ครูนอกบ้านรุ่น 2 … คิดถึงอย่าง(แม่)แฮง

 

ข้อมูลบ้านแม่แฮง

แม่แฮงเป็นหมู่บ้านชนชาติพันธุ์ลาหู่ ตั้งอยู่ที่ ต.แม่สาว อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยหมู่เป็นหมู่บ้านบนพื้นที่สูง มีไฟฟ้า แต่มีสัญญาณโทรศัพท์(นิดหน่อย) มีประชากรประมาณ 150 หลังคาเรือน และมีเด็ก ๆ ประมาณ 120 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ภาษาหลักในการสื่อสารเป็นภาษาลาหู่

กำหนดการ

วันที่ 27  –  30 กรกฎาคม 2566
ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา บ้านแม่แฮง ต.แม่สาว อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่

 

กำหนดการณ์

วันพฤหัสบดีที่  27  กรกฎาคม 2566   ( วันเเรกเเห่งการเรียนรู้ )

07.30 – 9.00 น.   ทีมงานกระจกเงา ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา  รอรับว่าที่ครูนอกบ้านที่ บขส. อ. ฝาง   หรือโทรเข้ามาติดต่อครูต้นซุง 0968083004 / ครูเมย์ 085-7208787
(สำหรับอาหารเช้า- รบกวนผู้เข้าร่วมงานจัดการตัวเองให้เรียบร้อย)
09.00 – 12.00 น.   เดินทางมาที่ ศาลาบ้านโป่งไฮ / แยกย้ายทำธุระส่วนตัว /  จากนั้นเป็นช่วงแนะนำองค์กร     และปฐมนิเทศน์ เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางเข้าไปทำกิจกรรมในหมู่บ้าน  และในโรงเรียน     จากนั้นรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13.00 น.  เดินทางลงพื้นที่ รถไปส่งถึงเชิงเขา ครูนอกบ้าน เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ 4 กม.
16.00 น.  เดินทางถึงหมู่บ้าน ไปรวมกันที่  ศศช. บ้านแม่แฮง จากนั้นเด็ก ๆ จะเลือกครูเข้าบ้านพักของเด็ก ๆ บ้าน ละ 2 คน ( เเยกชาย – หญิง )   ครูเเยกย้ายเข้าบ้านพัก เเละ เริ่มลงมือทำอาหารเย็นทาง ร่วมกับชาวบ้าน ที่เราไปพัก
19.00 น.  สำหรับในคืนแรกตอนค่ำหลังจากที่ทานอาหารเย็นแล้ว  เราจะมีกิจกรรมสันทนาการ   เกม เพลง ร่วมกับ เด็ก ๆ ทั้งหมู่บ้าน  จากนั้นจะเป็นเวทีการแนะนำประวัติหมู่บ้าน ถาม – ตอบ ข้อซักถาม จากผู้นำหมู่บ้าน  และสรุปงานเตรียมกิจกรรมสำหรับวันพรุ่งนี้  สำหรับการสรุปงานเราจะมีการสรุปงานครูนอกบ้านกันทุกคืน

วันที่  28 กรกฎาคม 2566    (ครูอาสา)

07.00 น.  ครูนอกบ้าน รับประทานอาหารเช้า กับบ้านที่พักกันให้เรียบร้อย  และเตรียมตัว เตรียมใจสำหรับการทำการเรียนการสอนในวันนี้ได้เลย
08.00 น.  ครูนอกบ้านพร้อมเด็ก ๆ เคารพธงชาติหน้าเสาธง และยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายก่อนเริ่มการเรียนการสอนกัน
08.30 น.  แบ่งกลุ่มครูประจำกิจกรรม  กลุ่ม หนึ่งทำการเรียนการสอนกับเด็ก ๆ เราเน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการเช่นเดิม แต่ขอเน้นให้ฝึกเด็กเกี่ยวกับเรื่องการใช้ภาษาไทย โดยแบ่งเป็น 4 ฐานการเรียนรู้ ใน โดยจะวนฐานละ 1 ชม.จนครบทุกฐาน
12.00 น. ทานอาหารกลางวันพร้อมกัน  ครูและเด็ก ๆ  ครูสามารถเลือกทำเลนั่งทานอาหารได้เลยค่ะ
13.00 น. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ในภาคบ่าย (ต่อ)
16.00 น.  เสร็จภาระกิจการสอน จากนั้นเสร็จภาระกิจเดินทางกลับบ้านพัก แยกย้ายเข้าบ้าน  พักผ่อนตามอัธยาศัย ประกอบอาหารเย็น  เรียนรู้วิถีชุมชน
19.00 น.  สันทนาการ     กิจกรรมรอบกองไฟ
20.00 น.  สรุปกิจกรรมของวันที่ผ่านมา  และเตรียมกิจกรรมในวันพรุ่งนี้

วันที่  29 กรกฎาคม 2566    ( อาสาพัฒนา ) 

07.00 น.รับประทานอาหารเช้า กับบ้านที่พักให้เรียบร้อย
08.00 น.  เจอ กันที่โรงเรียน – ปรับปรุงสภาพห้องเรียน ภูมิทัศน์โดยรอบ โดยพวกเราเหล่าครูนอกบ้าน จะช่วยกันลงแรงร่วมกับเด็กๆ
12.00 น.  รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13.00 น.  กิจกรรมลงแรงทำภาระกิจให้เสร็จต่อจากช่วงเช้า
15.00 น.  เสร็จภาระกิจแล้ว ไปลงลำธาร เรียนรู้วิถีชาวบ้าน จับปลา หาผักมาทำกับข้าวมื้อเย็น
19.00 น.  ร่วมกันบริเวณกลางลานหมู่บ้านในคืนนี้จะมีการแสดง ” วัฒนธรรมของชนเผ่าลาหู่ ”  จากชาวบ้านและเด็ก ๆ ในชุมชน ครูนอกบ้านสามารถสวมชุดชนเผ่ามาร่วมงานในค่ำคืนนี้ได้
20.00 น.  สรุปกิจกรรม  ชี้เเจงกำหนดการวันพรุ่งนี้
21.00 น.  แยกย้ายเข้าที่พัก

วันที่  4 มีนาคม 2561 ( วันร่ำลา )

07.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่บ้านพักกันให้เรียบร้อย
08.00 น.  รวมกันกลางลานหมู่บ้าน  ทำพิธีการร่ำลา คณะคุณครูให้ที่อยู่กับเด็กและสัญญากันว่าเราจะเขียนจดหมายหากันเพื่อเด็กน้อยจะเขียนหนังสือภาษาไทย และมีแรงบันดาลใจที่บอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันของพวกเค้าพร้อมกับแลก เปลี่ยนความรู้สึกดีๆพร้อมทั้งกิจกรรมส่งท้ายล่ำลาระหว่างคุณครูนอกบ้าน ชาวบ้านและเด็กๆ ทุกคน  เป็นวันที่เราจะเดินทางกลับ  ครูแลกเปลี่ยนที่อยู่กันกับเด็ก เพื่อติดต่อสื่อสารกันต่อไป และร่ำลากัน
10.00 น.  ประชุมสรุปกิจกรรมร่วมกันตลอดระยะเวลา 3 คืน 4 วันที่ ทำกิจกรรมร่วมกันมา
12.00 น.  เดินทางไปลงไปเที่ยวน้ำตกน้ำปู่หมื่น
13.00 น.  รับประทานอาหารกลางวัน  (ครูนอกบ้านดูแลตัวเอง ตามอัธยาศัย)
15.30 น.  เดินทางไปส่งครูปบ้านนอกขึ้นรถที่ บขส. อ.ฝาง เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ:
1. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
2. อาหาร มื้อเช้า / เย็น ผู้เข้าร่วมจะได้ปรุงทำร่วมกับพ่อๆแม่ๆ บ้านที่เราไปพักครับ โดยทีมงานจะเตรียม เครื่องปรุงอาหารแห้งไว้ให้แต่ละบ้าน

การเดินทาง

ครูนอกบ้านเดินทางมาเอง โดยนัดเจอกัน ที่ อำเภอฝาง
จุดนัดพบคือ ปั๊ม ปตท. ฝาง (อยู่ใจกลางเมือง)

กฎการวางตัว / ข้อห้าม /คำเตือน

– ห้ามให้เบอร์โทรศัพท์แก่นักเรียนเป็นเด็ดขาด
– ห้ามพูดคำหยาบ
– คนที่มาเป็นคู่รบกวนเรื่องการวางตัวที่เหมาะสม ไม่ประพฤติตัวที่เกินเลยจนดูน่าเกลียดเพราะเราเข้าพื้นที่ในฐานะ ครู
– ของมีค่าควรเก็บไว้กับตัวเองตลอดเวลา
– การใช้เครื่องมือสื่อสาร รบกวนให้ทางคณะครูอาสาใช้เครื่องมือสื่อสารหลังเสร็จกิจกรรม
– ห้ามให้เงินแก่เด็กเป็นเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด
– งดเว้นการดื่มสุรา
– ห้ามออกนอกพื้นที่ (นอกหมู่บ้าน)โดยเด็ดขาด โดยมิได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำโครงการทราบ

ข้อแนะนำเตรียมการก่อนสอน
เด็ก ๆ ที่เราเข้าสอนจะเป็นเด็กชนเผ่าซึ่งเด็กๆ จะพูด และเขียนภาษาไทยไม่ชำนาญเหมือนเด็กในเมือง ครูสามารถเน้นเรื่องนี้ได้เลย รบกวนอาสาสมัครจองตั๋วเดินทางไปกลับเลยนะ     กรุงเทพ- ฝาง / ฝาง – กรุงเทพ   เที่ยวกลับรบกวนรอบประมาณ16.00 น. เพื่อความสะดวกในการจัดส่งอาสาสมัครและระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรม

 

หมายเหตุ: กำหนดการ และกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

วิธีการสมัคร:

จำนวนอาสาสมัครที่รับ:
ค่าใช้จ่าย:
พื้นที่ปฏิบัติงาน:
ปิดรับสมัครวันที่:
อีเมล:
เบอร์ติดต่อ: