเพื่อนงงๆ  เพราะบอกว่า “หิวน้ำ เลยซื้อนมง่ะ”  “หิวน้ำเลยซื้อไอศกรีม” (อ้าว ! ไหงเป็นงั้นไป ??????? )

3 คืน 4 วัน ทำให้พวกเขาได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มากมาย ได้เพื่อนใหม่ ได้รู้จักกันมากขึ้น ได้เข้าใจชีวิตคนบนดอยที่ต้องย้ายมาอยู่ในเมืองมากขึ้น เพราะไม่มีทำกินแล้วที่หมู่บ้านบนดอย เพราะถูกการประกาศอุทยานทับที่ทำกิน เพราะไม่มีอะไรทำแล้วในชุมชน หรือ เพราะอยากใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น ได้เห็นวิถีชีวิตเยาวชนชนเผ่าที่อยู่เมือง ที่ต้องปรับตัวอยู่ไม่ใช่น้อย มีอะไรๆ อีกมากมายที่ต้องฝ่าฝัน ต้องแข่งขันกับผู้คน

เห็น การหายไปเมล็ดพันธุ์พื้นเมือง  เห็นว่าราคาผลผลิตไม่แน่นอน ราคาผัก ผลไม้ทีตลาด ราคาถูกกว่าราคาในห้างสรรพสินค้าเป็นสิบเท่า ขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ ต้องทำงานหนักในไร่ในนา บางหมู่บ้านใช้สารเคมี  ปุ๋ยเคมี  ปีๆ หนึ่งผลผลิตไม่ได้มาก ขายแล้ว หักต้นทุนแล้วเหลือไม่เท่าไหร่ แถมยังได้โรคภัยไข้เจ็บอีก

อนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป  วันนี้เยาวชนบอกว่าเขาจะไม่อยู่นิ่งเฉยต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้อีกต่อไป

วันสุดท้าย พวกเขาได้คุยกันถึงภาพชุมชนในฝันของตน และสร้างชุมชนใหม่กับเพื่อนๆ ในกลุ่มกับกิจกรรม “ชุมชนในฝันของฉัน” การทำมาหากิน เขาจะมีความพอเพียง ปลูกผักสวนครัวเอาไว้กินเอง เพื่อความปลอดภัยและประหยัด เพาะปลูกผสมผสาน เลี้ยงสัตว์ สิ่งแวดล้อม พวกเขาต้องการโรงพยาบาล โรงเรียน มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีน้ำตก มีป่าไม้  มีศูนย์วัฒนธรรมกลางป่า  มีห้างสรรพสินค้าธรรมชาติ ( อื้ม… จะเป็นยังไงน้อ)

การจัดการชุมชน ผู้นำของพวกเขาต้องไม่ใช้อำนาจมากเกินไป  ใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างยั่งยืน  ไม่มีขยะเรี่ยราด   จัดโซนนิ่งเป็นสัดส่วน  เด็กและเยาวชนมีการสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญา มีนักวิชาการในชุมชน  การดำรงชีวิต เขาใช้ชีวิตเรียบง่าย  คนทุกวัยสัมพันธ์กัน อยู่กันอย่างพี่น้อง รักกัน แต่งกายชุดชนเผ่า และใช้สมุนไพรเมื่อเจ็บป่วย


กว่าความฝันจะเป็นจริง

อาจ ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ง่ายเลยหากจะทำคนเดียว  ต้องเร่งพัฒนาตนเอง  ชวนเพื่อนมาช่วยกันคิด กันทำมากขึ้นเสียแล้ว   เหล่าเยาวชนรากหญ้าฯ ต่างให้สัญญากับตนเองและเพื่อนๆ ในกลุ่ม  ไม่นานพวกเขาจะมาพบกันใหม่… พร้อมทั้งนำเรื่องราวมาแบ่งปันกันในวันหน้าต่อไป

ได้ เห็นกิจกรรมสนุกๆและได้เรียนรู้มากมายอย่างนี้ เห็นความตั้งใจของน้องๆ  แววตาความมุ่งมั่นนั้น ทำให้ทีมพี่เลี้ยงมีความสุขกันถ้วนหน้า และสัญญาว่าจะขยันเขียนเล่าเรื่องราวกิจกรรมดีๆ มาแบ่งปันบ่อยๆ  ขึ้นจ้า  วันนี้ต้อง บ๊าย บาย แล้วเจอกันใหม่จ้า โอเมอ เชอเปอ

ผู้เขียน   พี่นอสะดา


ที่มา เครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา

http://www.seubsan.net/th/index.php/2008-06-14-04-14-46/north/246-2009-03-23-15-54-28.html