โลก คือหมู่บ้านใหญ่ที่เราอยู่ร่วมกัน ไม่มีชาติใดจะอยู่อย่างไม่พึ่งชาติอื่นได้ ไม่มีใครไม่ต้องการความช่วยเหลือ  การทำงานอาสาคือการที่คนเราทำงานให้ผู้อื่นโดยมิได้ถูกกระตุ้นว่าจะได้รับ สิ่งตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งใดๆ การทำงานอาสาเป็นกิจกรรมที่เอาประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ตั้งใจที่จะส่งเสริมสิ่งที่ดีๆ หรือปรับปรุงคุณภาพชีวิต บางคนอาจเป็นอาสาสมัครเพื่อให้ได้ทักษะโดยไม่ต้องมีการลงทุนของนายจ้างเพิ่ม เติม

การทำงานอาสาหรือการเป็นอาสาสมัครมีหลาย รูป แบบและใครๆก็ทำได้ อาสาสมัครจำนวนมากได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษในงานที่ตนทำ เช่น ในด้านการแพทย์ การศึกษา หรือการกู้ภัยในยามฉุกเฉิน บางคนทำงานในที่ต่างๆหลายแห่ง เช่น คนที่ทำงานอาสาในยามที่เกิดภัยธรรมชาติ


นิยามของการทำงานอาสาสมัคร

พจนานุกรม Microsoft Encarta (2006) ให้นิยาม “อาสาสมัคร” ว่าคือคนที่ทำงานโดยไม่หวังอะไร คนที่ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ผู้เข้าร่วมในการทำอะไรสักอย่างที่เขาไม่ได้ถูกผูกมัดให้ทำตามกฎหมาย ในอีกแง่มุมหนึ่ง อาสาสมัครคือคนที่เสนอตัวทำสิ่งที่เป็นการกุศลหรืองานช่วยเหลือผู้อื่นโดย ไม่คาดหวังที่จะได้รับรางวัลใดๆไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินหรือการชดเชยต่อการ บริการที่เขาช่วยทำไป เพราะการกระทำนั้นทำด้วยความตั้งใจที่เป็นอิสระของตน ไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายหรือการกดดันบีบบังคับใดๆ ให้ต้องทำ

Safrit and Merill (1995) แจกแจงออกมาว่าการทำงานอาสามีลักษณะสี่ประการคือ

การทำงานอาสาเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันเอาจริงเอาจัง การทำงานอาสาเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันหรือการให้เวลา พลัง หรือความสามารถ ไม่ใช่การให้ทรัพยากรที่เป็นตัวเงินหรือวัตถุออกไปในฐานะแหล่งทุนหรือผู้ อุปถัมภ์

การทำงานอาสาไม่มีการบังคับ  แต่ละคนให้เวลา พลัง และความสามารถแบบให้เปล่า ไม่ว่าจะมีแรงดลใจมาจากอะไรก็ตาม

การทำงานอาสามิได้รับแรงดลใจ (โดยพื้นฐาน) มาจากผลตอบแทนทางการเงิน  แม้ว่าหลายองค์กรจะจ่ายคืนให้อาสาสมัครสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าวัสดุ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่พวกเขามาช่วย การชดเชยในรูปตัวเงินเหล่านี้เรียกกันว่าการจ่ายเงินคืน (reimbursement) ค่าครองชีพ (stipend) หรือค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ (living expenses) แต่มิใช่เงินเดือน (salary) เป็นส่วนที่มาเสริมและมิใช่แรงดลใจหรือตัวกระตุ้นหลักของการทำงานอาสา

การทำงานอาสาเน้นไปที่สิ่งดีงามร่วมกัน ถึงแม้ว่าเหตุผลของการมาทำงานอาสาอาจจะเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและบางที อาจจะเป็นแม้กระทั่งเป็นการทำเพื่อรับใช้ตนเอง แต่จุดเน้นของผลที่ออกมาของการทำงานอาสานั้นพ้นจากตัวตนสู่สิ่งดีงามร่วมกัน ที่ใหญ่กว่า

ในปี 1999 หน่วยงานอาสาสมัครแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Volunteers : UNV) แจกแจงลักษณะสามประการที่บ่งบอกว่าสิ่งที่ทำไปเป็นการทำงานอาสา นั่นคือ (1) เลือกทำด้วยตนเอง (2) ไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงิน และ (3) เพื่อประโยชน์ของชุมชน

ประเภทของการทำงานอาสา

การทำงานอาสาอาจทำได้หลายทางและอาจแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ เช่น

การทำงานอาสาเป็นทุนทางสังคม (Social capital)

ในลักษณะนี้การทำงานอาสามีบทบาทสำคัญในการสร้างผลทางเศรษฐกิจ  ในพื้นที่ที่ความยากจนแพร่หลาย  ชุมชนคนยากจนมักจะขาดเพื่อนและเพื่อนบ้านสามารถช่วยเหลือได้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยการสมัครใจอาสานี้ประกอบเป็นเครือข่ายนิรภัย ทางสังคม แบบอย่างนี้ใช้ได้ดีในรัฐที่มีความสมานฉันท์ของชาติในยามยากลำบาก โดยกลุ่มที่มีฐานะดีกว่ามักจะเสียสละเพื่อประโยชน์ของคนที่ต้องการความช่วย เหลือ

การทำงานอาสาที่ใช้ทักษะเป็นฐาน (Skill-based volunteering)

การทำงานอาสาที่ใช้ทักษะเป็นฐานเป็นการทำงานอาสาที่อาสาสมัครได้รับการฝึก เป็นพิเศษเฉพาะในเรื่องที่พวกเขาอาสาทำ ซึ่งแตกต่างกับการทำงานอาสาแบบที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิมซึ่งไม่ต้องการการฝึกฝน เป็นการเฉพาะแต่อย่างใด เมื่อตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินก็เห็นความแตกต่าง The Independent Sector คำนวณว่าการทำงานอาสาแบบดั้งเดิมมีมูลค่าเฉลี่ยชั่วโมงละ 18-20 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การทำงานอาสาที่ใช้ทักษะเฉพาะมีมูลค่าระหว่าง 40-500 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงขึ้นอยู่กับมูลค่าในตลาดของทักษะเฉพาะนั้น

การทำงานอาสาทางอินเตอร์เน็ด (Virtual volunteering)

ในการทำงานอาสาแบบนี้  ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า การทำงานอาสาอิเล็คโทรนิค (eVolunteering) การทำงานอาสาออนไลน์ (online volunteering) การทำงานอาสาขนาดจิ๋ว (micro-volunteering) การให้บริการไซเบอร์ (cyber service) telementoring และ teletutoring อาสาสมัครทำงานอาสาทั้งหมดหรือบางส่วนนอกสถานที่ปฏิบัติงานขององค์กรที่ตนไป ช่วย โดยใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน โรงเรียน สถานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอื่นๆ เช่น PDA หรือ smartphone การทำงานอาสาทางอินเตอร์เน็ตคล้ายคลึงกับ telecommuting ต่างกันตรงที่แทนจะมีลูกจ้างทำงานออนไลน์ที่เราต้องจ่ายค่าแรง ก็มีอาสาสมัครออนไลน์ที่ไม่ได้รับค่าแรงมาทำงานแทน

การทำงานอาสาด้านสิ่งแวดล้อม

การทำงานอาสาด้านสิ่งแวดล้อมหมายถึงอาสาสมัครที่ช่วยเหลือทางด้านการจัดการ สภาพแวดล้อม  อาสาสมัครทำกิจกรรมได้กว้างขวางหลากหลาย รวมทั้งการติดตามสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปลูกพืชขึ้นมาใหม่ การกำจัดวัชพืช และการให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

การทำงานอาสาในโรงเรียน

ระบบโรงเรียนทั่วโลกพึ่งพาอาสาสมัครและการบริจาคเป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล เมื่อใดที่เศรษฐกิจตกต่ำ ความต้องการอาสาสมัครและทรัพยากรก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างยิ่ง มีโอกาสมากมายในระบบโรงเรียนที่อาสาสมัครจะใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งถ้าคุณมีทักษะหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่มีข้อเรียกร้องมากนักในการที่จะเป็นอาสาสมัครในระบบโรงเรียน ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายาย หรือแค่เพียงสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน โรงเรียนส่วนมากเพียงขอให้กรอกข้อความในแบบฟอร์มอาสาสมัครให้ครบถ้วน ส่วนผลประโยชน์ที่ได้รับก็เหมือนกับการทำงานอาสาแบบอื่นๆ นั่นคือรางวัลอันยิ่งใหญ่สำหรับอาสาสมัคร เด็กนักเรียน และโรงเรียน ตัวอย่างของผลประโยชน์ที่ได้มีอยู่ดังนี้

ผลประโยชน์ต่อโรงเรียน: ได้รับบริการเพิ่มเติมจากอาสาสมัครโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ครูมีเวลาเพิ่มที่นำไปใช้ทางด้านการศึกษาและการวางแผนความสัมพันธ์ระหว่าง ชุมชนกับโรงเรียน

ผลประโยชน์ต่ออาสาสมัคร: พ่อแม่ผู้ปกครองจะเข้ามาเกี่ยวข้องในโรงเรียนและการศึกษาของเด็ก และพวกเขาก็ได้ค้นพบความสามารถของตนเองที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าตัว เองมี ทำให้เกิดความพึงพอใจต่อตนเองและความสามารถที่จะพบปะกับคนใหม่ๆ และพัฒนามิตรภาพใหม่ๆ ขึ้นมา

ผลประโยชน์ต่อนักเรียน: นักเรียนจะได้รับบทบาทที่เป็นแบบอย่างในทางบวก กระตุ้นและปรับปรุงความสำเร็จทางการศึกษา


การเมือง

ในสังคมยุคใหม่เกือบทุกสังคม คุณค่าที่เป็นพื้นฐานมากที่สุดคือการที่คนช่วยเหลือคน  และในกระบวนการนั้นก็ได้ช่วยเหลือตนเองด้วย  แต่ความตึงเครียดอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการทำ


งานอาสาสมัครกับบริการที่รัฐจัดให้ประชาชน  

ดังนั้นประเทศส่วนใหญ่จึงพัฒนานโยบายและออกกฎหมายเพื่อทำความชัดเจนถึงบทบาท และความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียและจัดสรรการสนับสนุนทางกฎหมาย ทางสังคม ทางการบริหาร และทางการเงินให้ตามที่จำเป็น เรื่องนี้มีความจำเป็นเป็นพิเศษเมื่อการมองว่ากิจกรรมอาสาบางกิจกรรมเป็นการ ท้าทายอำนาจรัฐ เช่น เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2001 ประธานาธิบดีบุชแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเตือนว่ากลุ่มอาสาสมัครควรเสริม มิใช่แทนที่ งานที่หน่วยงานรัฐทำ งานอาสาสมัครที่ยังประโยชน์แก่รัฐแต่ท้าทายคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับค่าตอบ แทนสร้างความขุ่นเคืองใจให้สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนคนที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น ในกรณีอาสาสมัครดับเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรวมคนทั้งสองกลุ่มไว้ในหน่วยเดียวกัน


ผลกระทบของการทำงานอาสาต่อประชาสังคม

โครงการอาสาสมัครมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาโดยทำให้เสียงขององค์กรประชา สังคมดังขึ้น เข้มแข็งขึ้น ทำให้องค์กรสามารถมีอิทธิพลต่อนโยบายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติเพื่อ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและปรับปรุงความมั่นคงในการดำรงชีวิต

สนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

สนับสนุนชุมชนให้เข้าถึงทรัพยากรสำหรับการพัฒนาในท้องถิ่นและการปรับปรุงบริการที่จำเป็น

สนับสนุนชุมชนและองค์กรให้ตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลต่อการระบาดของเอชไอวี/เอดส์ผ่านโครงการป้องกัน  ดูแล และสนับสนุน

สนับสนุนชุมชนให้ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของผู้หญิงและเด็ก

นอกจากนั้นก็ยังมีผลกระทบอื่นๆ อีก เช่น

1. โครงการอาสาสมัครเสริมเสียงของประชาสังคมให้เข้มแข็งด้วยการ

1.1 รองรับความต้องการของผู้ร่วมงานในต่างประเทศด้วยการตอบสนองส่งคนไปเข้า โครงการอาสาสมัครช่วยเหลือองค์กรนั้นๆและชุมชนเป้าหมายของพวกเขา

1.2 เสริมคุณภาพของความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานในต่างประเทศ

1.3 เพิ่มความเข้าใจต่อปัญหาที่ผู้ร่วมงานเผชิญในโลกที่กำลังพัฒนา

1.4 สร้างแบบอย่างที่ใช้วิธีการมีส่วนร่วมและนำผู้ร่วมงานเข้ามาร่วมทุกขั้นตอน

1.5 (บางครั้ง) เสริมฐานะและชื่อเสียงของผู้ร่วมงานในท้องถิ่น

1.6 นำไปสู่บริบทที่ยอดเยี่ยมในการแบ่งปันแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีและการสรุปบทเรียน

1.7 สร้างโอกาสสำหรับการผลักดันร่วมกัน การผนึกพลัง การเป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำงานใหม่ๆ และตลาดใหม่ๆ

1.8 สร้างบนความคิดที่ก่อกำเนิดมาจากตัวอาสาสมัครเอง

1.9 เอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างศักยภาพแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในกลุ่มคนอายุ 20-24 ปี

1.10 ระดมคนหนุ่มสาวอายุ 15-24 ปีมาช่วยกันทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs)

1.11 ผนวกการมีส่วนร่วมของเยาวชนเข้าไปในกิจกรรมพัฒนาชุมชน

1.12 ผลักดันการริเริ่มต่างๆ เช่น กฎบัตรเยาวชนอาฟริกา

2. โครงการอาสาสมัครสนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาในระดับท้องถิ่นและระดับชาติโดย

2.1 เอื้ออำนวยการเป็นหุ้นส่วนร่วมงานกันที่เสริมการมีส่วนร่วมให้เข้มแข็ง

2.2 ดำเนินการความริเริ่มพลเมืองโลกที่หุ้นส่วนผู้ร่วมงานได้รับประโยชน์จากโอกาสการฝึกอบรมในประเทศไอร์แลนด์

2.3 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนในและระหว่างประเทศกำลังพัฒนา

2.4 สร้างความเชี่ยวชาญในระดับติดพื้นดินในชุมชนที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแทบจะไม่ได้เข้าไปเลย

2.5 ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งในการระดมชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา

2.6 เสริมสร้างจิตอาสาที่จำเป็นอย่างขาดเสียมิได้ต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาจำนวนมาก

2.7 นำคนชายขอบโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา

2.8 ทำหน้าที่เป็นแรงกระตุ้นให้คนชายขอบเอาชนะจุดด้อย-มลทิน-รอยด่าง-แผลเป็นในใจตนเอง

2.9 เอื้ออำนวยต่อการใช้วิธีการแบบมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เศรษฐกิจสังคมของชุมชน

2.10 พัฒนาทักษะการทำงานเป็นหมู่คณะและศักยภาพการมีพลวัตรกลุ่มของหุ้นส่วนผู้ ร่วมงานยังผลให้มีการตอบสนองของชุมชนแทนที่จะเป็นการตอบสนองเป็นคนๆไป

2.11 ปรับปรุงความรู้ของชุมชนท้องถิ่นและการตอบสนองต่อความเสียหายของสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

2.12 กระตุ้นให้มีการยื่นความช่วยเหลือออกไปหาคนในภาคส่วนที่อ่อนเปราะที่สุดของสังคม

2.13 เสนอโอกาสที่จะเคลื่อนจากการทำงานที่เอาโครงการเล็กระยะสั้นเป็นตัวตั้งไป สู่การทำงานเชิงยุทธศาสตร์และโครงการขนาดใหญ่ในระยะยาว

2.14 กระตุ้นการวางแผนพัฒนาระหว่างคนหลายรุ่นผ่านการเสวนาและสนทนาระหว่างคนหนุ่มสาวกับผู้สูงวัย

2.15 พัฒนาและ/หรือเสริมสร้างโอกาสให้คนหนุ่มสาวเรียนรู้สิทธิและความรับผิดชอบ ของตนเอง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคม การเมือง การพัฒนา และสภาพแวดล้อมของพวกเขา

2.16 กระตุ้นและส่งเสริมสมาคมเยาวชนผ่านการสนับสนุนทางการเงิน การศึกษา และทางเทคนิคและการส่งเสริมกิจกรรมของพวกเขา

2.17 เอื้ออำนวยโอกาส ?การเรียนรู้จากการปฏิบัติ? สำหรับคนหนุ่มสาวและกลุ่มชายขอบ

2.18 เสริมการทำงานอาสาเพื่อการพัฒนาของเยาวชนโดยการนำคนหนุ่มสาวเข้ามาร่วมใน กิจกรรมหลากหลายที่สามารถปรับปรุงการมีส่วนร่วมและชักนำพลัง ความกระตือรือร้นและนวัตกรรมของพวกเขาไปในทางบวกเพื่อให้เป้าหมายการพัฒนาใน ระดับชาติและระดับโลกบรรลุเป็นจริง


บทสรุป

การทำงานอาสาเป็นเรื่องของคนใจใหญ่ที่เห็นตนเองเป็นปัจเจกชนคนหนึ่งที่ สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกได้  ซึ่งจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลทั่วโลกสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ ความรักเพื่อนมนุษย์และการอุทิศตัวเพื่อประโยชน์ของชาติและสากลโลกสามารถ เบ่งบานและเฟื่องฟู
—————————

ที่มา: www.thaingo.org

หมายเหตุผู้แปล: เนื่องจากวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันอาสาสมัครสากล” (International Volunteer Day) ThaiNGO จึงขอเสนอบทความชิ้นหนึ่งเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันที่รำลึกถึงการที่ประชาชนคน ทั่วไปในโลกได้แสดงคุณค่าความดีงามในความเป็นมนุษย์ออกมา แต่คนไทยเรายังไม่ค่อยรู้จัก แม้คนไทยนับล้านจะทำงานอาสาอยู่เป็นประจำก็ตาม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเรามี “วันอาสาสมัครไทย” ด้วยแล้ว บทความนี้เขียนโดยนักวิชาการชาวอาฟริกัน จึงมีกลิ่นอายของอาฟริกาอยู่มากโดยเฉพาะตัวอย่างที่ยกขึ้น แต่ก็ช่วยทำให้เรามองเห็นบริบทของการทำงานอาสาได้กว้างขวางและชัดเจนขึ้นจาก ที่เราคุ้นชินในบริบทไทยๆ

หมายเหตุ: แปลจากบทคัดย่อของ Volunteering: The Impact on Civil Society

โดย Sanni T. Adebayo, Kabale University, Uganda; E-mail:

tjdeen2001@yahoo.com

tjdeen2001@yahoo.com

 

เอกสารอ้างอิง:

Safrit.,D., & Merril, M. (200). In search of a contemporary definition of volunteerism. Volunteer Ohio, Issue 3.

Albanese, A. (2001). Activating our communities. Australian Journal on volunteering,6(2), 18-23.

Roberts, M. (2006). Duffle Bag Medicine. Journal of the America Medical Association,295, 1491-1492.

Jim Baraldi. “A harm in medical tourism.’The poor need lasting efforts to improve

Global health, not feel-good field trips”. 25 September 2009. The Philadelphia Inquirer.

Bowen, P. (2001, August). Top ten trends in volunteering. The volunteer Beat: Volunteer Canada.

Chang-Ho L.(2002). Volunteerism in Korea. The Journal of Volunteer Administration, 20(3), 10-11.

“The Economy’s Impact on Back to School” Great schools. 2009-08-06. Retrieved 2009-11-20.
เขียนโดย กวิน ชุติมา (ผู้แปล)