20150224-1-1

การทำงานอาสาสมัคร นอกจากจะทำให้คนในสังคมเกิดความเชื่อมโยงและช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่สถาบันการศึกษาหลายแห่งในโลก นำมาใช้เพื่อสร้างจิตสำนึกพลเมือง และกระตุ้นให้นักศึกษาของตนเองนำความถนัดในสาขาวิชาไปทำงานรับใช้สังคมได้ จริงอีกด้วยค่ะ โดยหวังว่าเมื่อนักศึกษาเหล่านี้จบการศึกษาไปแล้ว พวกเขาจะกลายเป็นพลเมืองคุณภาพ ที่มีความสนใจและรับผิดชอบต่อสังคมต่อไป

ในสัปดาห์นี้เครือข่ายจิตอาสา จึงจะขอนำเสนอกรณีศึกษาทั้ง 5 เรื่องจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ที่นำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้เพื่อพัฒนาสักยภาพนักศึกษาของตนเอง ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เรียนรู้ร่วมกันนะคะ
—————————————–

[กรณีที่1]
โครงการ “DACA แห่งมหาวิทยาลัยเซนท์แมรี่”
(The St. Mary’s DACA Project)

สืบเนื่องจากปัญหาการอพยพเข้าเมืองจากประชาชนในประเทศที่มีพรมแดนติดกัน เช่น เม็กซิโกและคิวบา เป็นจำนวนมากในช่วงสิบกว่าปีก่อนหน้า จึงมีเด็กจำนวนมากที่ติดตามผู้ปกครองของตนเองเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐ อเมริกาตั้งแต่ยังเป็นทารกโดยไม่มีเอกสารรับรองสถานะทางกฎหมาย และปัจจุบันกำลังเติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่กลับไม่สามารถเข้าเรียนและทำงานอย่างถูกกฎหมายได้ รัฐบาลโดยการนำของ ปธน. บารัก โอบามา จึงเสนอวิธีการแก้ไขปัญหานี้ด้วยการกำหนดนโยบาย DACA (2012) ขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหานี้

***DACA*** คือ นโยบาย“การยื่นขอผ่อนผันเพื่ออยู่ในประเทศชั่วคราวสำหรับการเข้าเมือง ตั้งแต่ในวัยเด็ก” (Deferred Action for Childhood Arrivals) หรือเรียกย่อๆว่า “DACA” เพื่อคุ้มครองเด็กจากการถูกส่งกลับประเทศแบบชั่วคราว และนำไปสู่การขอใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

แต่ด้วยความซับซ้อนในขั้นตอนการดำเนินการทางกฎหมาย ทำให้เยาวชนจำนวนมากไม่สามารถยื่นเรื่องขอผ่อนผันการอยู่ในประเทศด้วยตนเอง ได้สำเร็จ กลุ่มนักศึกษาด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยเซนท์แมรี่ จึงรวมตัวกันเพื่อตั้งกลุ่มอาสาสมัครให้คำปรึกษาทางกฎหมายโดยไม่คิดค่า บริการ ทำหน้าที่ช่วยอ่านใบสมัครและแบบฟอร์มของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของลูกความ และให้คำแนะนำกับพวกเขาว่าช่วงเวลาระหว่างและหลังจากการยื่นเรื่องต้องทำ สิ่งใดที่จำเป็นอีกบ้าง โดยหวังว่าเด็กทุกคนที่ได้รับการผ่อนผันจากนโยบายนี้จะมีโอกาสอยู่ต่อใน ประเทศ สามารถทำงานหาเลี้ยงตัวเอง ได้เข้าศึกษาต่อจนจบระดับมหาวิทยาลัยและมีชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต ลดอัตราการเกิดอาชญากรรม คนเร่รอนและปัญหายาเสพติดในประเทศได้ในอีกทางหนึ่ง

โดยโครงการนี้อยู่ภายใต้การทำงานของ “ศูนย์กฎหมายและความยุติธรรมทางสังคม” ของมหาวิทยาลัยเซนต์แมรี่ ซึ่งมีหน้าที่เตรียมความพร้อมและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษากฎหมายภายใต้ข้อกำหนดเพื่อการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนาย ความ และเพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาเหล่านี้นำความรู้ความสามารถทางกฎหมายที่ตนเอง กำลังศึกษาอยู่ไปช่วยเหลือและบริการสังคมผ่านลูกความที่มีรายได้น้อยซึ่งไม่ สามารถไปขอรับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากที่อื่นๆได้ค่ะ

ความสำเร็จของโครงการ คือ ในปัจจุบันนี้ เด็กและเยาวชนที่เคยมาขอรับคำปรึกษากับโครงการทั้งหมด ได้ผ่านการรับรองและได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศต่อ ส่วนมหาวิทยาลัยเซนท์แมรี่ ก็ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในฐานะผู้เข้าถึงและทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน (Community Engagement Classification) จากมูลนิธิคาเนกี้ และรางวัลจากประธานาธิบดีในฐานะสถาบันการศึกษาขั้นสูงที่มีบทบาทอันน่า ยกย่องในการทำงานบริการสังคมและชุมชน (the President’s Higher Education Community Service Honor Roll)

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2013 โครงการ DACA แห่งมหาวิทยาลัยเซนท์แมรี่ ได้รับเงินทุนสนับสนุนการทำงานจากมูลนิธิ The Texas Access to Justice Foundation เพื่อขยายขอบเขตการทำงานให้บริการคำปรึกษาโดยไม่คิดมูลค่าแบบนี้ ไปยังเมืองอื่นๆ เช่น Bexar, Atascosa, Dimmit, McMullen, La Salle, Frio, Zavala, Duval, Webb และ Maverick counties

ขนาดยังเรียนไม่จบ นักศึกษาเหล่านี้ก็สร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้ขนาดนี้แล้วนะคะ เชื่อว่าวันที่พวกเขาก้าวพ้นรั้วมหาวิทยาลัยออกไป พวกเขาจะสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมและโลกใบนี้ได้มากกว่าเดิมแน่นอนค่ะ
20150224-1-3

20150224-1-4
20150224-1-2
———————————————-

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.stmarytx.edu/st-marys-daca-project-offers-free…/