20150226-1-1

[กรณีที่3]
Food Recovery Network : กิจกรรมอาสาสมัครนักศึกษา ที่เริ่มต้นจากการเชื่อมโยงตัวเองกับปัญหารอบๆตัว นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม

Food Recovery Network มีจุดเริ่มต้นมาจาก Ben Simon นักศึกษามหาวิทยาลัย Maryland ในสหรัฐอเมริกา ที่เล็งเห็นว่าโรงอาหารของมหาวิทยาลัยจะมีอาหารเหลือเป็นจำนวนมากในทุกๆวัน ซึ่ง ถูกนำไปทิ้งอย่างสูญเปล่า ในขณะที่มีชาวอเมริกันจำนวนมากที่ยากจน ขาดแคลนหรือเข้าไม่ถึงอาหาร เมื่อมองเห็นช่องว่างของปัญหานี้ Ben Simon จึงรวมตัวกับเพื่อนนักศึกษาเริ่มทำโครงการ Food Recovery Network ขึ้นในมหาวิทยาลัย Maryland โดยการไปประสานพูดคุยกับทางโรงอาหาร ในการขออาหารที่ขายไม่หมดในแต่ละวัน และรวบรวมนำอาหารเหล่านั้นไปส่งและแจกจ่ายให้กับผู้ยากไร้ตามโบสถ์หรือศูนย์ พักพิง และชักชวนเพื่อนนักศึกษามาเป็นอาสาสมัคร รวมตัวกันหนึ่งคืนต่อสัปดาห์ที่จะจัดการกับอาหารที่ขายไม่หมดเหล่านี้ นำไปช่วยกันแจกจ่ายไปตามศูนย์พักพิงต่างๆในกรุงวอชิงตันดีซี

Ben Simon และ Mia Zavalij ผู้ร่วมกันก่อตั้งโครงการนี้ เริ่มมองไปไกลกว่านั้นว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีระบบการส่งต่ออาหารเช่นนี้ และจะดีแค่ไหนหากในทุกๆมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามีการนำอาหารที่ไม่ได้ใช้ ประโยชน์นี้ ไปช่วยบรรเทาความหิวโหยของคนยากจน และยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างประหยัด จึงเกิดแนวความคิดที่จะสร้างเครือข่าย Food Recovery นำระบบการส่งต่ออาหารนี้ไปเผยแพร่ให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยมีตัวแทนผู้นำจากทีมของแต่ละมหาวิทยาลัยช่วยกันออกไปพูดคุย เผยแพร่โครงการนี้ในมหาวิทยาลัยอื่นๆพร้อมทั้งมีคู่มือแนวทางสำหรับ มหาวิทยาลัยอื่นๆที่สนใจจะติดตั้งระบบนี้ จนในปี 2013 Food Recovery Network ได้พัฒนาสู่การจัดตั้งเป็นองค์กร ทำงานขยายเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมโครงการ และส่งเสริมการใช้อาสาสมัครเป็นกลไกในการทำงานขับเคลื่อน สนับสนุนด้านทีมให้คำปรึกษาในการทำโครงการ ให้ความรู้ เครื่องมือในการทำงาน พัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ร่วมกันขยายโครงการนี้

ปัจจุบัน Food Recovery Network สามารถส่งต่ออาหารให้กับชาวอเมริกันที่ยากไร้ได้มากกว่า 400,000 ปอนด์ สามารถขยายเครือข่ายโครงการนี้ไปยังมหาวิทยาลัยได้กว่า 95 แห่ง ใน 26 รัฐ และได้ทุนสนับสนุนและขยายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆมากมาย

จุดเด่นสำคัญ ของ Food Recovery Network คือ
– รูปแบบการสนับสนุนกิจกรรม / โครงการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย นั้นสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนาสู่การจัดตั้งองค์กร
– การที่นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาจากเรื่องใกล้ตัว และหาหนทางแก้ไขปัญหาสังคมได้จริง ในรูปแบบที่ตนสามารถทำได้
– กิจกรรมในโครงการ ใช้กลไกอาสาสมัครนักศึกษา เป็นผู้ขับเคลื่อนงานทั้งหมด ส่งเสริมเรื่องการทำงานร่วมกัน เกิดการเรียนรู้ปัญหาสังคม และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไข
– การทำงานเป็นเครือข่ายที่สามารถขยายการทำงานสู่เครือข่ายนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นๆ

20150226-1-2
20150226-1-3
20150226-1-4
20150226-1-5

—————————————————–
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.foodrecoverynetwork.org/