งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 2
(The 2nd National Conference on Volunteerism)
หลักการและเหตุผล
อาสาสมัคร เป็นภาคส่วนสำคัญในการมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงการทำงานด้านการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ นับตั้งแต่ภัยพิบัติสึนามิในปี 2547 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระแสความเคลื่อนไหวด้านการทำงานอาสาสมัครในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันที่ผู้คนในสังคมหันมาสนใจการทำงานอาสาสมัครเพิ่มมากขึ้น อาสาสมัครมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปช่วยเสริมเติมเต็มให้กับงานพัฒนาในหลากหลายภาคส่วนและหลากหลายประเด็น อาทิ อาสาสมัครในสถานการณ์ภัยพิบัติ, งานอาสาสมัครในภาคการศึกษา, งานอาสาสมัครกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อม, งานอาสาสมัครกับประเด็นด้านการสาธารณสุข เป็นต้น ในปัจจุบันกระแสงานด้านอาสาสมัครในประเทศไทยกำลังเติบโตและได้รับความสนใจจากหลากหลายภาคส่วนมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนปัจเจกบุคคลที่ต้องการเป็นอาสาสมัครที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และทั้งองค์กรในภาคส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐที่มีอาสาสมัครเป็นกำลังสำคัญอยู่ในเกือบทุกกระทรวง, ภาคเอกชนที่มีความตื่นตัวในการทำงานด้านการรับผิดชอบต่อสังคม, ภาคประชาสังคมที่ใช้อาสาสมัครเป็นตัวขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนา, องค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนอาสาสมัครต่างชาติมาช่วยงานด้านการพัฒนาต่างๆ, ภาคส่วนสถาบันการศึกษา ที่มีนโยบายในการส่งเสริมงานอาสาสมัครทั้งในวิชาเรียนและกิจกรรมนักศึกษา และจากการศึกษาวิจัยสถานะงานอาสาสมัครในประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา เรื่องการบริหารจัดการอาสาสมัครถือเป็นประเด็นสำคัญ ที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้งานอาสาสมัครที่ทำประสบผลสำเร็จ และเกิดความพยายามในการสร้างกลไกบริหารจัดการอาสาสมัครในระดับต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในระดับประเทศนั้น เมื่อต้นปี 2559 ที่ผ่านมา เครือข่ายจิตอาสาได้รับมอบหมายจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการเป็นกลไกกลางในการประสานเครือข่ายองค์กรอาสาสมัคร และการส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
จากกระแสการเติบโตดังกล่าว ทำให้ในปี 2558 ที่ผ่านมาเครือข่ายจิตอาสาร่วมกับภาคีเครือข่ายจำนวน 21 องค์กร ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันจัดงานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัครครั้งที่ 1 ขึ้น ในวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมีแนวคิดหลักในการจัดงานคือ “งานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” อันเป็นการรวบรวมความรู้และประสบการณ์ ด้านการทำงานอาสาสมัครในประเด็นด้านการพัฒนาและเครื่องมือในการทำงานอาสาสมัคร ซึ่งจากการจัดงานครั้งที่ผ่านมา ได้รับผลตอบรับที่ดียิ่งในการเป็นเวทีสื่อสารเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านการทำงานอาสาสมัคร และเป็นการเชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอาสาสมัครในทุกภาคส่วน
ดังนั้น ปี 2559 นี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะดำเนินการจัด งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 ขึ้นในวันที่ 28 – 29 กันยายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อดำเนินการสานต่อในการเผยแพร่ความรู้และเครื่องมือในการทำงานใหม่ๆให้กับองค์กรหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านงานอาสาสมัคร และเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านงานอาสาสมัครในการขับเคลื่อนและยกระดับงานร่วมกัน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังของอาสาสมัครที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อสำรวจสถานการณ์งานอาสาสมัครในภาพรวมระดับประเทศ และเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านงานอาสาสมัครกับประเด็นการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ
- เพื่อเผยแพร่และนำเสนอองค์ความรู้ ด้านงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนา อันจะนำมาสู่การยกระดับการทำงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาประเทศ
- เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนด้านงานอาสาสมัครในประเทศไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกิดการยกระดับความเข้าใจและตระหนักรู้ของสังคมเกี่ยวกับคุณค่าของงานอาสาสมัครต่อการพัฒนาประเทศ
- เกิดชุดความรู้และตัวอย่างปฏิบัติการด้านงานอาสาสมัครซึ่งสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
- เกิดเครือข่ายและเกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคส่วนต่างๆในการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครในประเทศไทย
รูปแบบการดำเนินงาน
เป็นการจัดงานประชุมเชิงวิชาการ ในประเด็นเรื่องงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาในมิติต่างๆ โดยมีทั้งรูปแบบ การจัดเวทีเสาวนา, การนำเสนอกรณีศึกษา/ ผลงานทางวิชาการ, การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อนำเสนอและเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านงานอาสาสมัคร
องค์กรผู้รับผิดชอบ
- เครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network) : องค์กรประสานงานกลาง
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- สถาบันคลังสมองของชาติ
- สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย
- มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
- มูลนิธิกระจกเงา
- มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- องค์การหน่วยอาสาสมัครอังกฤษ Voluntary Service Overseas (VSO)
- กลุ่มนวัตกรรมเยาวชนเพื่อสังคม (Why I Why)
- มูลนิธิเพื่อคนไทย
- United Nation Volunteer (UNV)
- โครงการธนาคารจิตอาสา
- เครือข่ายพุทธิกา เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย
- Thai Young Philanthropist Network (TYPN)
ผู้สนับสนุนการจัดงาน
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วัน/ เวลา/ สถานที่ในการจัดงาน
- วันที่ 28 – 29 กันยายน 2559
- เวลา: 09.00 – 16.30 น.
- สถานที่: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์
การติดต่อประสานงาน
เครือข่ายจิตอาสา
ที่อยู่: 2044/21 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. 10310
เบอร์ติดต่อสำนักงาน: โทร 02-319-5017 (10.00 – 17.00 น.)
เว็บไซต์: www.volunteerspirit.org
ผู้ประสานงาน (เวลาทำการ 10.00 – 17.00 น./ จันทร์ – ศุกร์)
(1) นางสาวปรวรรณ ทรงบัณฑิตย โทร. 084 – 6094509 Email: porrawan@volunteerspirit.org
(2) นายพันธกานต์ อินต๊ะมูล โทร. 085 – 0332794 Email: phantakarn@volunteerspirit.org
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
กำหนดการ งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 2
วันที่ 28 กันยายน 2559 | ||||
9.00 – 10.00 | พิธีเปิดการประชุม – อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวต้อนรับ – กล่าวรายงานความเป็นมา โดย น.ส. นันทินี มาลานนท์ ผู้จัดการเครือข่ายจิตอาสา – รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม/ ปลัดกระทรวง พม. กล่าวเปิดงาน – การแสดงเปิดงานโดยชมรมขับร้องประสานเสียง มธ. [หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก)] |
|||
10.00 – 10.30 | ปาฐกถาเปิดงานประชุม “อาสาสมัครกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ [หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก)] |
|||
10.30 – 12.00 | Plenary Session “อาสาสมัคร เส้นทางสู่การลงมือเปลี่ยนแปลงสังคม (Volunteering as a Pathway to Civic Engagement) วิทยากร 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล – รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) คุณวิเชียร พงศธร – ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย 3) Mr. Shaun Vincent – ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก องค์การหน่วยอาสาสมัครประเทศอังกฤษ (VSO) ผู้ดำเนินรายการ: ดร. สรยุทธ รัตนพจนารถ [หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก)] |
|||
12.00 – 13.00 | พักรับประทานอาหารเที่ยง ตามอัธยาศัย | |||
13.00 – 14.30 | “กระบวนการอาสาสมัครในฐานะเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม” (Volunteering as a tool for civic engagement ,the key to active citizenship ) [ห้องประชุม สัญญา ธรรมศักดิ์, ชั้น2 ตึกโดม] |
“กระบวนการอาสาสมัครกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Volunteering in Education for sustainable development) [ห้องประชุม บุญชู โรจนเสถียร, ชั้น3 อาคารอเนกประสงค์] |
“การส่งเสริมงานอาสาสมัครสำหรับพนักงานองค์กรคืออะไร?” (What is corporate volunteering?) [ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์, ชั้น3 ตึกอเนกประสงค์] |
“การยกระดับและพัฒนาศักยภาพองค์กรรับอาสาสมัคร” (Improving capacity and scaling impact of volunteer involved organization) [ห้องประชุม คึกฤทธิ์ ปราโมช, ชั้น9 ตึกอเนกประสงค์] |
14.30 – 16.00 | “การใช้กระบวนการอาสาสมัครสำหรับส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง” (How to engage volunteering in civic education? ) [ห้องประชุม สัญญา ธรรมศักดิ์, ชั้น2 ตึกโดม] |
“กลไกส่งเสริมงานอาสาสมัครในมหาวิทยาลัย” (How to promote university volunteering?) [ห้องประชุม บุญชู โรจนเสถียร, ชั้น3 อาคารอเนกประสงค์] |
“กรณีศึกษาการบริหารจัดการอาสาสมัครพนักงานองค์กร “ (Studied Cases : Corporate Volunteering ) [ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์, ชั้น3 ตึกอเนกประสงค์] |
“การดูแลผูกสัมพันธ์และรักษาอาสาสมัคร” (How to sustainably keep and retain volunteers) [ห้องประชุม คึกฤทธิ์ ปราโมช, ชั้น9 ตึกอเนกประสงค์] |
จบการประชุม |
วันที่ 29 กันยายน 2559 | ||||
09.00 – 10.30 | “การบริหารจัดการอาสาสมัครเพื่อเป้ามายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Implementing Volunteer Management for sustainable development) [ห้องประชุม คึกฤทธิ์ ปราโมช, ชั้น9 ตึกอเนกประสงค์] |
“กลไกกลางระดับประเทศเพื่อสร้างความร่วมมือของการส่งเสริมงานอาสาสมัคร : ศูนย์ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ” (Creating collaboration for building national volunteering infrastructure) [ห้องประชุม สัญญา ธรรมศักดิ์, ชั้น2 ตึกโดม] |
“การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของการสร้างอาสาสมัครอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับผลกระทบด้านงานพัฒนา” (Changing your mindset of how to sustainably engage volunteer) [ห้องประชุม บุญชู โรจนเสถียร, ชั้น3 อาคารอเนกประสงค์] |
อาสาสมัครกับการรับมือปัญหาสังคมที่สลับซับซ้อน (Volunteering in complicated social issues) [ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์, ชั้น3 ตึกอเนกประสงค์] |
10.30 – 12.00 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเข้มแข็งของกระบวนการอาสาสมัครในการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Enabling environment for strengthening volunteerism toward sustainable development) [ห้องประชุม คึกฤทธิ์ ปราโมช, ชั้น9 ตึกอเนกประสงค์] |
“การทบทวนและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอาสาสมัครของภาครัฐต่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Accessing the impact of volunteering in government sector for sustainable development) [ห้องประชุม สัญญา ธรรมศักดิ์, ชั้น2 ตึกโดม] |
“การพัฒนางานอาสาสมัครในฐานะกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง” (Volunteering as a learning tool for self-development) [ห้องประชุม บุญชู โรจนเสถียร, ชั้น3 อาคารอเนกประสงค์] |
บทบาทอาสาสมัครกับการดูแลรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและเมือง (Volunteering for sustainable environment and city) [ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์, ชั้น3 ตึกอเนกประสงค์] |
12.00 – 13.00 | พักรับประทานอาหารกลางวัน ตามอัธยาศัย | |||
13.00 – 14.30 | Plenary Session : การนำเสนอสถานการณ์อาสาสมัครจากประเทศต่างๆ (State of Volunteerism) วิทยากร 1.) Mr. Hiroki Fukushima ตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่น 2.) Ms. Yoonae Park ตัวแทนจากประเทศเกาหลี 3.) Ms. Likie LEE Pui Ki ตัวแทนจากประเทศฮ่องกง 4. น.ส. นันทินี มาลานนท์ ตัวแทนจากประเทศไทย ผู้ดำเนินรายการ: ดร. สรยุทธ รัตนพจนารถ [หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก)] |
|||
14.30 – 16.00 | เสวนาปิด,สรุปภาพรวมและข้อเสนอจากงานประชุม – ตัวแทนองค์กรห้องประชุมย่อยสรุปภาพรวมและข้อเสนอที่ได้จากการเสวนาในประเด็นห้องย่อยของตัวเอง – ข้อเสนอสำหรับการทำงานในภาพรวมระบบอาสาสมัครประเทศไทย [หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก)] |
|||
จบการประชุม |
การลงทะเบียน
อัตราค่าลงทะเบียน: วันละ 300 บาท
– ลงทะเบียน 1 วัน ชำระค่าลงทะเบียน = 300บาท
– ลงทะเบียนทั้ง 2 วัน ชำระค่าลงทะเบียน = 600บาท
*** หมดเขตลงทะเบียนวันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 17.00
เงื่อนไขในการลงทะเบียน
1 หลังจากลงทะเบียนแล้ว กรุณาชำระเงินภายใน 2 วัน นับจากวันลงทะเบียน และกรุณากรอกแบบฟอร์มแจ้งการชำระเงินทันที หลังจากโอนเงินแล้ว
2 รายชื่อและข้อมูลการลงทะเบียนของท่านจะถูกลบออกจากระบบหากไม่ได้แจ้งชำระเงิน ภายใน 2 วันนับจากวันลงทะเบียน
3 หากพ้นกำหนดการชำระเงินแล้ว คุณมีความประสงค์จะเข้าร่วมงาน กรุณาลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง
วิธีการ และขั้นตอนการลงทะเบียน
1. กรอกข้อมูล และเลือกห้องประชุมที่ท่านต้องการเข้าร่วมให้ครบถ้วน และกดส่งข้อมูล
2. ท่านจะได้รับอีเมลสรุปข้อมูลการลงทะเบียน กรุณาแจ้งการชำระเงินตามช่องทางที่ระบุ โดยโอนค่าลงทะเบียนเข้าบัญชีดังกล่าว
3. เมื่อชำระเงินแล้ว กรุณากรอกแบบฟอร์ม “แจ้งการชำระค่าลงทะเบียน” พร้อมแนบหลักฐานการโอน และส่งข้อมูล
4. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนของท่าน กรุณาตรวจเช็คชื่อและหมายเลขID ได้ที่ “ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียน หมายเลขID”
5. นำหมายเลขรหัส iD ที่ได้รับ มาแจ้งที่จุดลงทะเบียนในวันงาน