สนุกกว่าเรียนในห้อง เพราะว่าเมื่อเราเข้ามาในแหล่งทรัพยากร เราได้เห็นของจริงไม่ใช่แค่ดูรูปแต่ในหนังสือ”
เรียน เล่น หัวเราะเริงร่าและรู้ กับครูอาสาเพื่อการศึกษาทางเลือก อาร์ท มงคล ด้วงเขียว กับบทเรียน ๒ ปี ครูอาสาเพื่อการศึกษาทางเลือก ประจำกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ จ.สุราษฎร์ธานี
“การศึกษาทางเลือก” เป็นตัวเลือกของการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่นักเรียนสามารถเลือกศึกษาเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และการศึกษาทางเลือกในรูปแบบของ “กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์” จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีกระบวนการส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนแต่ละพื้นที่ ได้มีการเลือกศึกษาเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน เช่น โรงเรียนยุวชนซึ่งมีนักเรียนในรูปแบบการศึกษาทางเลือกอยู่ 4 คน แต่ละคนมีการจัดเวลาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีพี่ๆ จากกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ช่วยสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนมีการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานกับพี่กลุ่มยุวชน เช่น การเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษากับกลุ่มเยาวชนเครือข่าย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกับการฝึกการทำงานในชุมชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น การฟื้นฟูภูมิปัญญาในด้านต่างๆ
ใน อีกความหมายหนึ่งของการศึกษาทางเลือก ที่กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ได้มีการจัดให้กับกลุ่มเยาวชนเครือข่ายในพื้นที่ ต่างๆ ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี คือ สร้างฐานการเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งในแต่ละชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ แหล่งเรียนรู้เหล่านี้เด็กเยาวชนในปัจจุบันจะไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปในด้านการเรียนในโรงเรียนมากกว่า
กลุ่ม เยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ดังกล่าวจะมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อจะใช้เวลาว่างในวันเสาร์-อาทิตย์ ในการเข้าไปเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง บางครั้งอาจมีการประสานไปยังครูภูมิปัญญาในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อให้เข้ามาเป็นครู เป็นวิทยากรในการสร้างองค์ความรู้ บางครั้งถ้าพี่ๆ จากกลุ่มยุวชนฯว่าง ก็จะเข้าไปช่วยสอนในรายวิชาสามัญ เป็นการช่วยเพิ่มเติมความรู้ให้กับเด็กนักเรียนในพื้นที่ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ศิลปศึกษา คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยเป็นการเข้ามาศึกษาตามความสนใจของเด็กนักเรียนเอง
จากระยะ เวลาที่ผ่านมา การจัดระบบการศึกษาในรูปแบบของการศึกษาทางเลือกของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ ได้ชี้ให้เห็นว่า การที่เด็กเกิดความสนใจในด้านใดแล้ว ถ้าผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนความต้องการเรียนรู้ของเด็กเหล่านั้น เด็กอาจมีการศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งการเรียนรู้หลายๆ แหล่ง บางครั้งผู้ใหญ่อาจหาคำตอบไม่ได้ แต่เมื่อเด็กเยาวชนได้รวมกลุ่มกันเพื่อที่จะศึกษาถึงเรื่องราวต่างๆ ในชุมชน ร่วมศึกษาหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาในบางเรื่อง เด็กๆ อาจหาคำตอบมาให้ผู้ใหญ่ได้ เช่น การศึกษาเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติในชุมชนของตนเอง
ใน เบื้องต้นเด็กๆ มีการร่วมกันศึกษาสาเหตุของปัญหาต่างๆ ก่อนว่า ก่อนหน้านั้นอะไรที่ทำให้เกิดการลดลงของทรัพยากรในชุมชนของตนเอง เมื่อได้คำตอบแล้ว มีการคิดร่วมกันและวางแผนจะทำอย่างไร เพื่อให้แหล่งทรัพยากรในชุมชนกลับคืนสู่สภาพเดิมอีกครั้ง บางครั้งผู้ใหญ่บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระแทนที่จะเอาเวลาไปเรียน หนังสือ อ่านหนังสือสอบ แต่กลับมาทำอะไรไม่รู้ จนในวันหนึ่งกลุ่มเด็กได้ร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชุมชน ให้มีสภาพดีขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน
จะ เห็นได้ว่าการศึกษาตามความต้องการของเด็กเยาวชนในชุมชนของตนเองนั้น บางอย่างไม่ได้ทำเพื่อให้รู้ ให้ทราบเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาฟื้นฟูชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม บางครั้งผู้ใหญ่อาจมองข้ามหรือไม่สามารถทำได้เหมือนกับกลุ่มเด็กๆ ก็ได้ การศึกษาตามความต้องการของเด็กในด้านต่างๆ ยังเป็นการเริ่มต้นในการศึกษาในรูปแบบที่ละเอียดมากขึ้น เช่น การมองเห็นปัญหาในชุมชนของกลุ่มเด็ก หลังจากที่เด็กๆ เห็นถึงปัญหาแล้วได้มีการปรึกษาหารือร่วมกับผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุน จนเกิดการพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเป็นโครงการวิจัย ซึ่งผู้ทำวิจัยก็คือกลุ่มเด็กเหล่านั้นเอง เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัยเด็กๆ จะได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ในชุมชนได้
จากพนักงานขาย..สู่เส้นทางครูอาสากลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ
จาก พนักงานในห้าง Jungceylon ตอนนี้เข้ามาอยู่ในโครงการครูอาสาเพื่อการศึกษาทางเลือกในพื้นที่กลุ่ม เยาวชนรักษ์ท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ใหม่ในการเรียนรู้ ทุกสิ่ง ทุกอย่างคือสิ่งใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน หลากหลายคำถามที่เกิดขึ้นกับการเข้าไปอยู่ในพื้นที่เพียงคนเดียว เป็นพื้นที่ห่างจากกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์กว่า 90 กิโลเมตร บ้านหนึ่งหลังพร้อมที่ดินในโรงเรียนบ้านมะม่วงงาม เป็นบ้านพักครูที่เป็นบ้านไม้สภาพไม่ค่อยดีนัก เสาบ้านบางต้นปูนหลุดออกจากเหล็กเส้น เหลือเพียงต้นเท่าแขน ต้องรับการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน
ช่วง กลางคืนเป็นช่วงแห่งความเปล่าเปลี่ยว อ้างว้าง บ้านหนึ่งหลังพร้อมที่ดินท่ามกลางสวนปาล์มหนาทึบ เสียงหริ่งเรไรระงมไปทั่ว ทำให้บรรยากาศโดยรอบเต็มไปด้วยความวังเวง ความกลัวค่อยๆ เข้ามาในความคิดทั้งๆ ครูอาสาฯ ทุกคน ก่อนลงพื้นที่ทำงานต้องผ่านการเจริญสติจากหลวงตามหาสุริยา มหาปัญโญ จากวัดป่าโสมพนัสมาแล้วกว่าหนึ่งสัปดาห์ แต่มันก็ไม่ใช่สาระสำคัญอะไรที่เราจะมากลัวกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เป็นคำปลอบใจที่ทำได้ดีที่สุดในตอนนั้น
นัก เรียนกว่ากว่า 1,000 คน ในโรงเรียนท่าชนะที่ผมต้องเข้าไปแนะนำตัว ไปรู้จักสมาชิกกลุ่มแต่ละคน เป็นเรื่องที่ยากในช่วงเวลานั้น กระบวนการอะไรก็ยังไม่มีแล้วจะเข้าไปทำอะไรกับเด็กๆ ดีล่ะ? เป็นคำถามที่ค่อนข้างท้าทายในการคิดกระบวนการที่สามารถสร้างการเรียนรู้ให้ กับนักเรียนกว่า 70 คน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะที่เข้ามาร่วมกิจกรรมในชุมนุม
“กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ” เป็นกลุ่มเยาวชนที่รวมตัวกันทำกิจกรรมด้านการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อ่าวท่าชนะ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงทะเล ในการร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆกับกลุ่มเยาวชนเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนได้มีการพัฒนากิจกรรมเป็นโครงการวิจัย การศึกษาแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำคันธุลี/ โครงการวิจัยพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การยกระดับฐานความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในเครือข่ายเยาวชนสืบสาน ภูมิปัญญา
การ ทำงานในปีแรก ครูอาสาได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มรักษ์ท่าชนะ ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่จัดขึ้นในชั่วโมงกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนท่าชนะ และเป็นพื้นที่หลักที่ต้องเข้าไปจัดกระบวนการเรียนรู้โดยมีฐานทรัพยากรชุมชน ที่สำคัญ 2 แห่ง คือ อ่าวท่าชนะ และป่าพรุคันธุลีโดยการกระตุ้นความสนใจที่จะค้นหาเรียนรู้อะไรบางอย่างที่มี อยู่ในฐานทรัพยากรของตัวเอง เช่น การสืบค้นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่มีการพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน การชวนเด็กเยาวชนเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งเน้นการเรียนรู้จากพื้นที่จริงเพื่อให้พวกเขาได้สัมผัสการเรียนรู้ที่ แท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้พวกเขาเกิดจิตสำนึกที่ดีในการร่วมกันอนุรักษ์แหล่งทรัพยากร ธรรมชาติที่สำคัญในชุมชนที่มีแนวโน้มว่าจะลดลงไปเรื่อยๆ
กิจกรรม ที่ครูอาสาฯ ร่วมทำกับเยาวชนในพื้นที่อำเภอท่าชนะในช่วงแรก คือ การเรียนรู้พื้นที่หรือแหล่งทรัพยากรที่เป็นฐานเรียนรู้หลักของกลุ่มเยาวชน ที่นี่ ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ครูอาสาเอง เนื่องจากที่นี่เป็นพื้นที่ใหม่ในการเรียนรู้สำหรับครูอาสาด้วย กิจกรรมที่สามารถสร้างการเรียนรู้ในโรงเรียนคือการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกิจกรรมที่ผ่านมา วิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรชุมชนปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การ เรียนรู้ผ่านรูปแบบการเล่นเกม เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างการเรียนรู้ให้กับสมาชิกกลุ่มได้ค่อนข้างดี โดยเป็นเกมที่เน้นการใช้ความคิดจากการเรียนรู้ในฐานทรัพยากร และสร้างจิตสำนึกที่ดีในการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องมีพี่เลี้ยง แกนนำเยาวชน เข้าร่วมด้วย เพื่อช่วยในการเชื่อมระหว่างครูอาสากับสมาชิกกลุ่มเยาวชน กิจกรรมวาดภาพ บอกเล่าความรู้สึกในการร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี
หลาย ครั้งที่ครูอาสาและสมาชิกกลุ่มเยาวชนได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้จากพื้นที่จริง ทั้งป่าพรุคันธุลี อ่าวท่าชนะ รวมถึงป่าชายเลน ในการลงพื้นที่แต่ละครั้งพวกเขาจะได้เห็น ได้สัมผัส สิ่งที่เป็นจริง น้องหลายคนได้สะท้อนว่า “สนุกกว่าเรียนในห้อง เพราะว่าเมื่อเราเข้ามาในแหล่งทรัพยากรเราได้เห็นของจริงไม่ใช่แค่ดูรูปแต่ในหนังสือ”
เสียง สะท้อนจากน้องๆ เป็นการสร้างกำลังใจให้ผมได้มาก เมื่อพวกเขามีความสุขกับการเรียนรู้เราก็มีความสุขไปด้วย แม้ว่าบางครั้งสภาพอากาศจะร้อนมากเนื่องจากอยู่ริมทะเล แต่ละคนเหงื่อท่วมตัวแต่พวกเราก็มีเสียงหัวเราะหยอกล้อ ตลอดการค้นหา เรียนรู้ ทั้งยังได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ในพื้นที่ไม่น้อยเช่นกัน
จาก การเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนที่ผมจะเข้าไปมีบทบาทในกลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ จนถึงช่วงที่ผมได้เข้าไปเรียนรู้และร่วมกิจกรรมด้วย ผู้ใหญ่หลายๆ ฝ่าย ได้แก่ ครูที่ปรึกษา พี่เลี้ยงกลุ่มเยาวชน ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน ครูภูมิปัญญา ได้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้จากฐานทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง และต้องการให้การเรียนรู้ของเด็กเยาวชนมีความต่อเนื่อง จึงได้นำกระบวนการวิจัยท้องถิ่นเข้ามาหนุนเสริมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับพวกเขา โดยใช้กระบวนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) จากเดิมที่มีการเรียนรู้เฉพาะสมาชิกกลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ เป็นนักเรียนที่เรียนวิชาสาระเพิ่มวิทยาศาสตร์ประมงชายฝั่งให้เข้าร่วม กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับการเรียนรู้ที่มีอยู่เฉพาะกลุ่มให้เป็นการเรียน รู้ในระดับชั้น และยกระดับถึงการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยมีการพัฒนาให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละชั้น
ที่ มา http://thaivolunteer.org/myweb/index.php?option=com_content&view=article&id=153:-2&catid=13:2011-07-09-14-04-31&Itemid=18